ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2013

Sony Xperia GO กินแบตฯ มาก ทำไง ?

ผมได้ไปซื้อ Sony Xperia GO มาใช้งาน ตอนที่ซื้อมาใหม่ๆนั้น ยังใช้ Software version 2.x.x (จำเวอร์ชันไม่ได้ คาดว่าน่าจะประมาณนี้มาจากร้าน) ถือว่าการใช้งานก็โอเค รูปร่างสวยดี แบตเตอรี่ก็ใช้งานได้นานอยู่ได้ถึง 2 วัน ก็ใช้งานไปเรื่อยๆ ตั้งแต่ซื้อมา โทรศัพท์ก็แจ้งเตือนให้ Update Software อยู่หลายวัน จึงได้ทำการตัดสินใจ Update Software ผ่าน PC Connection ซึ่งพอ Update เสร็จ ดูแล้ว Android สวย น่าใช้กว่าเดิม แต่มีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้นคือ มันกินแบตเตอรี่มาก ได้เพียงแค่ 6 - 8 ชั่วโมง ก็เปิดเล่นบ้าง ปิดบ้าง ซึ่งมันผิดปกติล่ะ ผมจึงได้หาข้อมูลว่าทำไมมันถึงกินแบตฯผิดปกติ เลยได้คำตอบว่า โทรศัพท์รุ่นนี้ มันกินแบตฯเป็นเรื่องธรรมดาอยู่แล้ว แต่การที่ update software แล้ว กินแบตฯ มาก ก็มีวิธีแก้ดังนี้ 1. Backup ข้อมูลในโทรศัพท์ออกให้หมด (สำหรับคนมีข้อมูลในเครื่องเยอะ แต่ผมไม่มีข้อมูลอะไรเลยข้ามข้อนี้ไป) ซึ่งอาจจะใช้ App มาช่วย Backup ข้อมูลก็ได้ (ตัว App ชื่ออะไร หาข้อมูลเอานะครับ ผมไม่ทราบจริงๆ เพราะ export ออกมาแต่รายชื่อผู้ติดต่อ) 2. ทำการ Factory Reset หรือ คืนค่าจากโรงงาน โดยเข้าไปที่ Settin

การ Reset PRAM เนื่องจาก Bootcamp ใช้ไม่ได้ และการกู้คืน OS X ของ iMac

บทความนี้เขียนไว้เพื่อสำหรับเตือนความจำของผมเอง อันเนื่องเกิดจากประสบการณ์ที่ได้ลองเล่น Bootcamp ไม่สมบูรณ์ใน Mac แล้วเกิดอาการ Boot เข้า OS X หรือ Window ไม่ได้ ดังนั้นแล้วผมจึงได้หาข้อมูลมาจากหลายที่ จนทำให้ Boot เข้า OS X ได้เช่นเดิม ด้วยการกดปุ่ม Command + Option + p + r แล้วเปิดเครื่อง เครื่องจะทำการ Boot แล้ว Reset PRAM เครื่องจะทำการ Boot อีกครั้ง จากนั้นก็เข้า OS X ได้ตามปกติ การกู้คืน OS X เมื่อเกิดปัญหา OS X ใช้ไม่ได้นั้น การกู้คืน OS X นี้จะเป็นเหมือนการติดตั้ง OS X ใหม่ โดยเครื่องจะลบข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่องทั้งหมด ทั้งนี้ การกู้คืน OS X นั้น เครื่อง Mac ต้องเชื่อมต่อกับ Internet ไว้ด้วย เพื่อทำการ Download OS X จาก App Store ในการกู้คืน OS X นั้น ต้องกดปุ่ม Command + r เมื่อตอนเปิดเครื่องครับ (กดปุ่มไว้ก่อนค่อยเปิด) จากนั้นจะมีเมนูต่างๆ แล้วทำตามเมนูนั้น่ครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช