ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ทำอย่างไรเมื่อ map drive ไม่ได้


   หลายคนที่ทำงานในองค์กร คงจะปวดหัวไม่น้อย เมื่อต้องใช้งาน Drive ของ ระบบเครือข่าย ที่ได้เปิดให้ user เข้าใช้งานโฟลเดอร์ที่แชร์ไว้บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เพื่อที่จะสามารถใช้งานไฟล์หรือโฟลเดอร์ร่วมกันได้ในองค์กร แต่ทว่าการที่จะเข้าใช้งานนั้น ต้องมาพิมพ์คำสั่ง เพื่อเข้าใช้งานทุกครั้งย่อมไม่สะดวกสักเท่าไหร่ โยผมได้เขียนบทความเกี่ยวกับการ map network อย่างง่ายๆไว้แล้วที่ http://itguest.blogspot.com/2012/08/map-network-drive-command-prompt.html ซึ่งเป็นการ Map Drive ด้วย command และการ Map ด้วยการคลิ๊กง่ายๆไม่กี่ครั้ง http://itguest.blogspot.com/2011/04/map-drive.html  และหลายคนที่ทำการ Map Drive ได้ ก็จะจบเพียงเท่านั้น แต่คนที่ไม่สามารถ Map Drive ไม่ได้ ล่ะ จะทำอย่างไร ผมมีวิีการตรวจเช็คอย่างง่ายๆครับ

1. ตรวจเช็คการเชื่อมต่อเครือข่ายผ่าน Dos ด้วยคำสั่ง ping
ให้เราเปิด dos ด้วย Satrt --> run แล้วพิมพ์คำสั่ง cmd แล้วกด enter จะเป็นการเปิดโปรแกรม Dos ขึ้นมา

2. พิมพ์คำสั่ง ping ip address server สมมุติว่า ip address server  192.168.1.1 ก็ให้พิมพ์ดังนี้

ping 192.168.1.1 














ถ้าขึ้นหน้าจอดังภาพ


 ก็แปลว่าเชื่อมต่อ Server ได้ ลอง map drive อีกครั้ง ซึ่งบางที่เราอาจจะจำชื่อ path ที่ต้องการจะ map drive ผิด ต้องตรวจสอบให้ดีๆ

3. ถ้าหากมันแสดงผลดังภาพด้านล่างนี้ แปลว่าเครื่องคอมของเราไม่สามารถเชื่อมต่อกับ Serverได้ ให้ทำดังนี้
แสดงการว่า ไม่มีการตอบสนองจาก Server

แสดงว่า ไม่มี ip หมายเลขนี้ในเครือข่าย

   ตรวจเช็คเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราว่าใช้งานอินเตอร์เน็ตได้หรือไม่ (กรณีที่องค์กรให้ใช้งานอินเตอร์เน็ตได้) หากใช้ไม่ได้ให้ตรวจเช็คที่สายแลน หรือที่เสียบการ์ดแลนเครื่องคอมพิวเตอร์ ว่ามีไฟกระพริบหรือไม่ หากไม่มีให้ลองหาสายแลนสายใหม่มาเสียบ หรือไม่ก็ย้ายไปเสียบพอร์ทแลนพอร์ทอื่น (ปลายที่เชื่อมต่อกับพอร์ทแลน)
   หากมีไฟกระพริบดังรูปนั้น ให้ทำการ ping ขั้นตอนแบบในข้อ 2 อีกที หากยังไม่ได้อีก ก็หมายความว่า Driver Lan Card มีปัญห่า ให้ทำการถอด Driver Lan Card ออกแล้วติดตั้งใหม่

ในกรณีที่ลองทุกทางแล้วไม่มีไฟกระพริบ นั้น ให้ตรวจสอบไดรเวอร์ว่าถูกต้องหรือไม่ และลองหาการ์ดแลนมาเสียบดู หากแก้ไขยังไม่ได้ให้ลองตรวจเช็คไวรัสในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณดูครับ

4. กรณีที่ทำการแก้ไขปัญหาเรียบร้อย เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตและเน็ตเวิร์กได้ ให้ลองทำการ Map Drive ดูครับ

เมื่อลองแล้วยัง Map Drive ไม่ได้ นั้นให้ติดต่อผู้ดูแลระบบทำการ Clear Cache ให้เนื่องจาก user มีปัญหากับระบบ หรือไม่ก็ Session ของ Server เต็ม ต้องทำการ clear ออกโดยผู้ดูแลระบบเท่านั้นครับ ซึ่งอาจจะ รีเซ็ทเซอร์วิส หรือรีสตาร์ทเครื่องก็ได้ ก็ตามแต่

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช