ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

หัดเขียนโปรแกรมจาวา โปรแกรมแรกของผม ด้วย Netbeans ตอนที่ 2

หัดเขียนโปรแกรมจาวา โปรแกรมแรกของผม ด้วย Netbeans ตอนที่ 2

อ้างอิงจาก หัดเขียนโปรแกรมจาวา โปรแกรมแรกของผม ด้วย Netbeans ตอนที่ 1 กล่าวไปด้วยการเขียนโปรแกรมแล้วทำการ Run แสดงผลผ่าน Command lind กันไปแล้ว บทความนี้ มาแบบดีกว่าเดิมนิดนึง คือ  Run แล้วให้แสดงผลเป็นโปรแกรมออกมาเลย เอาล่ะ ผมไม่เคยเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องของ OOP สักเท่าไหร่ และหลายคนอาจจะเข้าใจในเรื่องของ OOP ก็ตามแต่ แต่บทความนี้ ไม่แน่ใจว่าเกี่ยวกับ OOP ไหม มาเริ่มเขียนโปรแกรมแบบง่ายๆ ผ่าน Netbeans กันดีกว่า

ว่าด้วยเรื่องของ Netbeans คืออะไร เอาตามที่ผมทราบง่ายๆนะครับ Netbeans คือเครื่องมือสำหรับเขียนโปรแกรมตัวนึง ซึ่งมี Tool ช่วยให้ง่ายในการเขียนโปรแกรมอย่างมาก เราสามารถใช้ Netbeans เขียนโปรแกรมได้หลายภาษา อาทิเช่น JAVA, PHP, C, C# ฯลฯ และเป็นโปรแกรมแบบ GUI (Graphic user interface) 
สรุป เราสามารถใช้ Netbeans ในการเขียนโปรแกรม โดยที่ไม่ต้องรู้คำสั่งมาก อย่างเช่นการสร้างฟอร์มต่างๆ เราสามารถคลิ๊กที่ฟอร์ม แล้วสร้างปุ่มต่างๆได้เลย 

มาเริ่มหัดใช้งาน Netbeans กัน โปรแกรมนี้จะเป็นโปรแกรมสำหรับรับค่าทาง Text Field แล้วแสดงผลครับ

1. เปิดโปรแกรม Netbeans แล้วสร้าง Project --> New Project

เลือก Java Application และทำการตั้งชื่อ Project ให้เรียบร้อย

นำเครื่องหมายถูกหน้า Create Main Class ออกด้วย

2. ทำการสร้าง Form ใน Project คลิ๊กขวาที่ Default package --> New --> JFram Form


แล้วทำการตั้งชื่อ Form แล้วทำการสร้าง Form ดังรูป

#สร้างฟอร์มด้วยการคลิ๊กเปิด Pallete ที่อยู่ด้านขวามือ แล้วเลือก jTextFiled มาลงใน Form แล้วทำการลบ คำว่า jTextField ออก ตามรูปภาพด้านบน จากนั้นสร้างปุ่ม Button ขึ้นมาปุ่มนึงเพื่อทำการส่งค่าจาก jTextField แล้วตั้งชื่อว่า ตกลง โดยเปลี่ยนคำในช่อง Text เช่นเดียวกัน ดังภาพด้านล่าง

3. สร้างเหตุการณ์ หรือการส่งค่าเพื่อแสดงผล
คลิ๊กขวาที่ปุ่ม ตกลง --> Action --> ActionPerfomed

ทำการแทรกโค๊ดลงไปได้เลย
อธิบายครับ
ผมสร้างตัวแปร เพื่อรับค่าข้อความขึ้นมา 1 ตัวแปร
String text;

จากนั้น กำหนดให้ตัวแปร text รับค่าจาก jTextFiled เมื่อตอนกดปุ่ม ตกลง
(ต้องเขียนภายใต้เมธอด jButton1ActionPerfomed เท่านั้นนะครับ)

text=jTextField.getText();

จากนั้น แสดงผลออกหน้าจอเป็น Message 
JOptionPane.showMessageDialog(this, "สวัสดี คุณ "+text);

JOptionPane.showMessageDialog  คือคำสั่งเรียก Message แสดงผล
this คือ ตัวมันเอง หรือ ตัวเราเอง หรือสิ่งที่แปลว่า นี่คือเรา ประมาณนี้ครับ
"สวัสดี คุณ " คือข้อความที่เราเพิ่มเติม
+text คือ ค่าจาก Text Field ที่เราพิมพ์เข้าไป

ทำการรันโปรแกรมทดสอบดูครับ
ภาพนี้จะเป็นการกำหนดให้เป็น Main Class เลือก OK เลยครับ
ผลการรันที่ได้ ลองพิมพ์คำว่าทดสอบดู (มุมเล็กๆด้านซ้ายน่ะครับ ผมสร้าง Form เล็กเกินไป หุหุ)

เท่านี้ก็เรียบร้อยแล้วครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...