ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ติดตั้ง Wordpress.org บน ubuntu 10.xx, 11.xx อย่างง่าย

Wordpress.org เป็น CMS อีกตัวนึงที่ใช้งานง่ายและเป็นที่นิยม ซึ่ง wordpress จะมี 2 แบบใหญ่ๆ คือ Wordpress.com เหมือนกับ blogger เพียงแค่ลงทะเบียนก็สามารถมี blog ได้ทันที แต่การใช้งานยังไม่ยืดหยุ่นสำหรับผู้ใช้ และอีกประเภทคือ Wordpress.org ประเภทนี้สามารถดาวน์โหลดมาติดตั้งในเครื่องตนเองได้ และยังมีความยืดหยุ่นในการใช้งานอีกด้วย เช่น การใช้ wordpress กับ script ต่างๆ และ plugin อีกหลากหลายที่เราจะเรียกใช้งาน ดังนั้นในบทความนี้ จะกล่าวถึงการติดตั้ง Wordpress.org
1. ก่อนทำการติดตั้ง ในเครื่องต้องมี mysql server ก่อน หากเป็น ubuntu server ที่ทำการติดตั้ง LAMP แล้วผ่านข้อนี้ได้เลย

2. หากเครื่องยังไม่มี mysql server ให้ทำการติดตั้ง โดยการเปิด Terminal หรือ ssh เข้าไปแล้วใช้คำสั่ง sudo apt-get install mysql-server mysql-client libmysqlclient15-dev
ในช่วงท้ายจะมีการให้ใส่ password mysql ให้จำ password ที่ใส่ลงไปให้ดีๆครับ

3. login เข้าฐานข้อมูลและสร้างตารางด้วยคำสั่ง
mysql -u root -p
จากนั้นใส่ Password แล้วสร้างตาราง
CREATE DATABASE wordpress;
ออกจากฐานข้อมูลด้วยคำสั่ง quit

4. ทำการดาวน์โหลด wordpress.org ที่เว็บ http://wordpress.org/ และทำการแตกไฟล์ จะได้โฟลเดอร์ wordpress ออกมา


5. นำโฟลเดอร์ wordpress ที่ได้น้่น ไปไว้ที่ /var/www/ ด้วยคำสั่ง cp หรือ mv ก็ได้แล้วแต่ถนัด ตัวอย่าง sudo mv /home/user/Downloads/wordpress /var/www/wordpress และจัดการเปลี่ยนสิทธิ sudo chown www-data:www-data /var/www/wordpress -R


6. แก้ไขไฟล์ wp-config-sample.php ที่ sudo vi /var/www/wordpress/wp-config-sample.php (ใช้ editor ตามที่ท่านถนัด) ดังรูป

7.ให้เปลี่ยนชื่อจาก wp-config-sample.php เป็น wp-config.php ด้วยคำสั่ง
sudo mv /var/www/wordpress/wp-config-sample.php /var/www/wordpress/wp-config.php


8. เปิด Browser ขึ้นมาแล้วทำการติดตั้งดังนี้
http://ipserver or host/wp-admin/install.php


9. ใส่ชื่อ Blog และ Email ให้เรียบร้อย และคลิ๊กเครื่องหมายถูกที่ช่องรายการ Allow my blog to ap-pear in search engines like Google and Technorati. เพื่อให้ Google และ Technorati เห็น blog ของคุณ


10. คลิ๊กปุ่ม Install Wordpress แล้วรอสักพักเป็นอันเสร็จสิ้นครับ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช