ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การใช้งาน Microsoft Teams เพื่อการเรียนการสอนออนไลน์ ตอนที่ 3 การเพิ่มสมาชิกเพื่อเข้าเรียนและการตั้งค่าทีม

การใช้งาน Microsoft Teams เพื่อการเรียนการสอนออนไลน์ ตอนที่ 3 การเพิ่มสมาชิกเพื่อเข้าเรียนและการตั้งค่าทีม

จากที่กล่าวการติดตั้ง Microsoft Teams และ การใช้งาน Microsoft Teams เพื่อการเรียนการสอนออนไลน์ ตอนที่ 1 การสร้างทีม และ การใช้งาน Microsoft Teams เพื่อการเรียนการสอนออนไลน์ ตอนที่ 2 การเตรียมไฟล์เพื่อการสอนไปแล้ว ในตอนนี้ 3 นี้จะเป็นการเพิ่มสมาชิกเพื่อเข้าห้องเรียน ซึ่งสมาชิกที่จะเข้าห้องเรียนได้ ต้องมีอีเมลที่เป็นของ Microsoft เท่านั้น เช่น

@Hotmai@Live@OUTLOOK


เท่านั้นเพราะทั้งสามอีเมลนี้เป็นของค่ายไมโครซอฟต์ทั้งสิ้น และถ้าใข้ Gmail, Yahoo, Apple, Facebook ฯลฯ แม้จะเทียบเชิญเข้าร่วมทีมหรือห้องได้ แต่ก็ไม่สามารถเข้าใช้งานโปรแกรมหรือแอฟได้ ดังนั้น หากไม่มีอีเมลของไมโครซอฟต์นั้น สามารถสมัครใช้งานได้ฟรี ได้ที่ลิงค์ด้านล่าง

www.hotmail.com

www.outlook.com

www.live.com


ในการเพิ่มสมาชิก เพื่อเข้าร่วมทีมนั้น ผู้ที่ทำการสร้างทีมจะต้องเป็นคนเทียบเชิญสมาชิกด้วยตนเอง เช่น ในรายวิชา การใช้งาน MS Teams มีผู้ลงทะเบียนเข้าเรียนจำนวน 40 คน ก็ต้องเทียบเชิญสมาชิกจำนวนทั้งหมด 40 คนเสียก่อน โดยการลงทะเบียนจะต้องมีการให้กรอกอีเมล และเป็นของไมโครซอฟต์เท่านั้น หากมีการลงทะเบียนเรียบร้อยแล้วแต่เรายังไม่ทราบอีเมลของผู้เข้าเรียน ควรหาช่องทางในการติดต่อเพื่อขออีเมล ซึ่งอาจจะใช้ช่องทางอื่น เช่น Line, Facebook หรือโทรศัพท์ หรืองานวิชาการศึกษา หรือเลขาห้องประชุมก็ได้

การเพิ่มสมาชิกและการตั้งค่าทีม

1. ในหน้าจอของ ผู้สร้างทีม ให้เข้าที่เมนู ทีม เลือกทีมที่ต้องการเพิ่มสมาชิก แล้วกดปุ่ม จุดกลมๆ 3 จุด ในภาพด้านล่าง แล้วเลือก จัดการทีม ( กรอบสีแดง ) ถ้าหากเราไม่ต้องการที่จะแก้ไขทีม เราสามารถเพิ่มสมาชิกเลยก็ทำได้ (ในกรอบสีเขียว )



2. ทำการเพิ่มสมาชิก โดยการกดที่ปุ่มสีม่วง (ในกรอบสีแดง )


3. เมื่อพิมพ์รายการเข้าไป ระบบจะทำการค้นหาและโชว์ชื่อให้เราดูแบบเรียลไทม์ ตรวจสอบให้ถูกต้อง เอาเมาส์คลิ๊กที่ชื่อ แล้วกดปุ่ม เพิ่ม เข้าไป ทำเรื่อยๆจำครบจำนวนผู้เข้าร่วมที่ต้องการแล้วจึงกดปุ่ม ปิด




4. กลับมาที่หน้าจอ ผู้สร้างทีม จะเห็นว่า รายชื่อผู้เข้าร่วมทีมเข้ามาอยู่ในทีมเรียบร้อยแล้ว เราสามารถลบผู้เข้าร่วมทีมออกได้โดยการกดที่ปุ่มกากบาทด้านขวามือที่รายชื่อผู้ร่วมทีมนั้นๆ


5. ในส่วนของการตั้งค่าทีมนั้น จะไม่มีการตั้งค่าอะไรมาก เนื่องจากจะไม่ค่อยมีการกระทำในส่วนนี้ เว้นแต่การสร้างกุญแจเพื่ออนุญาตให้สมาชิกคนอื่นเข้าร่วมบทเรียน การอนุญาตให้ส่งอีโมชัน เท่านั้น มาดูส่วนของการตั้งค่าสักเล็กน้อย

เมื่อเข้าไปในการตั้งค่าของทีมแล้ว เราจะได้พบกับรายการต่างๆให้ทำการตั้งค่าดังรูปด้านล่าง คือ
- ธีม ของทีม คือการเปลี่ยนหน้าตาของแอฟที่ใช้งาน
- สิทธิ์ของสมาชิก สามารถกำหนดให้สมาชิกมีบทบาทต่างๆได้ ซึ่งค่าเริ่มต้นคือ ให้สมาชิกมีตัวเลือกในการลบข้อความของตนเอง และให้สมาชิกมีตัวเลือกในการแก้ไขข้อความของตนเอง ผู้ดูแลทีมสามารถที่จะกำหนดนอกเหนือในตัวเลือกได้
- สิทธื์ของผู้เยี่ยมชม ข้อนี้ปล่อยผ่านได้เลย
- @การอ้างถึง คือ การใช้ @ แล้วตามด้วยชื่อสมาชิก ใช้ในการอ้างถึงสมาชิกคนนั้นได้
- รหัสทีม เป็นการสร้างกุญแจขอเข้าร่วมทีม จะอธิบายในบทความถัดไป
- ความสนุกสนาน คือ อนุญาตให้ใช้อีโมจิหรือสติกเกอร์
- สมุดบันทึกสำหรับชั้นเรียนของ OneNote ปล่อยผ่าน
- แท็ก ปล่อยผ่าน


6. ในส่วนหน้าจอของ ผู้เข้าร่วมทีมหรือนักเรียน เมื่อยังไม่ได้ถูกเชิญเข้าร่วมทีมหรือเข้าเป็นสมาชิก หน้าจอของทีมจะไม่มีอะไรให้แสดง


เราจะได้เห็นรายชื่อทีม และบทเรียนเมื่อได้รับเทียบเชิญเรียบร้อยแล้ว
จากในรูปหน้าจอของ ผู้เข้าร่วมทีมหรือนักเรียน ด้านล่างนี้ เมื่อถูกเพิ่มเข้ามาแล้ว เราจะเห็นบทเรียนเพียงแค่บทเดียว คือ การสร้างใช้งาน MS Teams ตอนที่ 3 เพียงตอนเดียว


นั่นก็เพราะผู้สร้างทีมได้สร้าง การสร้างใช้งาน MS Teams ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 เป็นแบบกำหนดบุคคลเฉพาะกลุ่ม ซึ่งมีรูปกุญแจล็อก ดังรูปด้านล่าง
จึงทำให้ผู้เข้าร่วมทีมใหม่ ไม่มีสิทธิ์ในการเข้าเรียน การสร้างใช้งาน MS Teams ตอนที่ 1 และ ตอนที่ 2 ได้ หากจะขอทำการเข้า ผู้สร้างทีม ต้องเพิ่มสมาชิกเข้าไปในกลุ่มอีกครั้งเท่านั้น

ในหน้าจอของ ผู้สร้างทีม ให้เข้าที่เมนู หัวข้อหรือบทเรียน เแล้วกดปุ่ม จุดกลมๆ 3 จุด เลือกเพิ่มสมาชิก

ในรูปหน้าจอของ ผู้เข้าร่วมทีมหรือนักเรียน ด้านล่างนี้ จะแสดงชื่อกลุ่มเพิ่มขึ้นมาอีก 1 กลุ่มคือ การสร้างใช้งาน MS Teams ตอนที่ 1 นั้นคือผู้ขอเข้าร่วมทีมหรือกลุ่มได้เข้าเรียนเรียบร้อยแล้ว





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช