ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC
เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง
อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่
1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket)
ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775, Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซีพียูเอเอ็มดีรุ่นใดใช้ช็อกเกตไหน
2. ซิปเซต (Chipset)
ซิปเซตทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ทั้งหมดที่อยู่บนเมนบอร์ด โดยจะมีซิปเซตจำนวน 2 ตัวคือ ซิปเซต North Bridge และซิปเซต South Bridge ซิปเซต North Bridge จะทำหน้าที่รับและส่งข้อมูลของซีพียูและแรม ปัจจุบันซิปเซต North Bridge ได้ถูกรวมไว้ในตัวซีพียูแล้ว ส่วนซิปเซต South Bridge จะทำหน้าที่ตรวจสอบอุปกรณ์ทั้งหมดบนเมนบอร์ด เช่น สล็อตการ์ดจอ รวมทั้งอุปกรณ์ต่อพ่วงทั้งหมด I/O (input / ouput)
3. ช็อกเกตแรม (RAM Socket)
ลักษณะของช็อกเกตแรมที่ใช้งานในปัจจุบัน จะเป็น DDR3 และเริ่มเข้าสู่การใช้งาน DDR 4 บ้างแล้ว ซึ่งช็อกเกตแรมแต่ละรุ่น (ตั้งแต่ DDR1 จนถึง DDR4) จะมีร่องบากที่แตกต่างกัน ทำให้ไม่สามารถใช้งานแรมผิดรุ่นได้ แต่รุ่นเดียวกันสามารถใช้ด้วยกันได้ทุกเมนบอร์ด เช่น DDR3 จะนำไปใส่เมนบอร์ดยี่ห้อใด รุ่นใดก็ได้ที่รองรับช็อกเกต DDR3
4. สล็อตของการ์ดแสดงผล
สล็อตสำหรับติดตั้งการ์ดแสดงผลเพิ่มเติม ปัจจุบันเมนบอร์ดหลายรุ่นจะติดตั้งการ์ดชนิดติดตั้งบนเมนบอร์ดมาให้เลย เนื่องจากซีพียูรุ่นใหม่เองก็สามารถประมวลผลการแสดงผลออกมาได้ในระดับหนึ่ง แต่หากต้องการใช้งานสำหรับงานที่ใช้การแสดงผลสูง เช่น กราฟิก หรือเล่นเกมส์ การแสดงผลบนการ์ดจอออนบอร์ดนั้นอาจจะทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นจึงมีการติดตั้งสล็อตการ์ดแสดงผล เพื่อเพิ่มการ์ดจอสำหรับแสดงผล เพื่อแบ่งเบาภาระการทำงานของซีพียู
สล็อตสำหรับติดตั้งการ์ดแสดงผลนิยมใข้สล็อต PCI Express x 16 เนื่องจากประสิทธิภาพในการรับและส่งข้อมูลมากกว่า 4GB/s ซึ่งสูงกว่า AGP (สล็อตการ์ดจอรุ่นเก่าปัจจุบันเลิกใช้งานแล้ว) ปัจจุบันสล็อต PCI Express ได้รับการพัฒนาเป็นรุ่นที่ 2 และ 3 โดยมีประสิทธิภาพสูงขึ้นทุกๆ 2 เท่าของรุ่นเดิม ส่งผลให้ประสิทธิภาพของการแสดงผลสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
5. สล็อต PCI Express x1
สล็อต PCI Express x1 ทำงานที่ความเร็ว 66 MHz และส่งข้อมูลที่ 64 บิต ทำให้มีอัตราการรับส่งข้อมูลสูงสุดที่ 1066 MB/s สล็อต PCI Express x1 มีไว้ติดตั้งการ์ดที่ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น การ์ดเสียง หรือ การ์ดแลน เป็นต้น
6. หัวต่อไดร์วต่างๆ
หัวต่อไดร์วต่างๆ มีไว้เชื่อมต่อกับฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม และฟล็อปปี้ดิสก์ ซึ่งเมนบอร์ดรุ่นเก่า ฮาร์ดดิสก์และซีดีรอมจะเป็นหัวต่อแบบ IDE มีลักษณะขาเป็นเข็มจำนวน 40 ขา ปัจจุบันเลิกใช้งานแล้ว ซึ่งการใช้งานในเมนบอร์ดรุ่นใหม่จะมีเฉพาะการเชื่อมต่อแบบ Serial ATA หรือเรียกว่า SATA เท่านั้น ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูง ถึง 600 MB/s ในปัจจุบันเป็น SATA3
7. หัวต่อแหล่งจ่ายไฟเลี้ยง
รูปแบบของหัวต่อแหล่งจ่ายไฟมีอยู่ 2 แบบคือ หัวต่อ ATX ซึ่งเป็นหัวต่อหลักที่เมนบอร์ดทุกรุ่น จะต้องมี โดยเป็นชุดจ่ายไฟหลักสำหรับเมนบอร์ด เดิมหัวต่อ ATX เป็นแบบ 20 ช่อง ( 2 แถว แถวละ 10 ช่อง) แต่ปัจจุบันหัวต่อ ATX ที่ใช้กับเมนบอร์ดรุ่นใหม่จะเป็นแบบ ATX 24 ช่อง
หัวต่อแบบที่ 2 เรียกว่า ATX 12V หัวต่อแบบนี้จะจ่ายแรงดันไฟฟ้า 12 โวลต์เพิ่มขึ้นอีก 1 จุด เมนบอร์ดทุกรุ่นในปัจจุบันต้องใช้หัวต่อ ATX 12V นี้เพิ่มขึ้นจากหัวต่อ ATX หลักที่ต้องมีอยู่แล้ว และแหล่งจ่ายไฟในปัจจุบันจะมีหัวต่อ ATX 12V เช่นกัน
8. หัวต่อสายสวิตซ์ควบคุม
ช่องเสียบสายสวิตซ์สำหรับควบคุมการทำงานเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์, รีเซตเครื่องคอมพิวเตอร์, ไฟแสดงการทำงานของฮาร์ดดิสก์
9. พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ
พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ จะอยู่หลังเมนบอร์ด ได้แก่ ช่องเสียบยูเอสบี ช่องเสียบแลน เป็นต้น
ความคิดเห็น