ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การเลือกซื้อ Power supply ที่ดี

ผมได้มาเข้ารับการอบรมหัวข้อ PC Hardware Maintenance. ได้ทราบเกี่ยวกับการใช้งาน Power Supply ซึ่งมีความจำเป็นที่หลายๆคนอาจจะมองข้าม (รวมทั้งผมด้วย)
หลายคนที่ต้องการประกอบคอมพิวเตอร์เองนั้น คงจะไม่ค่อยเห็นความสำคัญของ Power Watt ของ Supply เท่าใดนัก โดยที่จะเน้นราคาถูกเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่คุณรู้ไหมว่า การเลือกใช้ Power Supply นั้นจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะช่วยให้การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณเต็มไปด้วยความเสถียรภาพ และหากคุณเลือกใช้ Power Supply ที่ราคาถูก เช่น การซื้อ Power Supply 450 watt ในราคา 350 - 600 บาท นั้นคือคุณกำลังซื้อ Power Supply ที่มี Power Watt ไม่เต็ม

เครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะสามารถ ทำงานได้ดีนั้น จำเป็นต้องมีแรงดันไฟฟ้า และกระแสไฟฟ้าที่นิ่งพอสมควรและสิ่งที่ขาดไม่ได้นั้น คือ กำลังไฟฟ้า (Power watt) แรงดันจะนิ่ง กระแสจะนิ่ง แต่หากกำลังไฟฟ้าไม่พอ ก็ไม่อาจจะทำให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์นั้น ทำงานได้เต็มที่และประสิทธิภาพสูงสุดได้


แล้ว Power watt ไม่เต็มนั้น ก่อผลเสียอย่างไร?
1. ไฟไม่พอในการจ่ายไฟเลี้ยงให้อุปกรณ์ เช่น Mainboard, Harddisk, CD-Rom ฯลฯ
และการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มนั้นก็ยาก เนื่องจาก Connector ไม่พอที่จะเสียบอุปกรณ์อื่นได้ เช่น หากต้องการที่จะติดตั้ง Harddisk เพิ่ม หรือติดตั้ง CD - ROM เพิ่ม
2.  แรงดันในการจ่ายไฟไม่นิ่ง อาจทำให้เกิดปัญหา ฮาร์ดดิสก์พัง , เครื่องแฮงค์(เนื่องจากไฟเลี้ยงไม่พอ),อุปกรณ์เชื่อมต่ออื่นๆพังง่าย, เสียบ USB หลายตัวไม่ได้ ฯลฯ
3. การใช้งาน Application ที่มีการประมวลผลสูง ค่อนข้างที่จะช้า เนื่องจาก อุปกรณ์ต่างๆของคอมพิวเตอร์ต้องใช้พลังงานมาก



แล้ว Powar watt เต็มนั้น ดีอย่างไร
1. มีไฟเลี้ยงอุปกรณ์บน mainboard ที่เพียงพอต่อการใช้งาน
2. สามารถเพิ่มอุปกรณ์ได้มากกว่าเดิม
3. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างมีความเสถียรภาพมากว่าเดิม
4. ลดอาการ Hang ของ Hardware ในขณะเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรากำลังทำงาน
5. ใช้งาน Application ที่มีการประมวลผลสูงได้ดีกว่า


แล้วการเลือกซื้อ Power Supply ที่มี watt เต็ม เลือกซื้อยังไง
วิธีการเลือกซื้อ Power Supply ที่มี watt เต็มนั้น
1. ราคา   ย่ิอมแพงกว่า Power Supply ทั่วไป ราคาจะอยู่ในหลักพันขึ้นไป แต่ล่ะราคาขึ้นอยู่ตามกำลังวัตต์

2. คอนเน็คเตอร์ (connector) จะต้องมีไม่น้อยกว่า 4 เส้น (ไม่ว่าจะเป็นของ IDE หรือ SATA ก็ตาม ต้องมีจำนวน 4 เส้น นะครับ ไม่ใช้ หัวคอนเน็คเตอร์ 4 ตัว) เพราะการที่มีเส้นคอนเน็คเตอร์เยอะนั้น แสดงให้เห็นว่า Power Supply มีกำลังเพียงพอที่จะจ่ายให้กับอุปกรณ์


สายคอนเน็คเตอร์

3. น้ำหนักจะมากกว่า Power Supply ทั่วไป เนื่องจาก ความหนาแน่นของขดลวด จะมีเยอะกว่าในแบบธรรมดาทั่วไป

แค่ 3 ข้อนี้ก็สามารถเลือกซื้อ Power Supply ที่มีกำลังวัตต์เต็ม ได้แล้วครับ







ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...