ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เอารูปออกจาก iPad ด้วย Dropbox


    จากที่เคยได้เขียนบทความเกี่ยวกับ การโหลดรูปภาพ และวีดีโอ จาก iPad ลงเครื่องคอมพิวเตอร์ ผ่าน window แล้ว บทความนี้จะว่ากล่าวด้วยการโหลดรูปภาพออกจาก iPad ด้วย Dropbox โดยอัตโนมัติ โดยการทำงานนั้นเมื่อเราได้ทำการถ่ายรูปใน iPad ไว้แล้ว ไม่ว่าจะกี่รูปก็ตามแต่ ไฟล์รูปภาพนั้นจะโดนเก็บไว้ใน Photos ของ iPad  และเมื่อเราได้ทำการติดตั้ง App Dropbox แล้ว เมื่อเปิดใช้งาน Dropbox มันก็จะทำการ Upload File โดยอัตโนมัติ
     หลายคนคงจะทราบกันแล้วว่า Dropbox คืออะไร แต่ยังอาจจะมีคนที่ยังไม่ทราบว่า Dropbox คืออะไร ผมจะกล่าวไว้คร่าวๆว่า Dropbox คือ Cloud Computing หรือ บริการฝากไฟล์ไว้บนเซิร์ฟเวอร์ โดยการใช้งานนั้นจะคล้ายๆกันกับ Google Drive นั่นคือ เมื่อเราทำการ Download โปรแกรมของ Dropbox มาติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรานั้น มันจะเป็นโฟลเดอร์สำหรับเพื่อเก็บไฟล์ที่ชื่อว่า Dropbox เมื่อเรานำไฟล์ไปเก็บไว้ในโฟลเดอร์นี้ เมื่อทำการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแล้วไฟล์จะโดน Upload ขึ้นสู่ Server โดยอัตโนมัติ โดยไม่ว่าเราจะอยู่ที่ไหนต้องการใช้งานไฟล์งานนั้น เราสามารถเปิดผ่าน Browse เพื่อทำการ Download ไฟล์มาใช้งาน เพียงแค่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้เท่านั้น
   
     ดังนั้น การใช้งาน Dropbox จำเป็นต้องสมัครสมาชิกก่อน ที่ https://www.dropbox.com (มีทั้ง version free และจ่ายเงิน โดยที่ free จะได้พื้นที่ 2GB ก็ถือว่าเยอะแล้วครับ)


เมื่อทำการสมัครแล้วจากนั้นจะมีหน้าให้ทำการ Download Program มาเพื่อทำการติดตั้งในเครื่อง ระบบจะตรวจสอบเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราใช้ระบบปฏิบัติการอะไร แล้วเตรียมไว้ให้เอง เช่น Window จะเป็นไฟล์ dropbox.exe, OS X จะเป็นไฟล์ dropbox.dmg, Linux จะเป็นไฟล์ dropbox.tar.gz หรืออื่นๆ (ไม่ต้องกังวลครับ มันเลือกให้เราแล้ว) เมื่อ Download แล้วให้ติดตั้งและ Login ด้วย username & password ที่ทำการลงทะเบียนไว้ตั้งแต่แรก
เมื่อติดตั้งเรียบร้อยแล้วจะสังเกตดูที่ เมนูบาร์ จะมีไอคอนรูปกล่องเพิ่มขึ้นมาดังรูป (ไม่ว่าจะเป็น window หรือ Linux หรือ OS X ก็มีเหมือนกัน)

เท่านี้ ฝั่งของเครื่องคอมพิวเตอร์ก็เสร็จแล้วครับ ทีนี่มาที่เครื่อง iPad ของเรา ให้ทำการ Download Dropbox จาก App Store แล้วทำการ Login ให้เรียบร้อย

จากนั้นเปิด App Dropbox ขึ้นมา ทำการตั้งค่าดังนี้


ก็เรียบร้อยแล้วครับ ทีนี้เวลาที่เราถ่ายภาพใน iPad แล้วต้องการรูปใน iPad แต่ลืมพกสาย USB เราก็เปิด App Dropbox  รอสักพักมันจะทำการ Upload File เองครับ

จากนั้นมาดูที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราได้ทำการติดตั้ง Dropbox ไว้ หรือจะ Download ผ่าน Browse ก็ได้
เท่านี้รูปถ่ายก็มาอยู่ในเครื่องคอมของเราเรียบร้อย

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...