ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

25 shortcuts บนระบบ OS X

ก่อนอื่นต้องรู้จักปุ่มต่างๆในคีย์บอร์ดของ Mac เนื่องจากคีย์บอร์ดไม่เหมือนกับของวินโดว์ทำให้คนที่ไม่เคยใช้งานเกิดความไม่คุ้นเคย


เมื่อได้ทราบปุ่มแล้วเรามาทำการรู้จักการใช้คีย์ลัดใน OS X  หรือ Mac กันครับ เพื่อความรวดเร็วในการใช้งานเครื่อง Mac ของเรา
1. Command + Q : ปิดโปรแกรมอย่างรวดเร็ว ไม่ต้องเอามือไปกดปุ่มกากาบาท


2. Command + W : ปิดหน้าต่าง Finder หรือ หน้าโปรแกรมดูไฟล์ต่างๆในเครื่อง ใช้แบบข้อแรกไม่ได้ และถ้ากดปุ่ม Option เพิ่มจะเป็นการปิดทุกหน้าต่าง Finder

3. Command + I : ดูข้อมูลของไฟล์ หรือ โฟลเดอร์ ไม่ต้องไปคลิ๊กขวาเลือก Get info

4. Command + Shift + N : สร้างโฟลเดอร์ใหม่อย่างรวดเร็ว

5. Command + Del : ลบไฟล์หรือโฟลเดอร์

6. Command + Shilf + Del : เคลียร์ถังขยะ Empty trash (จะต้องเลือก OK เพื่อยืนยัน)

7. Command + Shift + N : สร้างโฟลเดอร์ใหม่อย่างรวดเร็ว

8. Shift + ลูกศรซ้าย (ขวา) : เป็นการ Select ข้อความทีละตัวอักษร

9. Fn + Del : จะเป็นการลบข้อความที่อยู่ข้างหลังเคอร์เซอร์


10. Fn + ลูกศรซ้าย/ขวา : จะทำหน้าที่แทนปุ่ม บนสุด (home) และล่างสุด (end)

11. Fn + ลูกศรขึ้น/ลง : จะเลื่อนหน้าเอกสารขึ้น/ลง ทีละหนึ่งหน้า (page up / page down)

12. Comand + Shift + 3 : จะทำการ Print Screen ทั้งหน้าจอ (ไฟล์ png)

13. Comand + Shift + 4 : จะทำการ Print Screen โดยที่สามารถเลือกตำแหน่งที่ต้องการได้ (ไฟล์ png)

14. Command + Option + Escape : เปิดหน้า Force Quit เพื่อเลือกปิดโปรแกรมกรณีมันไม่ทำงาน

15. Command + Tab : สามารถเลือกโปรแกรมที่เปิดซ้อนกันอยู่ได้รวดเร็ว แต่ถ้าจะสลับหน้าจอ เป็นโปรแกรมเดียวกัน (ลองเปิด finder หลายหน้าต่างสิ) กด Command + ~ นะครับ

16. Command + Option + S : จะเป็นการซ่อน Sidebar ได้รวดเร็ว (เมื่อรำคาญ) กดซ้ำอีกทีมันจะกลับมาเหมือนเดิม

17. Command + Option + D : จะเป็นการซ่อน Dock ได้รวดเร็ว (เมื่อรำคาญ) กดซ้ำอีกทีมันจะกลับมาเหมือนเดิม

18. Control+Scroll bar เมาส์ (ขึ้น) : จะมันซูมภาพหน้าจอ แต่มันจะถูก Anti-aliase (เบลอๆ) กด Command+Option+\ เพิ่มสิมันจะ disable ให้ กดซ้ำอีกทีมันจะกลับมาเหมือนเดิม

19. Option + คลิ๊กที่สัญญลักษณ์ wireless หรือ bluetooth จะแสดงข้อมูลรายละเอียดเพิ่มมากขึ้น

20. ทำให้หน้าจอ Mac เป็นสีตรงข้ามได้ (Invert Screen) กรณีปวดตาของแสงหน้าจอ กดปุ่ม Option+Control+Command+8 กดซ้ำอีกทีมันจะกลับมาเหมือนเดิม

คำสั่งใช้กับข้อความ
21 Command + C เป็นคำสั่งที่ใช้ในการ Copy

22 Command + X เป็นคำสั่งที่ใช้ในการ Cut

23 Command + V เป็นคำสั่งที่ใช้ในการ Pate

24 Command + A เป็นคำสั่งเลือก Select All

25 Command + S เป็นคำสั่งที่ใช้ในการ Save File

และยังมีคำสั่งอื่นๆอีกเยอะแยะ ที่เราต้องใช้ในโปรแกรมต่างๆ ที่ค่อนข้างจำเป็นและการใช้คีย์ลัดนี้ค่อนข้างที่จะรวดเร็วเมื่อเทียบกับการใช้เมาท์ ควรใช้บ่อยๆแล้วจะจำได้เองครับ

ที่มา : http://www.inoomm.com/2011/20-shortcut-macosx/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...