ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Note ในชีวิตประจำวัน

แนะนำ Note ในชีวิตประจำวัน


มันจริงไหม ที่เมื่อก่อนการออกงานนอกสถานที่ หรือการประชุม หรือการบันทึกประจำวัน หรืออาจจะเป็นไดอารี่ส่วนตัว คุณจะต้องพกสมุดโน๊ต ( Note book ) และปากกาเสมอ เมื่อเข้าประชุม คุณจะต้องจดและเขียนบันทึกเกี่ยวกับเรื่องต่างๆ คุณอาจจะออกเดินทางไปท่องเที่ยวจะต้องพก สมุดและปากกาไว้เพื่อจดเรื่องราวการเดินทางต่างๆ ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นเช่นนั้น

ปัจจุบันนี้ ด้วยเทคโนโลยีกว้างไกล ระบบอินเตอร์เน็ตเข้าถึงทุกครัวเรือน การใช้งานคอมพิวเตอร์ที่เพิ่มมากขึ้น และที่กำลังมาแรงในระยะนี้นั่นก็คือ Smartphone และ Tablet นั่นเอง

แน่นอนว่าเมื่อ Smartphone และ tablet เป็นที่นิยมและส่วนใหญ่จะมีการทุกคนในวัยทำงาน วัยเรียน และมี Application หลายตัวที่ใช้สำหรับ Note จดบันทึกข้อความได้ คุณจะไม่พกสมุดและปากกาอีกต่อไป แต่จะพกเจ้า Smartphone และ tablet แทน เพื่อใช้ในการ Note บันทึกข้อความเหล่านั้น แต่บางครั้ง การใช้งานพวก Note เหล่านั้นก็มีข้อจำกัดอยู่บ้างคือ เมื่อคุณ Note ข้อความไว้ที่อุปกรณ์ตัวใด คุณก็ต้องไปเปิดดูที่ Note อุปกรณ์ตัวนั้น บางทีการ Copy Note ก็ทำได้อย่างลำบากเมื่ออยู่บน Smartphone หรือ tablet เมื่อไหร่ที่คุณลืมอุปกรณ์ของคุณ คุณก็ไม่สามารถที่จะเปิดดู Note เหล่านั้นได้

ดังนั้น สิ่งที่ผมกำลังจะกล่าวต่อไปนี้คือ การ Note อย่างฉลาด (ซึ่งอาจจะมีหลายคนที่รู้ และหลายคนที่ไม่รู้) การ Note ไว้บน Cloud นั่นเอง ซึ่งบางครั้งที่คุณลืมอุปกรณ์ คุณก็จะยังสามารถเปิดดู Note เหล่านั้นได้ ผมจะแนะนำเท่าที่ผมได้ใช้งานนะครับ

1. Evernote

evernote

เป็น Note ที่น่าใช่งาน เราสามารถ Download Application Evernote ได้ที่ https://evernote.com/ ซึ่ง apps Evernote นี้จะมีทั้งบน PC และ Mac ส่วนในฝั่ง smartphone และ Tablet ก็มีให้ Download ได้ในฝั่งของ iOS และ Android ความสามารถของเจ้า Evernote นี้ สามารถ Note ได้ทุกที่ เขียนเรื่องราวต่างๆ ได้เหมือนกับการใช้ word หรือ office ทุกอุปกรณ์ และจะ Sync ข้อมูลกันทุกอุปกรณ์ เมื่อมีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต สามารถถ่ายภาพแล้วก็ Note ได้ด้วย เพียงแค่ลงทะเบียน ก็ใช้งานได้แล้ว

2. Google Keep

google keep

หลายท่านอาจจะใช้งาน Google บ่อย แต่ดันไม่ทราบว่า Google ก็มีบริการ Note ไว้ให้ใช้งาน (เหมือนจะมีมานานแล้ว) ก็คือ Google Keep บน PC สามารถใช้งานผ่าน Web Browser ได้เลย เพียงแค่มี GMAIL ก็ได้ใช้งานแล้ว โดยเปิดใช้งานได้ที่ https://keep.google.com/ และส่วนในฝั่ง smartphone และ Tablet ก็มีให้ Download ได้ในฝั่งของ iOS และ Android เช่นกัน

3. การนำ Social Network มาใช้งาน

จาก Note อย่างข้างต้นแล้ว อีกวิธีที่ผมชอบใช้มากที่สุดคือ การ Note ใน Social Network และที่ใช้ประจำก็คือ Facebook นั่นเอง

facebook

facebook ถือว่าเป็นสมุดโน๊ตที่ดีที่สุด เพราะใช้เป็นเป็นประจำ ซึ่งบางครั้งเราอาจจะต้อง Note ข้อความจาก Facebook มาไว้ใน App อื่น ซึ่งอาจจะเสียเวลาเปิด App นั้น เปิด App นี้ ก็ใช้มันเจ้า Facebook นี่แหล่ะ Note เอาเองซะเลย

วิธีการของผมคือ 

การสร้างกลุ่มลับขึ้นมา 1 กลุ่ม ตั้งชื่อว่าอะไรก็ได้ แล้วแต่ท่านชอบ ผมตั้งชื่อไว้ว่า "สมุดโน๊ต" เมื่อเวลาที่อ่านอะไรเจอต้องการจะโน๊ตไว้ ก็แชร์ลงในกลุ่มนั้นทันที

นอกจากนี้สมุดโน๊ตบน Social Network ยังสามารถที่จะเพิ่มคนอื่นมาอ่าน Note ของเราได้ด้วย

และยังมี Social อื่นๆ ที่สามารถทำอย่างนี้ได้ ไม่ว่าจะเป็น Google+, Blogger, wordpress, twitter ฯลฯ ซึ่งขึ้นอยุ่กับการประยุกต์ใช้ครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช