ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2012

3 ปัญหาของฮาร์ดิสก์

ปัญหาของผู้ใช้วินโดวส์พีซีที่พบเห็นได้อยู่บ่อยๆ นอกเหนือจากอาการเครื่องอืดแล้ว ก็จะมีเรื่องของฮาร์ดดิสก์ที่ส่วนใหญ่ก็จะมีประสบการณ์คล้ายๆ กัน แต่ที่เป็นปัญหาจริงๆ คือ อาการที่ฮาร์ดดิสก์ ถูกใช้พื้นที่จนเกือบจะเต็มตลอดเวลา โดยที่ไม่รู้สาเหตุ และไม่ได้ติดตั้งโปรแกรมอะไรเพิ่มเข้าไป  บางทีลบไฟล์ข้อมูลเน่าๆ ทิ้งแล้ว ฮาร์ดดิสก์ก็ยังบอกว่าใกล้จะเต็มอยู่ดี ใช้โปรแกรมทำความสะอาดฮาร์ดดิสก์ ก็ยังไม่สามารถจะช่วยอะไรได้ ว่าแต่อาการลักษณะนี้มันจะมีสาเหตุมาจากอะไร ดูกันได้เลยครับ 1.   แค่ Harddisk เต็ม  ผู้ใช้หลายคนขอบลองของใหม่ ตลอดจนโหลดคอนเท็นต์ต่างๆ จากอุปกรณ์รอบตัวไปเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ โดยที่ไม่เคยคิดจะกลับไปดูดำดูดีกับข้อมูลเหล่านี้ แต่แค่อุ่นใจว่า มันอยู่ในฮาร์ดดิสก์ของเครื่อง ซึ่งไฟล์ข้อมูลต่างๆ ตั้งแต่เรื่องส่วนตัวไปจนถึงไฟล์ข้อมูลอ้างอิงสำหรับงานที่นานๆ ใช้ที ทางออกของปัญหานี้ แนะนำให้ซื้อ External Harddisk เพื่อย้ายไฟล์เหล่านี้ออกจากฮาร์ดดิสก์ในคอมพิวเตอร์ของคุณออกมาจะดีที่สุด ส่วนโปรแกรมทำความสะอาดฮาร์ดดิสก์อย่าง Clean up มันช่วยแค่ลบไฟล์ หรือโปรแกรมที่ไม่จำเป็นออกไปเท่าน...

สั่ง Shutdown อัตโนมัติ อย่างง่าย ด้วย command

ผมคิดว่าหลายๆท่าน ไม่ว่าจะอยู่ที่ทำงานหรือที่บ้านนั้น อยากจะทำกิจกรรมอะไรสั่งอย่างเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้ เช่น แสกนไวรัส, จัดเรียงข้อมูล, ก็อบปี้งาน ฯลฯ แต่มีเหตุผลที่ว่า ขี้เกียจรอ, ไม่อยากเปิดเครื่องทิ้งไว้ ฯลฯ ด้วยเหตุผลนานานับประการ ที่พอจะสรุปได้ว่า ต้องการตั้งเวลาปิดเครื่องคอมพิวเตอร์แบบอัติโนมัติในเวลาเท่านั้นในเวลาเท่านี้ ผมมีวิธีการง่ายๆ โดยที่ไม่ต้องไปโหลดโปรแกรมอะไรมาติดตั้งเพิ่มครับ เว้นแต่คุณกะเวลาไว้ได้แม่น ว่าจะสั่งปิดช่วงไหนตอนไหนเท่านั้น วิธีการสั่งปิดเครื่องโดยอัติโนมัติ เมื่อมีการทำงานทิ้งไว้ (เว้นแต่โปรแกรมที่มีฟังก์ชันในการปิดเครื่องเมื่อทำงานเสร็จ) ตามนี้เลยครับ 1. คลิ๊ก Start Pragram 2. เลือก run 3. พิมพ์ cmd แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อเปิดหน้าคอมมานด์ ในหน้าจอ command นั้น พิมพ์คำสั่งเข้าไปเลยครับ shutdown /s /f /t  3600 โดย shutdown เป็นคำสั่งของระบบ /s             เป็น option สั่งให้ปิดเครื่อง /f              เป็น option สั่งให้ปิดโปรแกรมก่อนปิดเครื่อง /t     ...

