ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เริ่มต้นเรียนรู้การเขียนโปรแกรมด้วย Node.js ตอนที่ 6 การสร้าง Web Server ด้วย Express

  เริ่มต้นเรียนรู้การเขียนโปรแกรมด้วย Node.js ตอนที่ 6 การสร้าง Web Server ด้วย Express 

จากบทความที่แล้ว ได้แนะนำ Express ไปแล้วเบื้องต้น และการติดตั้ง Express กับการ Run Node.js เพื่อให้ใช้งานผ่าน Web Browser ได้แล้ว บทความนี้จะพาสร้าง server สำหรับ Node.js อย่างง่ายๆกันครับ

1. เปิด VS Code ขึ้นมา จากนั้นสร้างโฟลเดอร์ที่ต้องการทำงานแล้ว Add เข้ามาใน VS Code เพื่อใช้งาน
2. ติดตั้ง Express ด้วยการเปิด Terminal ใน VS Code แล้วพิมพ์คำสั่ง

npm install express

3. เมื่อติดตั้ง Express เรียบร้อยแล้ว ให้สร้าง Express Generator เพื่อใช้งาน Web Server อย่างง่าย ด้วยคำสั่ง

express --view=ejs

คำสั่งด้านบนเป็นการเรียกใช้ express สั่งให้สร้าง View และเลือกใช้ ejs templeate Engine

EJS คือ

EJS คือ Template Engine ที่ฝังภาษา JavaScript ไว้ และประมวลผลออกมาเป็นภาษา HTML เพื่อนำไปแสดงผล โดยไฟล์ ejs สามารถแทนค่าตัวแปรต่างๆ ที่อยู่ในไฟล์แล้วทำการประมวลผลก่อนแสดงผลออกมาเป็นภาษา HTML ซึ่งหลักการคล้ายกับภาษา PHP จะมีการฝังสคริปต์ไว้ในจุดที่เราต้องการ โดย Template Engine ของ Express ก็มีหลักๆได้แก่ Pug, Mustache และ EJS โดยในบทความนี้จะขอเลือกใช้ EJS เพราะการใช้งานใกล้เคียงกับภาษา HTML ครับ 



จากรูปด้านบน เมื่อใช้คำสั่ง express --view=ejs เรียบร้อยแล้ว ระบบจะทำการ generate ไฟล์ที่เกี่ยวข้องเข้ามา และให้เราพิมพ์คำสั่ง ได้เลยครับ

npm install



แล้วระบบจะทำการติดตั้ง Server ที่จำเป็นต้องใช้งานให้แล้วเสร็จ ทั้งนี้เราสามารถติดตั้ง Package เพิ่มเติมในภายหลังได้ โดยเราดูในไฟล์ packate.json ว่าระบบติดตั้งอะไรลงไปบ้าง และเรามาติดตั้งเพิ่มมันก็จะเพิ่มขึ้นมาในรูปด้านล่างเลยครับ



แนะนำ Nodemon

Nodemon จะเป็นสคริปต์ที่ใช้สำหรับ Restart Server เมื่อมีการแก้ไขไฟล์สคริปต์ของ Server โดย Nodemon จะมีประโยชน์อย่างมาก เมื่อเราแก้ไขไฟล์ ทำให้เราไม่ต้องมารีสตาร์ท Node ทุกครั้งเมื่อมีการแก้ไข Nodemon จะทำให้แทน ขั้นการติดตั้งใช้คำสั่งเพียงแค่นี้ใน terminal

npm install nodemon -g

โดย -g เป็นการติดตั้งแบบ global นั่นคือทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเรารู้จักกับสคริปต์ Nodemon โดยการติดตั้งครั้งเดียวก็สามารถใช้งาน Nodemon ได้ทุกโปรเจ็คครับ

จากนั้นเพิ่มคำสั่งในไฟล์ packege.json ตรง "start" : "node ./bin/www" ให้เป็น "start" : "nodemon ./bin/www" 

{
"name": "nodejsblog",
"version": "0.0.0",
"private": true,
"scripts": {
"start": "nodemon ./bin/www"
},
"dependencies": {
"cookie-parser": "~1.4.4",
"debug": "~2.6.9",
"ejs": "~2.6.1",
"express": "~4.16.1",
"http-errors": "~1.6.3",
"morgan": "~1.9.1"
}
}

เพิ่มคำว่า mon ลงไปต่อท้าย node เท่านั้นแหล่ะครับ
จากนั้น run คำสั่งใน Terminal

nodemon start


ตามรูป

จากนั้นเปิด Web Browser แล้วป้อน URL 

http://localhost:3000

แล้วจะเห็นหน้า Welcome ขึ้นมาครับ เท่านี้ก็เสร็จสิ้นในการสร้าง Web Server ด้วย Express แล้ว



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช