ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2020

เริ่มต้นเรียนรู้การเขียนโปรแกรมด้วย Node.js ตอนที่ 3 ตัวแปร ( Variable )

 เริ่มต้นเรียนรู้การเขียนโปรแกรมด้วย Node.js  ตอนที่ 3 ตัวแปร ( Variable ) สวัสดีสำหรับการหัดเรียนหัดเขียนโปรแกรมด้วย Node.js ตอนที่ 3 ว่าด้วยเรื่องของตัวแปร ตามจริงตอนนี้ไม่อยากจะกล่าวถึง ถ้าคนที่มีพื้นฐานในการเขียนโปรแกรมมาแล้ว แต่ถ้าคนที่ยังไม่มีพื้นฐานในการเขียนโปรแกรมก็เห็นจะมองข้ามในเรื่องของ "ตัวแปร" ไม่ได้ เอาเป็นว่าผมจะเกริ่นถึงเรื่องของตัวแปรใน Node.js เท่าที่ผมทราบนะครับ เพราะผมเองก็อยู่ในช่วงหัดเขียนโปรแกรมด้วย Node.js เช่นกัน เริ่มเลย ! ตัวแปร คือ อะไร ? ตัวแปร คือ คำหรืออักษรที่ใช้ในการเก็บค่า ทำหน้าที่คล้ายกับ "สมการ" ในวิชาคณิตศาสตร์ หากจำไม่ผิดสมัยผมเรียนตั้งแต่เมื่อสมัย ม.1 เรื่อง "สมการ" ตัวอย่าง x + 2 = 5 x - 10 = 20 15 + x = 25 25 -10 = x 

เริ่มต้นเรียนรู้การเขียนโปรแกรมด้วย Node.js ตอนที่ 2 การติดตั้งโปรแกรม Node.js, Mongo DB และ Mongo DB Compass

 เริ่มต้นเรียนรู้การเขียนโปรแกรมด้วย Node.js  ตอนที่ 2 การติดตั้งโปรแกรม Node.js, Mongo DB และ Mongo DB Compass ก่อนที่เราจะเริ่มทำระบบ Login ง่ายๆ แบบบ้านก่อน อย่างแรกที่ควรจะทำคือการ Downloads โปรแกรม Node JS มาติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา และโปรแกรมที่ใช้ในการเก็บข้อมูลก็คือ Mongo DB และโปรแกรมที่ใช้งานกับ Mongo DB  คือ Mongo DB Compass ติดตั้ง Node.js Download โปรแกรม Node.js จาก website ของ Node.js ได้โดยตรงที่ www.nodejs.org ระบบจะเลือก Packget version OS ให้เราเองโดยอัตโนมัติ  อย่างเช่นในรูปภาพด้านล่าง ระบบเลือกให้เป็น Download for macOS(x64) เนื่องจากตอนนี้ใช้เครื่อง Mac เขียนบทความนี้ หากใช้ Windows ก็จะฟ้องเป็น Download for Windows(x64) เช่นกันครับ และในหน้าเว็บไซต์จะมี 2 เวอร์ชันให้เราเลือกโดยที่ 12.18.4 LTS Recommended For Most Users นั่นหมายถึง เวอร์ชันนี้คนใช้เยอะ กับอีก 14.12.0 Current Latest Features คือ เวอร์ชันล่าสุดที่มีในตอนนี้ หากต้องการเวอร์ชันไหนก็เลือก Download ได้เลยครับ ถ้าถามว่าเราจะเลือกเวอร์ชันไหนดี ก็เลือกด้านซ้ายได้เลยครับ เพราะคนใช้งานค่อนข้างเยอะแล

เริ่มต้นเรียนรู้การเขียนโปรแกรมด้วย Node.js ตอนที่ 1 ทำไมต้องเป็น Node.js

 เริ่มต้นเรียนรู้การเขียนโปรแกรมด้วย Node.js  ตอนที่ 1 ทำไมต้องเป็น Node.js ผมไม่เคยเรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมเลย มันอาจจะเป็นความฝันเล็กๆน้อยคือ การที่ผมหัดเขียนโปรแกรมให้เป็น  มันไม่ใช่เรื่องง่ายถ้าคนไม่ค่อยจะได้ศึกษาเกี่ยวกับหลักการเขียนโปรแกรม  แม้จะมีตำราหลายเล่ม อ่านหลายรอบ หากไม่ลงมือก็เขียนโปรแกรมไม่ได้เพราะการเขียนโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์คือการฝึกทักษะ การทำให้ชิน หากไม่ฝึก ไม่ทำให้ชินก็ไม่สามารถเขียนโปรแกรมได้ ผมเคยหัดศึกษาการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Java และ Visual Basic 6 มาก่อนก็ยังไม่สามารถที่จะเข้าใจในหลักการเขียนโปรแกรม ไม่ว่าจะเป็นแบบโครงสร้างหรือแบบ OOP (Object Oreinted Programing) ซึ่งการเขียนโปรแกรมนั้นยากต่อตัวผมมาก วันนี้ผมจึงกลับมาทบทวนหลักการเขียนโปรแกรมอีกครั้ง ซึ่งเริ่มใหม่ โดยภาษาที่ผมศึกษานั้นคือ " Node.js " จุดประสงค์ในการเขียนบล็อกไว้เพื่อเผยแพร่และทบทวนความจำในการที่จะกลับมาเขียนโปรแกรมหรือสร้างโปรเจ็คใหม่ เพราะหากปล่อยไว้นานเกินไปย่อมหลงและลืมไปตามกาลเวลา ขอขอบคุณที่ติดตาม Blog ของผมครับ  ดังนั้น Blog หรือบทความใดๆ ที่ท่านกำลังติดตามอยู่นี้ อาจจะ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช