ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก 2018

การ Reset job printer ใน windows 10

ในเครื่องพิมพ์รุ่นเก่าๆ ที่ใช้กับ Windows 10  ส่วนใหญ่มักจะไม่มีไดรเวอร์เครื่องพิมพ์สำหรับผู้ผลิตให้ Download เช่น HP laserjet p1005, p1102, p1100 โดยเครื่องพิมพ์ที่ไม่มีไดรเวอร์ให้ Downloads นี้ ส่วนใหญ่จะใช้ไดรเวอร์เครื่องพิมพ์จาก Windows Update หรือเสียบสาย USB เข้าไปแล้วเจอเครื่องพิมพ์เลย ไดรเวอร์เครื่องพิมพ์ของ Windows นี้ส่วนใหญ่เป็นแบบเข้ากันได้กับเครื่องพิมพ์ ดังนั้น เวลาอัพเดตไดรเวอร์เครื่องพิมพ์ จะไม่มีโปรแกรมพวก Tool ของเครื่องพิมพ์มาด้วย ดังนั้น การ Reset print, การ Cancel print จะทำไม่ค่อยได้สักเท่าไหร่ สำหรับวิธีการ Reset job printer ใน windows 10 นี้ ทำผ่าน Command Line จะง่ายกว่า เพราะไม่ต้องคลิ๊กหลายขั้นตอน หรือสามารถ copy คำสั่งในบทความนี้ไปวางก็ได้ครับ 1. เปิด Command line ในโหมด Run administrator โดยให้กดปุ่ม Start windows ที่คีย์บอร์ด จากนั้นพิมพ์คำว่า cmd จะปรากฏเห็นโปรแกรม Dos โชว์ขึ้นมา ให้เอาเมาส์ไปวางที่โปรแกรม Dos แล้วคลิ๊กขวา เลือก run administrator cmd --> run administrator --> เปิดหน้าจอ Dos ขึ้น 2. พิมพ์คำสั่งด้านล่างนี้ทีละคำสั่ง (หรือจะก็อ

The disk you inserted was not readable by this computer OS X 10.11.6

 The disk you inserted was not readable by this computer OS X 10.11.6 EL Capitan เมื่อติดตั้งเครื่องพิมพ์ HP Laserjet P1102 การติดตั้งเครื่องพิมพ์ HP Laserjet P1102 บนเครื่อง Mac สำหรับ OS X 10.11.6 หรือ EL Capitan HP Laserjet P1102 ไม่สามารถติดตั้งบนระบบปฏิบัติการ OS X 10.11.6 หรือ EL Capitan ได้ เนื่องจากระบบ Smart install ของเครื่องพิมพ์ทำงานเวลาเสียบ USB เข้าไปในเครื่อง โดยเครื่องจะมองเห็น Smart install เป็นไดร์วหนึ่งไดร์ของระบบ ทำให้ไม่สามารถติดตั้งเครื่องพิมพ์ได้ บางท่านอาจจะใช้วิธีการแชร์ไฟล์ หรือใช้ Print server เพื่อแก้ปัญหานี้ การติดตั้งไดรเวอร์สำหรับ HP Laserjet P1102 สามารถทำได้ดังนี้ 1. ปิดเครื่องพิมพ์หรือถอดสาย USB ออกจากเครื่อง เพื่อตัดการเชื่อมต่อเครื่องพิมพ์ 2. ทำการรีเซ็ตเครื่องพิมพ์ในระบบ (เครื่องพิมพ์ที่ติดตั้งไว้จะหายหมดนะครับ) ด้วยการเข้าที่ System Preferences --> Printers and Scanners เมื่อเข้าสู่หน้าจอเครื่องพิมพ์ ให้คลิ๊กขวาช่องรายการเครื่องพิมพ์แล้วเลือกคำสั่ง reset printing system ใส่รหัสผ่าน เครื่องจะทำการรีเซ็ตเครื่องพิมพ์ 3. ดาวน์โหลดไดรเวอร์ส

Share internet จาก Android ไปยัง Ubuntu Server

การแชร์อินเตอร์เน็ตจากมือถือ Android ไปยัง Ubuntu Server หน่วยงาน หรือองค์กรทุกวันนี้มักจะมีไฟร์วอลสำหรับล็อกอินเข้าใช้อินเตอร์เน็ตผ่านหน้าเว็ปบราวเซอร์ และไม่มี Proxy  Server ไว้ให้ใช้งาน มันคงจะไม่สะดวกแน่ หากคนทำ server ที่เป็นแบบ Text หรือใช้รีโมท ไม่สามารถที่จะใช้คำสั่งต่างๆในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ เนื่องจากต้อง Login นั่นเอง และหากใครใช้ Server Ubuntu ที่เป็นแบบ Desktop อยู่แล้ว จะไม่มีปัญหาในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต แต่หากใช้ Ubuntu Server ที่เป็นแบบ Text  การติดตั้งโปรแกรมหรืออะไรต่างๆมักจะใช้ผ่านคำสั่ง apt-get install อย่างนี้ ซึ่งเมื่อเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไม่ได้แล้ว ก็จะไม่สามารถใช้คำสั่ง apt-get install ได้เพราะการติดตั้งโปรแกรมต่างๆ ต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตทุกครั้ง ดังนั้น การแก้ปัญหาเมื่อเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไม่ได้ เราก็ใช้อินเตอร์เน็ตจากมือถือของเรานี่แหล่ะครับในการเชื่อมต่อโดยใช้สาย USB โดยผมใช้ Smartphone ระบบปฏิบัติการ Android 8.0  ขั้นแรกให้เชื่อมต่อสาย USB จาก Smartphone เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็น Ubuntu Server จากนั้นให้ตั้งค่าในมือถือโดยเลือก

Distionation Path Too Long ไม่สามารถก็อปปี้ไฟล์ได้ บทความนี้มีวิธีแก้

Some of the files won't copy because the file path is too long.  How to copy files that have too long of a filepath in Windows. The file name(s) would be too long บางท่าน อาจจะพบปัญหาก็อปปี้ไฟล์ไม่ได้ หรือก็อปปี้ไฟล์จำนวนหลายๆไฟล์ จากอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล ไปยังอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูล หลายท่านต้องก็อปปี้ไฟล์ครั้งละเป็นร้อยๆ GB เมื่อก็อปปี้ไปดีๆ ดันมี Error  Distionation Path Too Long  ขึ้นมาซะอย่างนั้น จะไปไล่ตามเปลี่ยนชื่อก็ไม่รู้ว่าเป็นไฟล์ไหน ผมก็เป็นคนนึงที่ประสบปัญหาเช่นนี้บ่อยครั้ง จึงได้มาค้นหาวิธีแก้ปัญหา เลยได้วิธีการแก้ปัญหามาครับ ปัญหาดังรูปด้านบน  Distionation Path Too Long หรืออาจจะเป็นชื่อภาษาอังกฤษอย่างอื่น แต่คำว่า Path Too Long นั้นหมายถึงชื่อไฟล์ที่ยาวเกินไปครับ ซึ่งอาการนี้จะเกิดบนระบบปฏิบัติการ Windows ซึ่งอนุญาตให้ตั้งชื่อไฟล์ได้ไม่เกิน 255 ตัวอักษร  บางท่านอาจจะสงสัย เราไม่เคยตั้งชื่อไฟล์ยาวขนาดนั้นนี่หว่า จริงครับ ชื่อไฟล์ไม่ยาว ชื่อโฟลเดอร์ยาว แถมโฟลเดอร์ซ้อนโฟลเดอร์ มันก็เอามารวมกันครับ เริ่มกันเลยดีกว่า เพราะเกรงว่าจะยาวเกินไป วิธีการแก้ปัญหา P

การนำเครื่องหมายถูกออกจากไอคอน windows 10

การนำเครื่องหมายถูกออกจากไอคอน windows 10 สวัสดียาวๆสำหรับบล็อกครับ หายไปนานพอสมควร วันนี้เลยจะมาบอกวิธีการนำ เครื่องหมายถูกออกจากไอคอน windows 10 หลายท่านคงจะประสบปัญหาเวลาใช้ windows 10 แล้วมีเครื่องหมาย Check Box เวลาคลิ๊ก ทำให้รำคาญใจสำหรับผู้ใช้หลายคน อนึ่งนี้ผมเองก็ไม่ได้ลองเล่นว่า เจ้าเครื่องหมายถูกที่ MS Windows ทำมาด้วยจุดประสงค์ใด แต่ที่แน่ๆ มันไม่ถนัดมือเวลาใช้งานครับ  อย่างตัวอย่างในรูปด้านซ้ายนี้ หลายคนอาจะเข้าใจว่า เป็นเครื่องหมายถูกแบบนี้ แต่ที่จริงไม่ใช้ครับ เพราะเครื่องหมายถูกแบบนี้เป็นลักษณะของ Shortcut icon หรือเป็นทางลัดที่เราใช้กันอยู่เป็นประจำครับ และตัวที่ผมจะนำเสนอก็คือ เครื่องหมายถูกดังรูปด้านบนครับ จะสังเกตว่าจะมีเครื่องหมายถูกอยู่ด้านบนไอคอนของแต่ละตัวเวลาที่เราคลิ๊ก วิธีการเอาออกนั้น ง่ายนิดเดียว เพียงเปิด Folder Options ด้วยการกดปุ่ม Start Windows ที่คีย์บอร์ด (รูป windows ข้างๆ ปุ่ม Alt) ครับ แล้วพิมพ์คำว่า Folder Options ดังรูป จะเป็นการเปิดหน้าต่าง Folder Options ขึ้นมาแล้วให้เราเลือกที่เมนู View แล้วค้นหาคำว่า Use ch

การติดตั้ง Driver Network card สำหรับเครื่อง Dell OptiPlex 5050

การติดตั้ง Driver Network card สำหรับเครื่อง Dell OptiPlex 5050 เครื่องคอมพิวเตอร์ PC ยี่ห้อ Dell รุ่น OptiPlex 5050 ผมได้ทำการติดตั้ง Windows 10 และไดร์เวอร์จนเสร็จ จะพบว่าเน็ตเวิร์กจะอยู่ในรูป unplug หรือไม่ได้เสียบ แต่พอตรวจสอบแล้วพบว่า ไม่มีไดรเวอร์การ์ดแลน หรืออาจจะมีแต่ขึ้นเป็น Unknow Device หรือไม่รู้จักการ์ดเน็ตเวิร์ก นั่นเอง ทั้งๆที่เราลงไดรเวอร์ไปแล้ว และเสียเวลาไม่น้อยเลยทีเดียวกับการที่จะหาไดรเวอร์เน็ตเวิร์กของตัวมันเองมาลง โดยไปโหลดของบริษัท Intel มาติดตั้งก็ไม่สามารถติดตั้งได้ ผมจะได้ทำการติดตั้ง Windows 8.1 ดู ซึ่งปรากฏว่า หลังจากที่ติดตั้ง Windows 8.1 เรียบร้อยจะได้ไดรเวอร์ Network มาให้ทันทีโดยที่เราไม่ต้องไปอัพเดตไดร์เวอร์แต่อย่างใด แต่...... Windows 8.1 เจ้ากรรมไม่รองรับกับซีพียูรุ่นใหม่ๆ ร้องแจ้ง Hardware Not Support อย่างเดียว ผมจึงได้กลับมาติดตั้ง Windows 10 อีกครั้ง ก็คงต้องหาวิธีกันใหม่ ในอย่างแรกเลย ด้วยความหวังว่าทำอย่างไรจะให้เครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้หลังจากที่ติดตั้ง Windows เสร็จ ผมจึงได้นำตัวรับสัญญาณ Wi-Fi แบบ USB มาทำการเชื่อมต่อ

ติดตั้ง Windows ลง HDD แบบ GPT ยังไงดี บทความนี้มีคำตอบ

ติดตั้ง Windows ลง HDD แบบ GPT ยังไง หลายคนผมเชื่อว่าคงจะเจอปัญหาดังรูปด้านบนมาเช่นเดียวกัน เวลาที่ Boot windows จนมาถึงหน้านี้แล้วเมื่อทำการ Format Harddisk แล้วครั้นจะกดปุ่ม Next ดันกดไม่ได้ซะงั้น เอาละซิ งานเข้า Format ไปเรียบร้อยแล้วด้วย เมื่อเป็นดังนั้นแล้ว ผมเองก็ไม่ค่อยทราบว่า Disk แบบ GPT นั้นคืออะไร มันคงจะเป็น Boot Loader สมัยใหม่ ที่คนรุ่นเก่าๆไม่ค่อยเข้าใจสักเท่าไหร่ เอาเหอะ รู้ว่าลงไม่ได้มาหาวิธีทำให้ลง Windows ได้กัน ก่อนอื่นต้องเตือนกันไว้ก่อนครับว่า ก่อนทำการ " Convert GPT ไปเป็น MBR " นั้น ให้ทำการ Backup ข้อมูลทั้งหมดออกจากฮาร์ดดิสก์เสียก่อน เพราะมันจะลบข้อมูลทั้งหมดชนิดเกลี้ยงไม่มีเหลือและกู้ไม่ได้เสียด้วย นั่นเนื่องจากเพราะ GPT เป็น GUID Partition Table ในรูปแบบใหม่ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัท intel เพื่อข้ามขีดจำกัดของฮาร์ดแวร์ โดย GPT สามารถแบ่งพาร์ทิชันขนาดใหญ่ได้สูงถึง 128  พาร์ทิชัน (ไม่รู้จะแบ่งไปทำไมมากมายในระดับคอมพิวเตอร์ใช้งานที่บ้าน) และสามารถแบ่งความจุได้มากเกิน 2.2TB ในขณะที่ MBR (Master boot record) จะสามารถแบ่งพาร์ทิชันสูงสุดได้เพียง

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช