ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

map network drive ด้วย Command prompt

     บ่อยครั้งที่ต้องการใช้ทรัพยากร (เช่น โปรแกรม, ไฟล์เอกสารต่างๆ) จากเครื่องอื่นบนระบบเครือข่าย  หรืออาจจะเป็นเครื่อง Server องค์กร ที่ให้บริการ share file และมีความจำเป็นต้องใช้ไฟล์ร่วมกัน ดังนั้นการที่จะมาคอยใช้คำสั่ง ในการเข้าเครื่องอื่นนั้นค่อนข้างที่จะยุ่งยาก จึงต้องมีการ Map Drive ไว้เพื่อใช้งาน การ Map Drive บนระบบเครือข่ายนั้นก็ยังเป็นเรื่องยุ่งยากของ user ผู้ใช้งาน ซึ่งบางท่านอาจจะ Map Drive บนระบบเครือข่ายไม่เป็น ดังนั้นผมจึงมีวิธีการที่จะ Map Drive บนระบบเครือข่าย ผ่านคำสั่ง Command Prompt ของ window อย่างง่ายๆครับ

สิ่งที่ต้องทราบก่อนทำการ Map Drive บนเครือข่าย
1. Drive ที่ต้องการจะ Map ควรตรวจดูใน My Computer ว่ามี Drive อะไรบ้าง และ Drive ที่แสดงใน My Computer นั้น อยู่ในสถานะไม่ว่าง จะไม่สามารถนำมา Map Drive ได้ จะได้เฉพาะที่ไม่มีโชว์เท่านั้น 
 ( Drive ที่มีใน My Computer จะไม่สามารถ นำมาเป็น Drive ที่เราต้องการจะ Map ได้ เช่น ในเครื่องคอมของเรามี Drive C และ Drive D ดังนั้น Drive ที่ว่างก็จะมีตั้งแต่ Drive E ไปจนถึง Drive Z เลยครับ            หากยังไม่เข้าใจ สมมุติว่า เครื่องเรามี C,D และ Drive CD-ROM ที่เป็น Drive E ดังนั้น C,D,E จะไม่สามารถนำมา Map ได้ เนื่องจากใช้งานอยู่ ดังนั้น Drive ที่ว่าง ก็จะเริ่มตั้งแต่ F ลงไป จนถึง Z เลยครับ ดังนั้น เราจะเลือกใช้ F-Z ครับ สรุปง่ายๆว่า ใน My Computer โชว์ Drive อะไรนั้น Drive นั้นๆ ย่อมไม่สามารถนำมา Map ได้)

* กรณีนี้ หากในองค์กรหรือหน่วยงานของคุณได้กำหนดไว้ควร Map เป็น Drive M ก็เตรียมใช้ M เลยครับ

2. หมายเลขไอพีแอดเดรส หรือ โฮสเนม ของเครื่องที่ต้องการจะ Map Drive
เช่น ผมมี Server ให้บริการ ที่ IP Address 10.x.x.x หรือชื่อโฮส sharefile

3. โฟลเดอร์ที่ต้องการจะ Map Drive หมายถึง โฟลเดอร์บนเครื่อง Server ที่เปิดบริการ share file ไว้

4. username & password ใช้ในกรณีที่เครื่อง Server ของคุณมีการให้ Login ก่อนเข้าใช้งาน

เมื่อทราบใน 4 ข้อ ดังกล่าวแล้ว มาเริ่มทำการ Map Drive กันดีกว่าครับ 

1. เปิด Command Prompt ของ Windows ขึ้นมา

ไปที่ Start Program --> Run พิมพ์ cmd แล้วกด Enter  จะปรากฏหน้าจอ ดำๆ ขึ้นมา



2. พิมพ์คำสั่งดังต่อไปนี้ 


net use M: \\sc_data\fac_share /user:username password


อธิบายคำสั่ง 

net use = คำสั่ง map drive

M: = Drive ที่ต้องการ Map

\\sc_data = ชื่อโฮส

\fac_share = โฟลเดอร์ที่ต้องการ Map
*หมายเหตุ การใช้คำสั่งชื่อโฮสและโฟลเดอร์นั้นต้องต่อกัน เช่น \\sc_data\fac_share\subfolder\subfolder กรณีของผมเปิดบริการแชร์ไว้เหมือนในภาพ หากท่านอื่นมีลึกลงไปต้องใส่ให้ถูก

/user: username password = ให้ใส่ชื่อ username แล้วเคาะวรรค 1 ครั้ง แล้วใส่ password

*กรณีที่ไม่ได้ใช้แบบ Login นั้น ให้ตัดข้อความนี้ออกไป
/user: username password 


3. เมื่อ Map สำเร็จ จะฟ้องข้อความดังภาพด้านล่าง แล้วให้ปิดหน้าจอ Command Prompt ได้เลย


4. เปิด My Computer จะพบว่า มี Drive M: เพิ่มขึ้นมาแล้ว

เสร็จแล้วครับ 

และสำหรับท่านที่เปิด Command Prompt ไม่เป็นครับ ผมได้เขียนเป็น File เพื่อให้ใช้งานง่ายสำหรับผู้ที่ยัง Map Drive ไม่เป็นนะครับ ให้ Download ได้ดัง Link นี้ครับ
แนะนำให้ Download เก็บไว้บน Desktop เลยครับ


เมื่อ Download มาแล้วให้คลิ๊กขวาที่ไฟล์แล้วเลือก Edit (ควรทราบว่า Download ไว้ที่ไหน)



แก้ไขให้ถูกต้องกับที่ใช้อยู่นะครับ

net use = คำสั่ง map drive

M: = Drive ที่ต้องการ Map

\\sc_data = ชื่อโฮส

\fac_share = โฟลเดอร์ที่ต้องการ Map

/user: username password = ให้ใส่ชื่อ username แล้วเคาะวรรค 1 ครั้ง แล้วใส่ password


*กรณีที่ไม่ได้ใช้แบบ Login นั้น ให้ลบข้อความนี้ออกไป
/user: username password


เสร็จแล้ว Save เลยครับ

จากนั้นการใช้งาน สามารถ ดับเบิลคลิ๊กที่ไฟล์ได้เลยครับ 

เราก็จะได้ Drive บนระบบเครือข่ายขึ้นมาแล้ว




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช