ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

หัดเขียนโปรแกรมจาวา โปรแกรมแรกของผม

หัดเขียนโปรแกรมจาวา โปรแกรมแรกของผม ด้วย Netbeans ตอนที่ 1

ผมเป็นคนที่อาจจะมีนิสัยแอบชอบเขียนโปรแกรม แต่ผมไม่เคยเขียนโปรแกรมได้สักที เพราะด้วยนิสัยอันขี้เกียจ เวลานั่งหน้าคอมพิวเตอร์จะหัดเขียนโปรแกรมทีไร มักเปิดไปทางอื่นทุกที เช่น เล่นเกมส์บ้าง เล่น facebook บ้าง นั่งฟังเพลงบ้างท้ายสุด การที่จะหัดเขียนโปรแกรมในแต่ละครั้งต้องล้มเหลวทุกครั้ง และครั้งนี้ก็เช่นกัน ผมจึงมาหัดเขียนโปรแกรมอีกครั้ง ในทุกๆครั้งที่หัดเขียนโปรแกรมและหาข้อมูลมาได้นั้นเมื่อเวลาเนิ่นนานไป มักจะลืม ผมจึงมาเขียนบทความเพื่อเตือนความจำในเมื่อที่ต้องการใช้งาน และเพื่อให้ผู้อ่านที่เริ่มเขียนโปรแกรมเช่นเดียวกับผม ผ่านมาเจอและสามารถนำไปใช้งาน ดังนั้น บทความนี้ ผมจึงมาเริ่มหัดเขียนโปรแกรมด้วยภาษาจาวา JAVA

ทำไมผมจึงเลือกที่จะหัดเขียนโปรแกรมด้วย JAVA ?
1. ด้วยตัวโปรแกรมภาษา JAVA สามารถรันได้ทุกระบบปฏิบัติการที่มีการติดตั้ง JVM (JAVA Visual Matchine หรือแปลง่ายๆคือ เครื่องจำลองสำหรับอ่าน JAVA) นั่นก็เพราะ โปรแกรมที่เขียนด้วยภาษา JAVA นั้น จะไม่สามารถเปิดได้ หากไม่มี JVM ที่ติดตั้งในเครื่อง และเจ้า JVM สามารถติดตั้งได้ทุกระบบปฏิบัติการ 

2. ด้านความปลอดภัย อย่างว่านะครับ ภาษาจาวานั้น สามารถรันได้ทุกระบบปฏิบัติการก็จริง แต่ต้องทำการติดตั้ง JVM ก่อน จึงจะทำการรันโปรแกรมได้ และการเข้าถึงข้อมูลในตัวโปรแกรม เนื่องจากภาษาจาวาจะใช้หลักการซ่อนข้อมูล หรือการเข้ารหัส encapsulotion ซึ่งจะอ่านได้เฉพาะตัวมันเอง จึงยากที่จะเข้าถึง (ข้อมูลจากหนังสือจาวาหลายๆเล่ม) 

3. ภาษาโปรแกรมได้รับความนิยม และสามารถหาข้อมูลได้ง่าย

4. ความคิดที่จะไม่ใช้ Web Browser เป็นหลัก ปัจจุบันนี้ ปีนี้ (นับจากวันที่และเวลาโพส) Web Application หรือโปรแกรมที่รันผ่านเว็บบราวเซอร์ เช่น Google chrome, Firefox, Internet Explorer ฯลฯ ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะเป็นนอกจากจะเป็นโปรแกรมที่สามารถรันได้หลายภาษาแล้ว (PHP, ASP.net, JSP, ฯลฯ) แต่ก็มีข้อเสียคือการแฮกข้อมูล มัลแวร์ ไวรัส ที่เข้าถึงได้โดยง่าย ดังนั้น ผมจึงคิดว่ามีความเสียงที่เครื่องจะเป็นเป้าโจมตี ผมจึงคิดที่จะหัดเขียนโปรแกรมด้วยจาวา เพราะหลักการแบบแอฟฯ ในสมาร์ทโฟน ถ้าเราจะใช้งาน เราก็เปิดแอฟฯขึ้นมาเพื่อใช้งานโดยเฉพาะ ดังนั้น การโจมตีหรือการแฮก ก็จะมาเจาะที่ JVM (แต่ส่วนใหญ่ตอนนี้เขายังไม่แฮกกัน)


เริ่มเขียนโปรแกรม ยากไหม ?
การเริ่มเขียนโปรแกรมด้วยภาษาจาวานั้น คำสั่งแรกที่ต้องรู้คือ

" System.out.println; "

ผมนี่เพลียเลยครับ คือว่า เวลาเขียนคำสั่ง แล้วรันผ่าน Dos ของ Windows มันก็แสดงผลผ่าน Dos สรุป จะให้เอาไปใช้ทำอะไร แค่สั่งปริ๊นแล้วแสดงผ่าน Dos นี่นะ !!!
ช่วงแรก ก็ตั้งแต่จะเขียนอย่างเดียวๆ เขียนแล้วเอามาทำอะไรไม่รุ

Class Hello
public static void main (String [] args){

System.out.println("Hello world");
System.out.println("สวัสดีชาวโลก");

}

ผ่างงงงงงงงงงงง !!!! จบด้วยความงงงวย

จึงได้ทำการศึกษาเล่นๆมาเรื่อย นั่นแหล่ะ ด้วยวลีเด็ดที่ว่า 

ภาษาจาวา เป็นภาษาสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุ

(เอาอีกล่ะ อะไรอีก) เนื่องจากเป็นภาษาสำหรับเชิงวัตถุ ต้องสร้าง Class ที่เป็นแม่แบบ เมื่อยามใช้งานจะต้องประกาศชื่อ Class แล้ว สร้าง Constructor ขึ้นมาเพื่อสืบทอดแม่แบบ งงไหมครับ ตอบเลยว่า "งง"
ท้ายสุดก็ต้องไปหาข้อมูลที่เกี่ยวกับ OOP (Object Oreinted Programming) มาอ่าน ก็ยัง งง อยู่เหมือนเดิม แล้วก็ไม่หลุดพ้นจากโปรแกรมคำสั่ง สวัสดีชาวโลก

Class Hello
public static void main (String [] args){

System.out.println("Hello world");
System.out.println("สวัสดีชาวโลก");

}

เอาล่ะ ตอนแรกกะจะเขียนเป็นบทความ กลายเป็นบ่นๆให้ฟังซะงั้น งั้นบ่นต่อสักหน่อย 
มาถึงขั้นเกี่ยวกับการใช้ Operation หนังสือทุกเล่มจะต้องเขียน เกี่ยวกับเรื่องนี้ ไม่งั้นไม่จบหลักสุตร
เรื่องของโอเปอเรชัน หรือการกระทำ การบวก การลบ การคูณ การหาร และการคำนวนอื่นๆ อย่างเช่น

Class Operation
public static void main(String [] args){
int number1=1;
int number2=1;
int total1;
int total2;
int total3;
int total4;
total1 = number1+number2;
total2 = number1-number2;
total3 = number1*number2;
total4 = number1/number2;


System.out.println("แสดงผลบวก"+total1);
System.out.println("แสดงผลลบ"+total2);
System.out.println("แสดงผลคูณ"+total3);
System.out.println("แสดงผลหาร"+total4);

}

Run !!!! ผ่างงงงงงงงงง

(ใช้เครื่องคิดเลขเอาง่ายกว่าไหม ถ้าจะพิมพ์มาเป็นข้อความแบบนี้)

ก็ศึกษามาเรื่อยๆจนตอนนี้ผมก็ยังไม่มีโปรแกรมที่เป็นของตัวเองอย่างเป็นชิ้นเป็นอันสักโปรแกรม วันนี้ขอบ่นเพียงเท่านี้ครับ บทความหน้าผมจะมาพาหัดเขียนโปรแกรมจาวา ด้วยการใช้ Netbeans กัน ตอนนี้ผมสายไปทำงานแล้วครับ สวัสดีครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...