การ copy file ขนาดใหญ่กว่า 4 GB ลง แผ่น DVD, CD หรือสื่ออื่นๆ

จากบทความที่แล้ว เรื่องของการ  การ copy file ขนาดใหญ่กว่า 4 GB ลง flash drive ไหนๆ ก็ได้เล่าเรื่องใหญ่ๆ แล้ว มาใหญ่อีกครั้งล่ะกัน  การที่คุณต้องการที่จะเขียนไฟล์ที่มีขนาดใหญ่ ลงในแผ่น CD หรือ แผ่น DVD5 คุณทราบดีอยู่แล้วว่า แผ่น CD ของคุณนั้นมีความจุเพียงแค่ 700 MB หรือแผ่น DVD5 ของคุณมีความจุเพียงแค่ 4.7 GB เท่านั้น หากคุณต้องการที่จะนำไฟล์ขนาด 6 GB (ซึ่งเป็นไฟล์เดี่ยว) มาเขียนลงบนแผ่น DVD นั้น ไม่ได้เลยครับ เพราะขนาดไฟล์ใหญ่เกินแผ่น ทางแก้นั้นคุณอาจจะไปวิ่งหาแผ่น DVD9 ที่มีความจุถึง 8.5 GB มาใช้แทน DVD5 ครับ หากคุณหาซื้อแผ่น DVD9 ไม่ได้ล่ะ !!! หากคุณซื้อแผ่น DVD9 มา แต่เครื่องอ่านเครื่องเขียนเจ้ากรรม ทำงานไม่ได้ หรือไม่รองรับล่ะ ??? นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้คุณหมดหนทางไปเลยเสียทีเดียว  คือคุณจะต้องแบ่งไฟล์เดี่ยวนั้นออกเป็นหลายๆไฟล์เพี่อทีจะนำมาเขียนใส่แผ่น DVD หรือ CD ได้ด้วยการใช้โปรแกรม winrar ในการแบ่งไฟล์ครับ วิธีการ 1. คลิ๊กขวาไฟล์ที่ต้องการเขียนลงแผ่น แล้วเลื่อก Add to archive... เลยครับ 2. เลือกขนาดของไฟล์ที่เราต้องการจะเขียน...

การ copy file ขนาดใหญ่กว่า 4 GB ลง flash drive

           เคยไหมครับ เมื่อที่คุณต้องการที่จะก็อบปี้ไฟล์ข้อมูลที่มีขนาดใหญ่เกินกว่า 4 GB แต่ทำยังไงก็ไม่สามารถก็อบปี้ได้ ถึงแม้ Flash Drive ของคุณจะมีความจุข้อมูลเกินกว่า 4 GB ก็ตาม โดยที่ระบบจะฟ้องว่า ไฟล์ขนาดใหญ่ไม่สามารถก็อบได้  ( Can not copy a large file.(เขียนประมาณนี้มั้ง) )   นั่นเป็นเพราะว่า ระบบไฟล์ของ Flash Drive ที่คุณใช้อยู่ เป็นระบบไฟล์ FAT32 ซึ่งจะไม่สามารถเขียนข้อมูลที่มีขนาดใหญ่กว่า 4 GB ได้ ดังนั้นแล้วไม่ว่าคุณจะมี Flash Drive ที่มีความจุมากขนาดไหน หากเป็น FAT32 ก็ไม่สามารถก็อบปี้ข้อมูลที่มีขนาด 4 GB ได้อยู่ดี          รูปนี้จะเห็นว่ามีขนาดประมาณ 6 GB จะไม่สามารถ copy ข้อมูลลง Flash Drive ได้                        ดังนั้นแล้ว อย่าเพิ่งโยน Flash Drive ทิ้งนะครับ เพราะมันยังมีวิธีแก้อยู่ ด้วยการเปลี่ยนระบบไฟล์จาก FAT32 ให้เป็น NTFS เนื่องจากระบบ NTFS จะเป็นระบบไฟล์ระบบใหม่ ที่มีการเขียนข้อมูลได้มากกว่า 4 GB นั่นเอง วิธีการ หมายเ...

คำสั่ง การลบโปรแกรม หรือ การถอดถอนการติดตั้งโปรแกรม Ubuntu server

หลายคนเมื่อได้ทำการติดตั้งโปรแกรมหรือ packet ต่างๆลงไปใน ubuntu server แต่เกิดความผิดพลาดในการติดตั้ง ทำให้ต้องการที่จะลบโปรแกรมออก แต่ไม่รู้จะลบออกยังไง ผมมีวิธีการดังนี้ครับ การถอดถอนโปรแกรมจาก Ubuntu server ด้วย command line สามารถทำได้ดังนี้ 1. สามารถลบการติดตั้งแบบธรรมดาด้วยคำสั่ง sudo apt-get remove ชื่อโปรแกรมที่ต้องการเอาออก เช่นผมต้องการลบ phpmyadmin แบบธรรมดา sudo apt-get remove phpmyadmin การลบแบบนี้จะยังคงค่าในระบบให้เหลือไว้ครับ เช่นค่าจำพวกคอนฟิกต่างๆ 2. การลบแบบให้หมดจดด้วยคำสั่ง sudo apt-get --purge remove phpmyadmin เป็นการถอดโปรแกรมที่ต้องการถอดทั้งหมดครับ 3. apt-get autoremove ตัวนี้จะเป็นการถอดถอนโปรแกรมที่มีในเครื่องทั้งหมดเลยครับ ไม่ว่าจะเป็น office , Desktop (ในกรณีที่มีการติดตั้ง Desktop ไว้) แน่นอนว่าเกลี้ยงเลยครับ ข้อนี้ไม่แนะนำให้ใช้ครับ เนื่องจากมันจะ Uninstall program ทั้งหมดในเครื่องครับ

การ install และ config โปรแกรม vsftpd Ubuntu 10.10

ติดตั้ง vftp บน Ubuntu Server โดยใช้คำสั่ง apt-get install vsftpd จากนั้น เราก็มา config ค่าต่างๆของ FTP Server โดยแก้ไข config file ที่ /etc/vsftpd.conf ในไฟล์ vsftpd.conf แก้ไขค่าด้วยคำสั่ง sudo /etc/vsftpd.conf แล้วแก้ไขค่าดังนี้ anonymous_enable = NO # ปิดการใช้ anonymous ftp write_enable = YES # ให้ user สามารถใช้ FTP write ได้ local_enable = YES # ใช้ user จาก /etc/passwd file_open_mode = 0777 (เพิ่มบรรทัดนี้เข้าไป) local_umask = 0022 # ให้ file ที่ user upload ขึ้นไป มี permission เป็น 755 อัตโนมัติโดยไม่ต้องมาไล่ chmod กันทีหลัง chroot_local_user = YES chroot_list_enable = YES chroot_list_file = /etc/vsftpd.chroot_list # ให้ user อยู่แต่ใน home directory ของตัวเองเท่านั้น ยกเว้นให้ผู้ใช้ที่มีชื่ออยู่ในไฟล์ /etc/vsftpd.chroot_list ซึ่งไฟล์นี้ต้องสร้างขึ้นมาใหม่ เมื่อเสร็จแล้ว ให้ save file vsftpd.conf นี้ จากนั้นก็ไปสร้างไฟล์ใหม่ คือ /etc/vsftpd.chroot_list แล้วใส่ชื่อ user ที่ต้องการยกเว้นลงไป จากนั้น restart service vsftpd โดยใช้ตำสั่ง /et...

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...