ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การใช้งาน Microsoft Teams เพื่อการเรียนการสอนออนไลน์ ตอนที่ 2 การเตรียมไฟล์เพื่อการสอน

การใช้งาน Microsoft Teams เพื่อการเรียนการสอนออนไลน์ ตอนที่ 2 การเตรียมไฟล์เพื่อการสอน

การใช้งาน Microsoft Teams เพื่อการเรียนการสอนออนไลน์ ตอนที่ 2 การเตรียมไฟล์เพื่อการสอนหรือนำเสนอ ในการที่จะใช้ App Microsoft Teams ในการเรียนการสอนแบบออนไลน์ หรือการประชุมแบบออนไลน์ ก็ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงการเตรียมข้อมูลเพื่อใช้ในการสอน หรือนำเสนอในที่ประชุมได้  และการเตรียมไฟล์เพื่อการสอนหรือการนำเสนอในที่ประชุมนั้น Microsoft Teams ได้จัดเตรียมเครื่องมือไว้ให้เราหลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการใช้โปรแกรม Microsoft word, Microsoft Excel, Microsoft Power point และผลิตภัณฑ์อื่นๆของ Microsoft แบบออนไลน์ โดยการใช้งานแบบเรียลไทม์ หรือเราสามารถที่จะอัพไฟล์การสอนหรือการนำเสนอจากเครื่องของเราได้

จากตัวอย่างภาพด้านล่าง จะเป็นบทความต่อเนื่องจาก การใช้งาน Microsoft Teams เพื่อการเรียนการสอนออนไลน์ ตอนที่ 1 การสร้างทีม โดยได้ทำการสร้างทีมไว้แล้ว 2 ทีม บทความนี้จะสร้างขึ้นมาอีก 1 ทีมที่เป็นแบบสาธารณะ สามารถเข้าชมได้(เฉพาะที่อยู่ในทีมเท่านั้น)

จากรูปด้านล่าง ในกรอบสีแดงด้านซ้ายมือ จะแสดงรายชื่อบทเรียน (ซึ่งกล่าวไว้ในตอนที่ 1 การใช้งาน Microsoft Teams เพื่อการเรียนการสอนออนไลน์ ตอนที่ 1 การสร้างทีม ) โดยห้องนี้ชื่อวิชาว่า การใช้งาน MS Teams และประกอบไปด้วยบทเรียนที่ตอนที่ 1 ตอนที่ 2 และ ตอนที่ 3 จากรูปจะเห็นว่า ตอนที่ 1 และตอนที่ 2 มีรูปกุญแจล็อกไว้ นั้นหมายถึงการจำกัดผู้เข้าชมหรือผู้เข้าเรียนเฉพาะกลุ่มเท่านั้น และตอนที่ 3 ไม่มีรูปกุญแจ จะสามารถเข้าเรียนได้ทุกคนที่อยู่ในทีม หรืออยู่ในรายวิชานี้ ทั้งนี้

คำเตือน ในการสร้างแซนเนลจะไม่สามารถแก้ไขได้ในภายหลัง จะต้องทำการสร้างแซนเนลใหม่เท่านั้น

ในแต่ละแซนเนลนั้น จะสามารถสร้างไฟล์ได้ หรืออัพโหลดไฟล์ที่เห็นได้ในเฉพาะแซนเนลนั้นๆ 


เช่น การสร้างไฟล์เอกสารเวิร์ดในหน้าทั่วไป ดังรูปด้านล่าง จะมองเห็นไฟล์ได้เฉพาะหน้าหลัก หรือหน้าทั่วไปเท่านั้น หากเข้าไปในแซนเนล จะไม่สามารถเห็นไฟล์เอกสารเวิร์ดในหน้าทั่วไปได้


ย้ำ ในแต่ละแซนเนลนั้น จะสามารถสร้างไฟล์ได้ หรืออัพโหลดไฟล์ที่เห็นได้ในเฉพาะแซนเนลนั้นๆ หรือบทเรียนนั้นๆ

การสร้างไฟล์เพื่อเตรียมการสอนหรือการนำเสนอ

จากภาพด้านล่าง เป็นการสร้างไฟล์ในแซนเนล 1 หรือบทเรียนตอนที่ 1 โดยมีเมนูต่างๆในกรอบสีแดงด้านบน ซึ่ง Microsoft Teams ได้จัดเตรียมเครื่องมือต่างๆไว้ให้งานมากมาย


1.  การสร้างไฟล์แบบเรียลไทม์ หรือเรียกง่ายๆว่าการแสดงสด เราสามารถสร้างไฟล์ในขณะที่เรากำลังสอนหรือนำเสนอเลยก็ได้ ไฟล์จะแสดงผลแบบเรียลไทม์ เปลี่ยนแปลงตามการแก้ไข โดยจะมีให้เลือกสร้างคือ เอกสาร Word, เวิร์กบุ๊ค Excel, งานนำเสนอ Power Point และสมุดบันทึก OneNote


การสร้างไฟล์ใน Microsoft Teams เมื่อสร้างแบบเรียลไทม์ ระบบจะทำการบันทึกให้อัตโนมัติ ดังนั้น เมื่อสร้างไฟล์เสร็จ ให้ลืมปุ่ม Save ไปได้เลย ทำการคลิ๊ก Back เพื่อกลับสู่หน้าจอหลักได้เลยครับ



2.  การอัพโหลดเอกสาร กรณีที่เรามีการเตรียมไฟล์ในการนำเสนอไว้เรียบร้อยแล้ว สามารถอัพโหลดไฟล์บทเรียนเข้าสู่ห้องได้เลย



3.  การซิงค์ เป็นการเก็บข้อมูลที่สร้างไว้ใน Microsoft Teams ไปเก็บไว้ใน One Drive  หากใครติดตั้ง One Drive ไว้ในเครื่องและกำลังใช้งานอยู่ เมื่อสร้างไฟล์แล้วจะถูกนำไปเก็บไว้ใน One Drive ครับ


4. เป็นการคัดลอกลิงค์ไฟล์ไว้ให้เฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มหรือแซนเนลหรือบทเรียนนั้นๆ ดาวน์โหลดไฟล์


5. เป็นการดาวน์โหลดไฟล์ไว้ให้เฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มหรือแซนเนลหรือบทเรียนนั้นๆ


6. เพิ่มพื้นที่จัดเก็บข้อมูลแบบคราวด์ เราสามารถเพิ่ม Google Drive เข้ามาใช้งานใน MS Teams ได้ครับ จากที่ได้ทดลองแล้ว การเพิ่มพื่นที่แบบคราวด์ด้วย Google Drive ไม่สามารถเปิดไฟล์ได้ ใช้ของ One Drive จะดีกว่าครับ


สรุปในการสร้างไฟล์นั้น จะสร้างได้ที่แซนเนลนั้นๆ หรือบทเรียน หรือตอนนั้นๆ เมื่อสร้างแล้ว แซนเนลอื่นจะไม่สามารถเข้ามาดูไฟล์ได้ ดังนั้น ควรเตรียมการสอนหรือการนำเสนอเฉพาะแซนเนลนั้นๆ จะดีที่สุดครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...