ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2014

การตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas ตอนที่ 5 เทคนิคการเปลี่ยนฉาก ในงานวีดีโอ

บทความก่อนผมได้กล่าวถึงเรื่อง  การตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas ตอนที่ 4 เริ่มงานตัดต่อด้วย Sony Vegas Pro ตอนที่ 1 Track , การตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas ตอนที่ 4 เริ่มงานตัดต่อด้วย Sony Vegas Pro ตอนที่ 2 Timeline  ไปแล้ว คงจะเข้าใจในงานตัดต่อวีดีโอได้ระดับนึงนะครับ ทีนี้ผมจะมากล่าวในเรื่องของการเปลี่ยนฉากในแต่ละฉาก เพื่อเพิ่มสีสันให้แก่งานวีดีโอของเราครับ การเปลี่ยนฉากคือส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในงานตัดต่อวีดีโอ เพราะรูปแบบการเปลี่ยนฉากที่แตกต่างกันมีผลต่ออารมณ์ของชิ้นงานเป็นอย่างมาก เช่น การเปลี่ยนฉากบางอย่างทำให้รู้สึกหวานซึ้ง หรือแบบสนุกสนาน ขึ้นอยู่กับท่านผู้ทำชิ้นงานแหล่ะครับว่าจะเอาอารมณ์แบบไหน โดยกล่าวแล้ว ในโปรแกรม Sony Vegas Pro นั้นมีรูปแบบการเปลี่ยนฉาก หรือที่เรียกว่า ทรานซิชัน (Transition) ให้เลือกใช้งานอย่างมากมาย เรามาดูการว่า การใช้งานนั้นทำอย่างไร รู้จักเทคนิคเปลี่ยนฉากวีดีโอ  ทรานซิชัน (Transition) คือ เทคนิคการเปลี่ยนฉากที่ช่วยทำให้เกิดความรู้สึกที่หลากหลาย คือ สมมุติว่าเรามีฉากวีดีโอที่เล่นต่อเนื่องอยู่ 2 ฉาก ในขณะที่เปลี่ยนฉากจะทำการเปลี่ยนฉากแบบทันทีทันใด ซึ่งบา

มารู้จัก โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ กันเถอะ

วันนี้คิดเรื่องโพสไม่ออก ครั้นจะเขียนเรื่อง โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ ด้วย Sony Vegas Pro ต่อ ก็ไม่มี โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas Pro เพราะไม่ได้อยู่ที่ทำงาน เพราะในเครื่องที่บ้านผมไม่มี โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ ดังนั้นแล้วช่วงนี้ เรามารู้จัก โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ กันเหอะ สำหรับใครที่มีนอกเหนือจากที่ผมเสนอ ก็สามารถแสดงความเห็นเสนอได้ก่อนครับ ก่อนอื่นต้องว่ากล่าวกันก่อนว่าที่ผมนำเรื่อง โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ มาเล่านี้ ก็เป็นเพียงทางเลือกของท่านผู้ที่จะใช้ โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ เท่านั้นซึ่งผมเองก็ไม่ได้เชี่ยวชาญในการใช้โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ หลายๆอย่าง ทั้งนี้ผมนำมาจากที่ผมรู้จักเท่านั้นนะครับ หากผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย หากใครจะเสริม สามารถแสดงความคิดเห็นได้ครับ เอาล่ะ เมื่อพร้อมแล้ว เรามารู้จักกับ โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ กันเหอะ โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ 1. Window Movie Maker เป็นโปรแกรมสามัญที่มีติดมากับระบบปฏิบัติการ Windows สามารถ Download มาใช้ได้ฟรี ที่นี่ Download   สำหรับการใช้งาน ผมเองก็เคยสัมผัสอยู่เพียงแค่ไม่กี่ครั้ง แต่การใช้งานโดยรวมนั้นถือว่าง่ายมากๆ สามารถทำงานได้ไว กิน

การตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas ตอนที่ 4 เริ่มงานตัดต่อด้วย Sony Vegas Pro ตอนที่ 2 Timeline

