ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ภาพถ่ายการตั้งค่า speed shutter และค่ารูรับแสงในการถ่ายภาพ

คงจะมีหลายคนที่อยากจะถ่ายรูปให้เป็น แต่ไม่รู้จะปรับตั้งค่ากล้องยังไง มีภาพตัวอย่างการตั้งค่ากล้องเวลาถ่ายภาพมาให้ดูครับ

จากภาพด้านบนจะเห็นได้ว่า การปรับตั้งค่าต่างๆตามกล้อง ผมจะยกตัวอย่างครับ

 การปรับรูปรับแสง F1.4  เป็นการเปิดรูรับแสงที่กว้างที่สุด ซึ่งเวลาถ่ายภาพจะทำให้เกิดการชัดตื้นมากที่สุดเนื่องจากเป็นการเปิดรูรับแสงกว้างสุด (หน้าชัดหลังเบลอ) และการปรับแต่งค่ารูรับแสงไล่ๆมาด้านขวา เวลาถ่ายภาพจะเกิดการชัดลึกเป็นลำดับ จนถึง F32 เวลาถ่ายภาพจะทำให้เกิดชัดลึก ซึ่งก็คือภาพชัดหมดทั้งภาพไม่มีส่วนเบลอ

การปรับสปีดซัตเตอร์ เป็นการปรับความเร็วของซัตเตอร์ อธิบายตามภาพได้ดังนี้ ความเร็วที่ 1/1000 วินาที จะเวลาถ่ายภาพ ภาพจะนิ่งหยุดอยู่กับที่ ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่นเวลาเราถ่ายภาพน้ำตก หากเราใช้ความเร็วสปีดซัตเตอร์สูง 1/1000 วินาที สายน้ำที่ไหลก็จะหยุด ไม่มีการเคลื่อนไหว แต่หากเราใช้ความเร็ว 1/2 วินาที ภาพที่ถ่ายออกมาจะทำให้น้ำไหลเหมือนมีชีวิตชีวา นั่นเอง ให้สังเกตการปรับความเร็วซัตเตอร์ ถ้าตัวเลข 0 - 8000 จะแสดง 0 - 1/8000 วินาที จะเป็นซัตเตอร์เร็ว แต่ถ้า 0 - 30" จะเป็นซัตเตอร์ช้า (1" = 1 วินาที, 2" =  2 วินาที ประมาณนี้ครับ)



การปรับความไวแสง ตามภาพครับ ปรับน้อย ภาพคมชัด ไม่มี Noise และปรับมาก ภาพจะมี Noise 

แต่ในการถ่ายภาพจริงๆนั้น ความไวแสง ความเร็วสปีดซัตเตอร์ และรูรับแสงควรจะสัมพันธ์กัน และตอบโจทย์ที่เราต้องการครับ เช่น
อยากได้การถ่ายภาพน้ำตกในช่วงเวลากลางวัน กลางแจ้ง โดยให้น้ำไหล น้ำตกกลางแจ้งจะมีแสงสะท้อนมาก ดังนั้นควรปรับรูรับแสงให้แคบที่สุด (F32 กล้องบางรุ่นอาจจะไม่ถึง ขึ้นอยู่กับเลนส์ที่ใช้) ปรับความไวแสง (ISO) ให้น้อยที่สุด (เนื่องจากแสงสะท้อนจากน้ำมันมีมาก) และปรับสปีดซัตเตอร์ให้ช้าๆ 1/2 จะได้ภาพน้ำตกที่กำลังไหลอย่างมีชีวิตชีวาครับ หากภาพสว่างเกินไปหรือมืดเกินไป ก็ลองปรับความเร็วซัตเตอร์ขึ้นหรือลงดูครับ ประมาณนี้แหล่ะ (มันย๊าวยาว)

ที่มา : https://twitter.com/gulfuroth/status/566560544027459584https://twitter.com/gulfuroth/status/566560544027459584

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...