ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

3 ปัญหาของฮาร์ดิสก์

ปัญหาของผู้ใช้วินโดวส์พีซีที่พบเห็นได้อยู่บ่อยๆ นอกเหนือจากอาการเครื่องอืดแล้ว ก็จะมีเรื่องของฮาร์ดดิสก์ที่ส่วนใหญ่ก็จะมีประสบการณ์คล้ายๆ กัน แต่ที่เป็นปัญหาจริงๆ คือ อาการที่ฮาร์ดดิสก์ ถูกใช้พื้นที่จนเกือบจะเต็มตลอดเวลา โดยที่ไม่รู้สาเหตุ และไม่ได้ติดตั้งโปรแกรมอะไรเพิ่มเข้าไป  บางทีลบไฟล์ข้อมูลเน่าๆ ทิ้งแล้ว ฮาร์ดดิสก์ก็ยังบอกว่าใกล้จะเต็มอยู่ดี ใช้โปรแกรมทำความสะอาดฮาร์ดดิสก์ ก็ยังไม่สามารถจะช่วยอะไรได้ ว่าแต่อาการลักษณะนี้มันจะมีสาเหตุมาจากอะไร ดูกันได้เลยครับ


1. แค่ Harddisk เต็ม ผู้ใช้หลายคนขอบลองของใหม่ ตลอดจนโหลดคอนเท็นต์ต่างๆ จากอุปกรณ์รอบตัวไปเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ โดยที่ไม่เคยคิดจะกลับไปดูดำดูดีกับข้อมูลเหล่านี้ แต่แค่อุ่นใจว่า มันอยู่ในฮาร์ดดิสก์ของเครื่อง ซึ่งไฟล์ข้อมูลต่างๆ ตั้งแต่เรื่องส่วนตัวไปจนถึงไฟล์ข้อมูลอ้างอิงสำหรับงานที่นานๆ ใช้ที ทางออกของปัญหานี้ แนะนำให้ซื้อ External Harddisk เพื่อย้ายไฟล์เหล่านี้ออกจากฮาร์ดดิสก์ในคอมพิวเตอร์ของคุณออกมาจะดีที่สุด ส่วนโปรแกรมทำความสะอาดฮาร์ดดิสก์อย่าง Clean up มันช่วยแค่ลบไฟล์ หรือโปรแกรมที่ไม่จำเป็นออกไปเท่านั้น และส่วนใหญ่ไฟล์พวกนี้ก็ไม่ได้มีขนาดใหญ่ ดังนั้นมันจึงไม่แปลกที่ แม้จะทำความสะอาดฮาร์ดดิสก์แล้ว แต่พื้นที่ก็ยังเกือบเต็มอยู่ดี


2. โดนไวรัสเล่นงาน นอกจากไวรัสจอมแฉที่แอบขโมยข้อมูลในเครื่องและสร้างความเสียหายให้กับผู้ใช้แล้ว ไวรัสหลายๆ สายพันธุ์ยังคงไม่ทิ้งพฤติกรรมการป่วนให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณทำงานไม่ได้ หรือมีประสิทธิภาพลดลง โดยหนึ่งในวิธีการของมันก็คือ การสร้างไฟล์ขยะเข้าไปในฮาร์ดดิสก์ ซึ่งอาการลักษณะนี้ โปรแกรม Disk clean-up ก็ช่วยไม่ได้ เพราะมันสามารถสร้างไฟล์เข้าไปได้เร็วกว่าที่จะตามหา และลบได้ทันเสียอีก นอกจากนี้ไฟล์ที่ไวรัสมันสร้างขึ้นบางไฟล์ยังใช้ชื่อเดียวกับไฟล์สำคัญในระบบที่ห้ามลบทิ้งอีกต่างหาก วิธีแก้ที่ดีที่สุดคือ ใช้ซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสจัดการพวกมันซะ ลงทุนดีกว่า และอย่าไปเผลอเชื่อพวกหน้าต่างป๊อปอัพที่โผล่ขึ้นมาเวลาท่องเข้าไปในเว็บไซต์อันตราย พร้อมทั้งบอกว่า “YOUR COMPUTER HAS A VIRUS!  CLICK HERE TO FIX IT!” เพราะมันคือกับดักชั้นยอดที่จะสร้างความเสียหายให้คุณมากกว่าฮาร์ดดิสก์เต็มเสียอีก


3. ฮาร์ดดิสก์ของคุณใกล้หมดอายุแล้ว ประเด็นสุดท้ายสำหรับอาการฮาร์ดิสก์ใกล้เต็มตลอดเวลา บางทีอาจมาจากฮาร์ดดิสก์ของคุณใกล้เจ๊งเต็มที ซึ่งโดยเฉลี่ยฮาร์ดดิสก์ปัจจุบันจะมีอายุอยู่ที่ประมาณ 7 - 8 ปี ขึ้นอยู่กับความหนักหน่วงของการใช้งาน เพราะถ้าหากดูแลดี พวกมันก็อาจจะมีอายุยืนถึง 10 ปีเลยทีเดียว และเร็วสุดก็ประมาณ 3 - 5 ปีที่มีอาการมาจากไฟกระชากบ่อย ประเด็นคือ เมื่อฮาร์ดดิสก์เริ่มมีปัญหา มันจะเริ่มแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับตัวมันผิดพลาด ซึ่งรวมถึงการบอกว่า ฮาร์ดดิสก์เต็มแล้ว ในขณะทีความจริงมันยังไม่เต็ม ลองใช้โปรแกรมเช็คสภาพฮาร์ดดิสก์เบื้องต้น โดยคลิกขวาบนไอคอนของไดรฟ์ที่ต้องการตรวจสอบ (เช่น C:) เลือกคำสั่ง Properties คลิกแท็บ Tools แล้ว ในกรอบ Error-Checking คลิกปุ่ม Check Now แล้ว OK หากโปรแกรมยังไม่ทำงานให้คุณรีสตาร์ทเครื่องก่อน แล้วปล่อยให้เครื่องทำงาน คุณอาจจะพบว่า ฮาร์ดดิสก์ของคุณมีปัญหาหลายแห่งเลยทีเดียว ซึ่งมันอาจจะยังใช้งานได้ แต่ก็คงจะไม่นานนักก่อนที่มันจะจากคุณไปโดยสมบูรณ์




ที่มา :  ข่าวไอที ทิป-เทคนิค คอมพิวเตอร์

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...