คราวก่อนได้ว่ากล่าวด้วยเรื่องของ  การตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas ตอนที่ 4 เริ่มงานตัดต่อด้วย Sony Vegas Pro ตอนที่ 1 Track ไปแล้วนะครับ วันนี้เรามาขึ้นเรื่องของ Timeline กันครับ Timeline  คือส่วนที่จะใช้ในการตัดต่องาน ใส่คลิปต่างๆลงไป แทรกลูกเล่นหรือเอฟเฟคต่างๆ ซึ่งก็เป็นส่วนที่สำคัญที่เราต้องทำงานไปด้วยเสมอในงานตัดต่อวีดีโอบน Sony Vegas Pro การย่อ - ขยาย Timeline ในการย่อ - ขยาย Timeline นั้นมีความสำคัญมาก เพราะจะทำให้เราสามารถตัดต่องานได้อย่างละเอียดมากขึ้น โดยการย่อ - ขยาย Timeline นั้นทำได้ 3 วิธี คือ วิธีที่ 1 : เลื่อน Scroll mouse หรือล้อเม้าส์ที่อยู่ตรงกลาง เลื่อนไปข้างหน้าคือการขยาย เลื่อนเข้าหาตัวเพื่อย่อ (เป็นวิธีที่สะดวกที่สุด) วิธีที่ 2 : ใช้ปุ่ม ย่อ - ขยาย บน Timeline ที่อยู่ทางด้านขวา (เป็นปุ่ม + , -) รุปที่ 1 ปุ่มย่อ - ขยาย วิธีที่ 3 : เลื่อน Scroll Bar ที่ด้านล่าง ดังรูป  (ผมเองก็ใช้วิธีนี้) รูปที่ 2 Timeline ขนาดปกติ รูปที่ 3 ย่อ - ขยาย Timeline การทำงานกับคลิปมีเดียบน Track และ Timeline การนำคลิปเข้ามาบน Timeline การนำคลิปวีด

การตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas ตอนที่ 4 เริ่มงานตัดต่อด้วย Sony Vegas Pro ตอนที่ 1 Track

สวัสดี เช้า วันพุธ ที่ 19 ก.พ. 57 หลังจากที่หายไปเกือบอาทิตย์นึง วันนี้ได้มาอัพเดตบทความกันสักหน่อย ครั้งก่อนที่ว่ากล่าวด้วยเรื่องของ  การตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas ตอนที่ 3 การนำไฟล์วีดีโอมาตัดต่อใน Sony Vegas Pro   ได้จบไปแล้ว วันนี้เรามาเริ่มตัดต่อชิ้นงานด้วย Sony Vegas Pro กัน อย่างแรกคือ การทำงานกับ Bin ใน Project Media ก่อนที่เราจะทำการตัดต่อวีดีโอนั้น การสร้าง Bin ก็จะคล้ายกับการสร้างโฟลเดอร์ย่อยๆ ในโปรแกรมนั่นเอง โดยมีความสำคัญหรือจำเป็นคือ การแยกหมวดไฟล์วีดีโอ การแยกหมวดเสียง การแยกหมวดรูปภาพ ทำให้เราค้นหาหมวดไฟล์ต่างๆได้ง่ายขึ้น หากมีการแยกหมวดไว้แต่ละหมวด  สำหรับการสร้าง Bin เพื่อจัดหมวดหมู่สามารถทำได้ดังนี้ การสร้าง Bin ใน Project Media ในหน้าต่างของ Project Media คลิ๊กขวาที่ Media Bin แล้วเลือก Create New Bin แล้วทำการตั้งชื่อ Bin เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้วครับ รูปที่ 1 การสร้าง Bin เราสามารถสร้าง Bin ได้หลายๆ Bin ดังนี้ รูปที่ 2 การสร้าง Bin หลายๆ bin การลบ Bin ใน Project Media ในส่วนของการลบ Bin ใน Project Media ก็ไม่มีอะไรมากครับ เพียงแค่เ

การตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas ตอนที่ 3 การนำไฟล์วีดีโอมาตัดต่อใน Sony Vegas Pro

สวัสดีตอนเช้าๆของวันทำงานของใครหลายๆคนครับ(อีกแหล่ะ) วันนี้ก็เกือบจะถึงวันศุกร์แล้ว คิดว่าหลายคนคงจะมีอาการขี้เกียจเกิดขึ้นใช่ไหมครับ ขี้เกี๊ยจ ขี้เกียจ ผมแหล่ะคนนึง หุหุ คราวก่อนได้ว่าด้วยเรื่องของ  การตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas ตอนที่ 2 แนะนำส่วนต่างๆของตัวโปรแกรมและเครื่องมือ  จบไปแล้ว งั้นวันนี้มาขี้เกียจกันดีกว่า วันนี้ผมจะกล่าวถึงการนำไฟล์วีดีโอเข้ามาใช้สำหรับตัดต่อในโปรแกรม โดยจะเขียนอย่างย่อๆนะครับ โดยจะเน้นไปในเรื่องของกล้อง Digital เป็นหลัก (ส่วนกล้อง DV ที่เป็นม้วนเทป หากมี Request มาจึงจะเขียน หาไม่มีมาก็ไม่เขียนครับ) ทำไมจึงกล้อง Digital เป็นหลัก เพราะอะไร เพราะการนำไฟล์ออกมาใช้งานมันสุดแสนจะง่ายใงครับ เพราะกล้องพวกนี้จะมีสายเชื่อมต่อ USB อยู่กันหมดทุกรุ่นแล้ว ดังนั้น เพียงแค่นำไฟล์วีดีโอออกจากกล้องวีดีโอ แล้วนำมาใส่ในโปรแกรม เท่านี้ก็เสร็จแล้วครับ (ผมต้องบอกเกี่ยวกับ การนำไฟล์ออกจากกล้องวีดีโอด้วยไหมครับ หากใครไม่รู้วิธีนำไฟล์วีดีโอออกจากกล้องวีดีโอด้วยสาย USB จริงๆ ก็เรียกร้องมาได้ครับ เดี๋ยวผมจะมาเขียนวิธีให้อ่านกัน หรือหากใครไม่รู้จริงๆ แล้วหาวิธีได้แล้ว ก็แจ

การตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas ตอนที่ 2 แนะนำส่วนต่างๆของตัวโปรแกรมและเครื่องมือ (2)

สวัสดีตอนเช้าๆ วันทำงานของหลายๆท่านครับ วันนี้ผมก็หาโอกาสใช้เวลาว่างเพื่อที่จะมาเขียนบทความในส่วนของการแนะนำส่วนต่างๆของตัวโปรแกรมและเครื่องมือกันต่อ เนื่องจากว่า บทความก่อนหน้านี้ ยังแนะนำไม่หมด เพราะงานเข้าก่อน วันนี้เลยจะมาต่อกันครับ อย่างว่า ดังที่ได้กล่าวไปอย่างคร่าวๆแล้ว เกี่ยวกับ  การตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas ตอนที่ 2 แนะนำส่วนต่างๆของตัวโปรแกรมและเครื่องมือ   (สามารถคลิ๊กที่ลิงค์ไปอ่านทบทวนได้ครับ) ผมได้กล่าวไปจนจบเรื่องของ Menu bar และ Toolbar ไปแล้ว วันนี้จะกล่าวในอีกสองส่วนที่เหลือครับ รูปที่ 1 หน้าตาของตัวโปรแกรม   Track list และ Timeline รูปที่ 2 Track list และ Timeline ในส่วนนี้เป็นกลุ่มของเครื่องมือหลักที่ใช้สำหรับงานตัดต่อวีดีโอ เช่น การเรียบเรียงลำดับชิ้นงานของวีดีโอ การเชื่อมต่อวีดีโอ การแทรกเทคนิคพิเศษลงในงานวีดีโอ เป็นต้น เรามาดูว่า ส่วนประกอบของมันมีอะไรกันบ้างครับ  รูปที่ 3 Track list กรอบสีแดงในรูป แสดงหมายเลขของแทร็ค กรอบสีเขียวในรูป แสดง วีดีโอแทร็ค (Video Track) กรอบสีเหลืองในรูป แสดง แทร็คของเสียง (Audio Track) Track list  Tra

การตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas ตอนที่ 2 แนะนำส่วนต่างๆของตัวโปรแกรมและเครื่องมือ

คราวที่แล้ว ผมได้เอ่ยถึงเรื่อง  การตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas ตอนที่ 1 อุปกรณ์ที่ต้องใช้   มาหัวข้อนี้ ผมจะไม่เอ่ยถึงเรื่องของการติดตั้งโปรแกรมนะครับ คิดว่าท่านผู้อ่านไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องของการติดตั้งโปรแกรม หรือติดตั้งได้แล้วมาสืบหาแหล่งข้อมูลการใช้งานอันเล็กๆน้อยๆ ของ blog ผม หุหุ เอาล่ะครับ นอกเรื่องไปไกล มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า ทำการเปิดโปรแกรม ได้เรยยยยยย รูปที่ 1 หน้าตาของโปรแกรม Sony Vegas Pro 11 เอาล่ะ เมื่อเปิดโปรแกรม Sony Vegas Pro ขึ้นมาแล้วจะเป็นหน้าตาดังนี้ (ของผม Sony Vegas Pro 11 นะครับ) คิดว่าหน้าตาของโปรแกรม Sony Vegas Pro แต่ล่ะ version หน้าตาจะไม่ต่างกันมากนัก รูปที่ 2 Menu Bar and Tool Bar ส่วนแรกคือ ส่วนที่เรียกว่า เมนูบาร์ และทูลบาร์(รูปที่ 2 ) ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็นในการตัดต่อวีดีโอ รูปที่ 3 Window docking area ส่วนที่สองคือ Window docking area เป็นส่วนที่ประกอบไปด้วยหน้าต่าง Preview และหน้าต่างย่อยที่ช่วยให้เราสามารถต้ดต่อวีดีโอได้สะดวกยิ่งขึ้น รูปที่ 4 Timeline and Tracklist ส่วนที่สามคือ Timeline และ Trackli

การตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas ตอนที่ 1 อุปกรณ์ที่ต้องใช้

คิดว่าหลายคนคงจะเคยชมภาพยนต์ หรือละคร แล้วคิดถึงเรื่องของเทคนิคการถ่ายทำภาพยนต์ หรือละคร ว่าเขาทำอย่างไรบ้างในการถ่ายทำภาพยนต์ ทำไมทำได้น่าดู น่าชมจังเลย แน่นอนครับ การสร้างภาพยนต์นั้น ต้องมีการจัดฉาก การถ่ายทำ และการเรียบเรียงเนื้อหา เพื่อให้ได้ภาพยนต์ตามที่ต้องการ ดังนั้นแล้ว เรื่องการออกแบบ การจัดฉากและการถ่ายทำนั้นผมจะไม่ขอพูดถึง โดยผมจะเข้าสู่การเรียบเรียงเนื้อหาเลย โดยการนำเนื้อเรื่องมาเรียบเรียงนั้นคือ กระบวนการตัด - ต่อ วีดีโอ โดยที่ผมจะแนะนำโปรแกรมในวันนี้คือ Sony Vegas Pro   (ส่วนของเวอร์ชันนั้น แล้วแต่ท่านมีนะครับ เพราะการใช้งานไม่ต่างกันสักเท่าใดมากนัก) ก่อนอื่นผมต้องขอออกตัวไว้ก่อนว่าผมเองก็ไม่ใช่คนที่เก่งแต่อย่างใด และการใช้งานอาจจะไม่ครบคลุมตามความต้องการของท่าน ภาษาที่ใช้อาจจะเป็นงงๆ ผมจะเน้นบทพูดมากว่าเป็นทางการ แต่อยากจะเผยแพร่บทความให้ทุกท่านได้อ่านครับ หากผิดพลาดประการใด ผมต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย และยินดีรับฟังความคิดเห็น และข้อแนะนำเป็นอย่างยิ่งครับ ต่อกันเลยครับ Sony Vegas Pro เป็นโปรแกรมตัดต่อวีดีโอที่ใช้งานง่าย สามารถใช้ในงานตัดต่อวีดีโอที่สร้างส

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช