ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

รู้จักประเภทของไฟล์ วีดีโอ


ไฟล์ วีดีโอ ประเภทต่างๆ
ไฟล์วีดีโอที่ใช้งานอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นมีหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับมาตรฐานการบีบอัดของวีดีโอประเภทนั้น ซึ่งแต่ละประเภทก็จะมีคุณสมบัติ หรือความละเอียดของภาพต่างๆกันไป นอกจากนั้นเมื่อเราสร้างงานวีดีโอเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนสุดท้ายก็คือการแปลงงานออกมาให้เป็นไฟล์วีดีโอ ซึ่งหากเราทำความเข้าใจกับประเภทของไฟล์วีดีโอต่างๆได้ดี ก็จะสามารถเลือกไฟล์วีดีโอที่ต้องการนำเสนอในงานต่างๆได้อย่างเหมาะสม ซึ่งโดยทั่วไปจะมีดังนี้

AVI (Audio Video Interactive)
เป็นไฟล์วีดีโอมาตรฐานของคอมพิวเตอร์ทั่วไป (ใน Mac จะมีไฟล์มาตรฐานเป็น MOV) ซึ่งไฟล์วีดีโอแบบ AVI นี้จะมีการบีบอัดข้อมูลน้อย ทำให้ภาพและเสียงคมชัด แต่ไฟล์วีดีโอจะมีขนาดใหญ่มา โดยขนาดของไฟล์วีดีโจะขึ้นอยู่กับการกำหนดของเรา หรือเครื่องมือในการจับภาพวีดีโอ

DV (Digital Video)
ในกรณีที่เราใช้กล้องดิจิตอลวีดีโอ เช่น Digital 8 หรือ MiniDV แล้วจับภาพวีดีโอเข้ามา ซึ่งไฟล์ DV นี้จะมีนามสกุลเป็น AVI เช่นเดียวกัน แต่จะมีการกำหนดของขนาดความละเอียดของภาพ เท่ากับ  720x576 พิกเซล และอัตราการส่งข้อมูล (Bit rate) = 3600 Kb/s ซึ่งนับว่ามีขนาดใหญ่มาก เหมาะสำหรับเก็บเป็นไฟล์ต้นฉบับมากกว่า เพราะจะทำให้ได้ภาพที่คมชัดมาสร้างเป็นงานในรูปแบบอื่นๆ เช่น วีซีดี หรือ ดีวีดี เป็นต้น

MPEG
เป็นฟอแมตไฟล์วีดีโอที่ถูกบีบอัด ที่ได้รับความนิยมที่สุด เนื่องจากมีขนาดเล็กและมีคุณภาพหลากหลายตั้งแต่คมชัดที่สุด ไปถึงคมชัดในระดับที่พอใช้ โดยมีหลายรูปแบบดังนี้

 MPEG - 1 เป็นไฟล์วีดีโอที่เหมาะสำหรับใช้เป็นไฟล์พื้นฐานที่จะนำไปสร้างเป็นแผ่นภาพยนต์วีซีดี มีความละเอียดปานกลาง

 MPEG - 2 เป็นไฟล์วีดีโอที่มีคุณภาพสูง มีความคมชัดของภาพในระดับดี เหมาะสำหรับนำไปใช้เป็นต้นฉบับสำหรับสร้างแผ่นภาพยนต์ดีวีดี เพราะภาพคมชัดสูง

MPEG - 4 เป็นไฟล์ที่ได้รับความนิยมมาก เพราะมีความคมชัดใกล้เคียงกับ DVD แต่ขนาดเล็กกว่ามาก MPEG-4 ส่วนใหญ่จะรู้จักกันในชื่อ  "DivX" หรือ "XviD"

WMV (Windows Media Video)
เป็นไฟล์ของไมโครซอฟต์สร้างขึ้น เป็นไฟล์มาตราฐานสำหรับการใช้งานร่วมกับระบบปฏิบัติการ Windows ทุกเวอร์ชั่น สามารถเปิดได้ด้วยโปรแกรม Windows Media Player (สำหรับปัจจุบันมีหลายๆ โปรแกรมที่สามารถเปิดไฟล์ประเภทนี้ได้เช่นกัน)

RM (Streaming RealVideo)
พัฒนาโดยบริษัท Real Network  เป็นไฟล์วีดีโออีกรูปแบบหนึ่งที่นิยมใช้สำหรับการเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า "Streaming" ซึ่งมีความคมชัดของภาพและเสียงค่อนข้างต่ำ เพื่อให้เหมาะสำหรับการเผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ต ปัจจุบันใช้ไฟล์ FLV เผยแพร่ทางอินเตอร์เน็ตแทนแล้ว

MOV
เป็นไฟล์วีดีโอที่ใช้ร่วมกับโปรแกรม quicktime ผลิตเพื่อใช้กับเครื่อง Apple เป็นหลัก แต่ก็สามารถใช้ร่วมกับ Windows ได้ด้วยเช่นกัน

DivX
ไฟล์วีดีโดรูปแบบใหม่ที่นิยมใช้งานกันมาก เนื่องจากมีคุณภาพสูงในขณะที่ไฟล์มีขนาดเล็กลง เรียกว่าคุณภาพระดับ DVD เลย เป็นไฟล์ประเภทเดียวกับ MPEG-4

XviD
ไฟล์วีดีโอมีความใกล้เคียงกับ DixV แต่เนื่องจากเป็นไฟล์ประเภท Open Source (ฟรีในการใช้งาน และพัฒนาต่อ)


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช