ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ความร้อน ภัยมหันต์สำหรับคอมพิวเตอร์พัง

บ่นเรื่องอากาศร้อนซึ่งเป็นที่มาของคอลัมน์ไอทีต้องระวัง ความร้อนนั้นเป็นภัยมหันต์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์โดนลดอายุการใช้งาน เป็นที่ทราบกันดีมานานแล้วว่า ความร้อนส่งผลต่ออายุการใช้งานของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า (รวมถึงสุขภาพกายและสุขภาพใจของลุงด้วย) แต่เพราะคอมพิวเตอร์ไม่ใช่คนก็เลยบ่นให้เราฟังว่าร้อนไม่ได้ แต่ก็ใช่ว่าหลานๆ จะไม่สามารถทราบได้ว่าตอนนี้น่ะคอมพ์มันร้อนเกินไปแล้ว
อาการที่บอกให้รู้ว่าตอนนี้คอมพิวเตอร์นั้นร้อนเกินไปแล้ว ได้แก่การที่อยู่ๆ เครื่องก็แฮงก์แบบนิ่งสนิททำอะไรก็ไม่ขยับ บางครั้งก็อาจได้ยินเสียงพัดลมดังผิดปกติ คอมพิวเตอร์ส่วนมากจะมีพัดลมสองตัว - ตัวหนึ่งสำหรับระบายความร้อนให้เพาเวอร์ซัพพลายและอีกตัวหนึ่งสำหรับระบายความร้อนให้กับโพรเซสเซอร์ พัดลมเหล่านี้จะเป็นส่วนประกอบแรกๆ ของคอมพิวเตอร์ที่จะทำงานผิดพลาดเมื่อเครื่องร้อน ยิ่งถ้าพัดลมตัวใดตัวหนึ่งเสียก็อาจทำให้เกิดอาการจอฟ้า (มหาภัย) อย่างที่คอมพิวเตอร์.ทูเดย์เคยนำเสนอไปแล้ว

คอมพิวเตอร์นั้นไวต่ออุณหภูมิห้องมาก หากอุณหภูมิภายในอยู่ที่ 85 องศา (ฟาเรนไฮต์) อุณหภูมิภายในเคสฮาร์ดไดรฟ์ของคอมพิวเตอร์ก็น่าจะอยู่ที่ราวๆ 110 องศา ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้เก็บเครื่องไว้ในอุณหภูมิห้องที่สูงที่สุดประมาณ 75 ถึง 85 องศาเพื่อหลีกเลี่ยงการทำงานล้มเหลวที่จะเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ (และเป็นไปได้ที่จะเกิดความเสียหายอย่างถาวร)

หากคอมพิวเตอร์ร้อนเกินไป และคอมพิวเตอร์ก็เพิ่งซื้อมาได้ไม่นานนัก (แต่ถ้าซื้อมานานก็คงเป็นธรรมดาของโลกที่ต้องเสื่อมไปตามกาลเวลา) มีเคล็ดลับเง่ายๆ ในการช่วยแก้ปัญหา ดังนี้คือ จัดวางตำแหน่งของคอมพิวเตอร์ตัวเก่งในที่ระบายอากาศที่ดีขึ้น ซึ่งก็ไม่จำเป็นว่าต้องเปิดแอร์ให้เย็นเวอร์แล้วทนนั่งใส่เสื้อหนาว แต่ให้เน้นวางในจุดที่มีการระบายอากาศที่ดี

จำกันง่ายๆ เลยก็คือควรจัดวางคอมพิวเตอร์ให้ห่างจากกำแพงสัก 2-3 นิ้ว อย่าวางคอมพิวเตอร์ไว้กับพื้นโดยตรง แต่ก็ไม่ควรวางลงไปบนพื้นหรือบนพรมโดยตรงแนะนำให้ ซื้อแท่นวางคอมพิวเตอร์ที่ยกเครื่องขึ้นเหนือพื้นสัก 2-3นิ้ว เพื่อลดการสะสมของฝุ่น ตรวจดูให้แน่ใจว่าแท่นวางนั้นไม่ได้ขวางพัดลมระบายอากาศ

ในส่วนภายในเครื่องหากเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะก็ควรจัดสายที่ระโยงระยางภายในให้เรียบร้อย เพื่อให้การระบายอากาศภายในดีขึ้น หลังจากที่จัดการกับเรื่องทางกายภาพไปแล้ว เราก็ยังสามารถอัพเดตไบออส ว่ากันว่าการใช้ไบออสที่อัพเดตขึ้นจะช่วยให้การทำงานของซีพียูทำได้ดีขึ้นอีกด้วย แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นก็ควรให้คนที่เชี่ยวชาญ เขาทำให้เราจะดีกว่า ง่ายๆ เพียงเท่านี้ เราก็จะสามารถยืดอายุการใช้งานให้กับคอมพิวเตอร์ให้ได้นานๆแล้วครับ

ที่มา : http://www.arip.co.th/articles.php?id=407331

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช