ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Share internet จาก Android ไปยัง Ubuntu Server

การแชร์อินเตอร์เน็ตจากมือถือ Android ไปยัง Ubuntu Server

หน่วยงาน หรือองค์กรทุกวันนี้มักจะมีไฟร์วอลสำหรับล็อกอินเข้าใช้อินเตอร์เน็ตผ่านหน้าเว็ปบราวเซอร์ และไม่มี Proxy  Server ไว้ให้ใช้งาน มันคงจะไม่สะดวกแน่ หากคนทำ server ที่เป็นแบบ Text หรือใช้รีโมท ไม่สามารถที่จะใช้คำสั่งต่างๆในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ เนื่องจากต้อง Login นั่นเอง และหากใครใช้ Server Ubuntu ที่เป็นแบบ Desktop อยู่แล้ว จะไม่มีปัญหาในการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต แต่หากใช้ Ubuntu Server ที่เป็นแบบ Text  การติดตั้งโปรแกรมหรืออะไรต่างๆมักจะใช้ผ่านคำสั่ง apt-get install อย่างนี้ ซึ่งเมื่อเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไม่ได้แล้ว ก็จะไม่สามารถใช้คำสั่ง apt-get install ได้เพราะการติดตั้งโปรแกรมต่างๆ ต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตทุกครั้ง

ดังนั้น การแก้ปัญหาเมื่อเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไม่ได้ เราก็ใช้อินเตอร์เน็ตจากมือถือของเรานี่แหล่ะครับในการเชื่อมต่อโดยใช้สาย USB โดยผมใช้ Smartphone ระบบปฏิบัติการ Android 8.0 

ขั้นแรกให้เชื่อมต่อสาย USB จาก Smartphone เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็น Ubuntu Server จากนั้นให้ตั้งค่าในมือถือโดยเลือก

 Settings menu -> Wireless and Network -> More -> Tethering & portable hotspot and enable USB tethering

หรือภาษาไทย

ตั้งค่า -> เครื่อข่ายและอินเตอร์เน็ต -> การปล่อยสัญญาณและฮอตสปอต -> ปล่อยสัญญาณผ่าน USB   ให้เปิดการทำงาน

จากนั้นใช้คำสั่งเปิดใช้งานบนเครื่อง Ubuntu Server

1. ทำการตรวจเช็ค อุปกรณ์บนเน็ตเวิร์กในเครื่อง Ubuntu Server ด้วยคำสั่ง

ipconfig -a

แล้วดูว่า มีการเชื่อมต่อโดย USB เพิ่มขึ้นมาหรือไม่ ตัวอย่าง


จากรูปด้านบนเมื่อใช้คำสั่ง ifconfig -a แล้วมี enp0s29f7u5 เข้ามาเพิ่ม ซึ่งเครื่องของคุณอาจจะชื่อ USB0 หรือ USB1 ครับ ซึ่งแล้วแต่เครื่องจะเจอ หากเราเสียบแฟรซไกร์วไว้ด้วยก็ไม่ต้องห่วงครับ ว่ามันจะเอาชื่อของแฟรซไดร์วมาโชว์ เพราะแฟรซไดร์วเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตไม่ได้ครับ

2. เริ่มใช้งานอุปกรณ์ด้วยคำสั่ง

ifconfig -a enp0s29f7u5 up

3. เพิ่มคำสั่งเพื่อรับค่า dhcp จากอุปกรณ์ smartphone ด้วยการแก้ไขไฟล์

sudo nano /etc/network/interfaces

เพิ่มคำสั่งลงไปบรรทัดสุดท้ายแล้วเซฟ

auto enp0s29f7u5 
iface  enp0s29f7u5  inet dhcp


4. ให้เปิดการทำงานด้วยคำสั่ง

sudo ifup enp0s29f7u5

5. ใช้คำสั่ง apt-get update ดูครับว่าเชื่อมต่อได้หรือไม่

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช