ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ติดตั้ง Windows ลง HDD แบบ GPT ยังไงดี บทความนี้มีคำตอบ

ติดตั้ง Windows ลง HDD แบบ GPT ยังไง




หลายคนผมเชื่อว่าคงจะเจอปัญหาดังรูปด้านบนมาเช่นเดียวกัน เวลาที่ Boot windows จนมาถึงหน้านี้แล้วเมื่อทำการ Format Harddisk แล้วครั้นจะกดปุ่ม Next ดันกดไม่ได้ซะงั้น เอาละซิ งานเข้า Format ไปเรียบร้อยแล้วด้วย เมื่อเป็นดังนั้นแล้ว ผมเองก็ไม่ค่อยทราบว่า Disk แบบ GPT นั้นคืออะไร มันคงจะเป็น Boot Loader สมัยใหม่ ที่คนรุ่นเก่าๆไม่ค่อยเข้าใจสักเท่าไหร่ เอาเหอะ รู้ว่าลงไม่ได้มาหาวิธีทำให้ลง Windows ได้กัน



ก่อนอื่นต้องเตือนกันไว้ก่อนครับว่า ก่อนทำการ "Convert GPT ไปเป็น MBR" นั้น ให้ทำการ Backup ข้อมูลทั้งหมดออกจากฮาร์ดดิสก์เสียก่อน เพราะมันจะลบข้อมูลทั้งหมดชนิดเกลี้ยงไม่มีเหลือและกู้ไม่ได้เสียด้วย

นั่นเนื่องจากเพราะ GPT เป็น GUID Partition Table ในรูปแบบใหม่ ซึ่งพัฒนาโดยบริษัท intel เพื่อข้ามขีดจำกัดของฮาร์ดแวร์ โดย GPT สามารถแบ่งพาร์ทิชันขนาดใหญ่ได้สูงถึง 128  พาร์ทิชัน (ไม่รู้จะแบ่งไปทำไมมากมายในระดับคอมพิวเตอร์ใช้งานที่บ้าน) และสามารถแบ่งความจุได้มากเกิน 2.2TB ในขณะที่ MBR (Master boot record) จะสามารถแบ่งพาร์ทิชันสูงสุดได้เพียง 2.2 TB เท่านั้น (อย่างเก่งสุดผมก็แบ่งแค่ 200GB สำหรับลง Windows ก็เพียงพอแล้ว)

อ่ะ งั้นก็ว่ากันไปตามคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่าครับ สำหรับการแปลงพาร์ทิชัน หรือการ Convert Partition GPT ไปเป็น MBR ในรูปแรกเลย
1. ในรูปด้านบน ให้กดปุ่ม Shift+F10 เพื่อเรียกหน้าจอ Command promt


2. เมื่อเปิด Command Promt ขึ้นมาแล้ว ให้ใส่คำสั่ง diskpart

3. เลือก disk ด้วยคำสั่ง select disk 0

4. ข้อความที่ปรากฏว่า disk 0 is now the select disk นั่นหมายความว่าได้เลือก Disk ที่ต้องการจะ Convert แล้ว ต่อไปใส่คำสั่ง clean

5. ทำการ Convert disk ด้วยคำสั่ง convert mbr

เท่านี้ก็เรียบร้อย ใส่คำสั่ง Exit แล้วทำการ reboot แล้วลง windows ตามปกติ


จบแล้วครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...