ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เริ่มต้นเรียนรู้การเขียนโปรแกรมด้วย Node.js ตอนที่ 2 การติดตั้งโปรแกรม Node.js, Mongo DB และ Mongo DB Compass

 เริ่มต้นเรียนรู้การเขียนโปรแกรมด้วย Node.js 

ตอนที่ 2 การติดตั้งโปรแกรม Node.js, Mongo DB และ Mongo DB Compass


ก่อนที่เราจะเริ่มทำระบบ Login ง่ายๆ แบบบ้านก่อน อย่างแรกที่ควรจะทำคือการ Downloads โปรแกรม Node JS มาติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา และโปรแกรมที่ใช้ในการเก็บข้อมูลก็คือ Mongo DB และโปรแกรมที่ใช้งานกับ Mongo DB  คือ Mongo DB Compass

ติดตั้ง Node.js


Download โปรแกรม Node.js จาก website ของ Node.js ได้โดยตรงที่
ระบบจะเลือก Packget version OS ให้เราเองโดยอัตโนมัติ  อย่างเช่นในรูปภาพด้านล่าง ระบบเลือกให้เป็น Download for macOS(x64) เนื่องจากตอนนี้ใช้เครื่อง Mac เขียนบทความนี้ หากใช้ Windows ก็จะฟ้องเป็น Download for Windows(x64) เช่นกันครับ และในหน้าเว็บไซต์จะมี 2 เวอร์ชันให้เราเลือกโดยที่ 12.18.4 LTS Recommended For Most Users นั่นหมายถึง เวอร์ชันนี้คนใช้เยอะ กับอีก 14.12.0 Current Latest Features คือ เวอร์ชันล่าสุดที่มีในตอนนี้ หากต้องการเวอร์ชันไหนก็เลือก Download ได้เลยครับ ถ้าถามว่าเราจะเลือกเวอร์ชันไหนดี ก็เลือกด้านซ้ายได้เลยครับ เพราะคนใช้งานค่อนข้างเยอะและสามารถหาข้อมูลได้ง่ายกว่า เนื่องจากเรายังหัดใหม่ๆ โหลดเวอร์ชันใหม่บางทีเจอบั๊คที่แก้ยากจะหาข้อมูลได้ยากกว่าครับ

www.nodejs.org

เมื่อทำการ Download เสร็จแล้วให้ติดตั้งให้เรียบร้อย หลังจากที่ติดตั้ง Node.js เสร็จแล้ว ให้เปิด Command line (windows) หรือ Terminal ( mac os ) แล้วพิมพ์คำสั่งลงไป

node -v


จากนั้น กด Enter ถ้าไม่ผิดพลาดระบบก็จะแจ้งเวอร์ชันของ Node.js ออกมาครับ

หรือทำตามธรรมเนียมปฏิบัติ อยากจะโชวคำว่า "Hello world" ก็ให้สร้างไฟล์ขึ้นมา 1 ไฟล์มีนามสกุล .js เช่น

type nul > hello.js 

echo console.log("Hello World") > hello.js 


จากนั้น Run Node.js ด้วยคำสั่ง node hello.js

node hello.js


จะได้ Hello wolrd ออกมา


จากคำสั่งใน Dos ด้านบน จะเป็นการสร้างไฟล์ ด้วยคำสั่ง type nul > hello.js ขึ้นมาบน Desktop
แล้วใส่คำสั่ง console.log("Hello Wolrd"); ลงไปในไฟล์ เมื่อเปิดไฟล์บน Desktop แล้วจะได้ดังนี้



ติดตั้ง Mongo DB

MongoDB คืออะไร

MongoDB คือโปรแกรมฐานข้อมูลแบบ Open source โดยเป็นฐานข้อมูลแบบ NoSQL ซึ่งไม่มีโครงสร้างแบบ Reletion หรือ
ความสัมพันธ์แบบตาราง แต่เป็นการเก็บข้อมูลแบบ JSON (JAVA Scirpt Object Natation) การบันทึกข้อมูลในทุกๆ Record ใน MongoDB เราเรียกชื่อมันว่า Document ซึ่งเก็บค่า Key แล้ว Value ต่างๆไว้ในรูปแบบ JSON ตัวอย่างเช่น เราต้องการเก็บข้อมูล Login โดยมี Entity ที่ชื่อว่า Login ภายใน Login นั้นจะมีการเก็บค่า Username และ Password ไว้ ถ้าหลักในการออกแบบฐานข้อมูลก็จะได้ดังนี้

ID : int
Username : varchar หรือ String
Password : varchar หรือ String

หากเรานำมาเก็บค่าไว้ใน MongoDB ในรูปแบบของ JSON จะได้
{
"_id" : ObjectID("5511asdfasdfjdfga'45wgh"),
"Username " : "kamol",
"Password" : "1234"
}
และในการเก็บข้อมูล Document จะถูกเก็บไว้ใน Collections ซึ่งเปรียบเทียบได้กับ Table Relation Database ทั่วๆไป ต่างกันที่ Collections ไม่จำเป็นต้องมี Schema ที่เหมือนกันก็สามารถบันทึกข้อมูลได้เลย ทำให้ไม่ต้องยุ่งยากในการออกแบบฐานข้อมูล

MongoDB ในความคิดของผม 
MongoDB สามารถเก็บค่าอะไรก็ได้ เช่น ต้องการจะเก็บรายชื่อพนักงาน จะเก็บ name, position, salary และพนักงานอีกคนคือ name, position, salary, departments, tel ลงไปได้เลย เช่น


{ "name" : "Kamol", "position" : "computertechnichain", "salary" : 5000 }
{ "name" : "Khampibool", "position" : "support", "salary" : 7000 , "departments" : "computer engineering", "tel":4436 }

และ MongoDB ไม่รองรับการ JOIN หรือ SQL ดังนั้นลืมๆ SQL ไปชั่วขณะครับ

Download และติดตั้ง MongoDB

1. เข้าไปที่เว็บ www.mongodb.com ที่ปุ่มเขียวด้านขวามือปุ่มล่าง กด Download ได้เลยครับ



2. ทำการติดตั้ง MongoDB ลงไปในเครื่อง จากภาพด้านล่างนี้ เครื่องผมได้ทำการติดตั้งตัวโปรแกรม MongoDB แล้วมันจึงฟ้องไม่ให้ติดตั้ง ดังนั้นการติดตั้ง MongoDB ให้ Next ไปเรื่อยๆเลยครับ ไม่ต้องเปลี่ยนค่าอะไรในการติดตั้งครับ มันจะจัดการให้เอง




ติดตั้ง MongoDB Compass

MongoDB Compass เป็นโปรแกรมที่เอาไว้จัดการกับ MongoDB จะมีความคล้ายกับ PHP MyAdmin ของ mySQL ครับ เราสามารถ Download ได้จากเมนู Software แล้วเลือก Mongo DB Compass ได้เลยครับ หรือเข้าลิงค์ https://www.mongodb.com/try/download/compass ได้เลยครับ




ไปที่ปุ่มเขียวด้านขวาเช่นเดิมครับ แล้วกด Download



จากนั้นทำการติดตั้งให้เรียบร้อยครับ ไม่ต้องเปลี่ยนค่าอะไรในการติดตั้ง เมื่อติดตั้งเสร็จ เปิดโปรแกรม Mongo DB Compass จะได้ดังรูป





กด Connect แล้วจะเข้ามาในรูปที่ 2 ครับ ขึ้นแบบนี้แปลว่า MongoDB ในเครื่องใช้งานได้แล้วครับ (จากภาพที่ 2 เป็น Collection ที่ผมหัดศึกษามาเช่นกันครับ มันเลยมีหลาย Collection หากของท่านเปิดขึ้นมาแล้วมีหน้าเปล่าๆ ไม่ต้องตกใจครับ

สำหรับการติดตั้ง Node.js MongoDB และ Mongo DB Compass ก็จบเพียงเท่านี้ครับ













ความคิดเห็น

Kamol Khampibool กล่าวว่า
ตอนที่ 3 ทำความรู้จักกับตัวแปรสักนิด สำหรับผู้ไม่มีพื้นฐานครับ
https://hellokamol.blogspot.com/2020/09/nodejs-3-variable.html
soowoi กล่าวว่า
-ขอบคุณครับ สุดยอดเลย

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช