ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เริ่มต้นเรียนรู้การเขียนโปรแกรมด้วย Node.js ตอนที่ 4 แนะนำเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมด้วย Visual Studio Code

 เริ่มต้นเรียนรู้การเขียนโปรแกรมด้วย Node.js  ตอนที่ 4 แนะนำเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมด้วย Visual Studio Code

การที่จะพัฒนาโปรแกรมด้วย Node.js นั้น มี Editor หลายค่ายที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรม โดยหนึ่งในนั้นผมอยากจะแนะนำให้ใช้งานคือ Visual Studio Code หรือ VS Code ซึ่งเป็นโปรแกรม Code Editor ที่พัฒนาโดย Microsoft ออกมาในรูปแบบ OpenSource ใช้งานได้ฟรี โดย VS Code นี้จะรองรับทั้ง Windows และ Mac OS และ Linux สนับสนุนภาษา JavaScript,  NodeJS, สามารถเชื่อมกับ Git ได้ ใช้งานได้ง่ายมาก และมี terminal หรือ command dos ในตัว ซึ่งเหมาะสมที่จะใช้กับบทความนี้มากครับ



การติดตั้งโปรแกรม Visual Studio Code

สามารถ Download โปรแกรมได้ที่ https://code.visualstudio.com/ เมื่อเข้าไปแล้วให้กดที่ปุ่ม Download และทำการติดตั้ง และในการติดตั้งโปรแกรม Visual Studio Code ก็ไม่มีอะไรซับซ้อนครับ กดปุ่ม Next ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเสร็จสิ้น หลังจากนั้น เปิดโปรแกรม Visual Studio Code มาเพื่อใช้งานสำหรับการพัฒนาโปรแกรมด้วย Node.js ได้เลยครับ

แนะนำ Extension หรือส่วนประกอบที่เราจะนำมาพัฒนาโปรแกรมด้วย Node.js กัน

เราสามารถกดที่ปุ่มด้านซ้ายล่างสุดแล้วค้นหา Extension ที่ต้องการได้เลยครับ



1. Prettier-Code formatter เป็น Extension สำหรับจัดเรียงโค๊ดให้สวยงาม เพื่อช่วยลดความสับสนในเวลาที่เราพัฒนาโปรแกรม สามารถไล่ error ได้ง่าย


2. Atom Keymap เป็น Extension สำหรับ Shortcut Keyboard หรือ คีย์ลัด ที่นิยมสำหรับ VS Code ครับ หากใครเคยใช้ Editor Atom มาก่อน สามารถใช้คำสั่งเดียวกันได้เลย

ลองใช้งาน Visual Studio Code อย่างง่ายด้วย Hello World

1. สร้างโฟลเดอร์เปล่าในเครื่องคอมพิวเตอร์ จากตัวอย่างในรูปผมสร้างโฟลเดอร์เปล่าไว้ที่หน้า Desktop จากนั้นเปิด Visual Studio Code แล้วลากโฟลเดอร์ที่สร้างไปที่ช่องด้านซ้าย จากนั้นจะมีไดอะล็อกบ็อกขึ้นมาแจ้ง Add Folder to Workspece ดังรูป



2. จากนั้นสร้างไฟล์แล้วตั้งชื่อ Hello.js


3. พิมพ์คำสั่งแสดงผล Hello World ออกจอด้วยคำสั่ง console.log ("Hello World"); แล้วกด save







4. Run คำสั่งด้วยการเปิด Terminal ขึ้นมา จะมีปุ่ม Terminal ด้านบน


แล้วพิมพ์คำสั่ง node Hello.js ใน Terminal ด้านล่าง ก็จะแสดงผล Hello World ออกมา


สรุป การเลือกใช้ Editor ในการพัฒนาโปรแกรมด้วย Node.js มีหลายค่าย และค่ายที่กำลังแนะนำอยู่นี้คือ Editor ของ Microsoft ที่ทำออกมาเป็น Open Source ถือว่าเป็นโปรแกรมนึงที่ใช้งานได้อย่างดีเลยทีเดียวครับ

ความคิดเห็น

Kamol Khampibool กล่าวว่า
บทความถัดไป แนะนำ Express เพื่อใช้งาน Node.js server ครับ
https://hellokamol.blogspot.com/2020/10/nodejs-5-express.html

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

การสร้าง URL สั้นๆ เพื่อส่งไฟล์ให้เพื่อน

การสร้าง URL สั้นๆ เพื่อส่งไฟล์ให้เพื่อน การที่จะส่งไฟล์ให้เพื่อน เช่น ไฟล์รูป ไฟล์วีดีโอ หรือโปรแกรมอื่นๆ เวลาที่เราก็อปปี้ลิงค์จาก Google Drive นั้น มักจะเป็นลิงค์ที่ยาว หากเราทำการส่งลิงค์ใน Line เพื่อเปิดใน PC แล้วเพื่อนของคุณไม่ได้ติดตั้ง Line ใน PC ไว้ ต้องมานั่งพิมพ์ URL ยาวๆเอา ซึ่งไม่สะดวกสักเท่าไหร่นัก ดังนั้น เราควรทำลิงค์ให้สั้นๆ เพื่อให้เพื่อนของเราเปิดไฟล์ที่เราแชร์อย่างง่ายดาย ตัวอย่าง เช่น เราต้องการส่ง Link ของ ไฟล์ที่เราแชร์ใน Google drive 1. ให้เราวางข้อมูลที่เราต้องการแชร์  ใน Google ก่อน จากนั้นทำการแชร์ไฟล์ และเปลี่ยนสิทธิ์ในการแชร์ให้เรียบร้อย ดังภาพ 2. ให้เข้าเว็บ  https://www.shorturl.at/  แล้วทำการวางลิงค์ที่เราก็อปปี้มา แล้วกดปุ่ม Shorten URL ครับ จากนั้นก็ส่งลิงค์ให้เพื่อนได้เลยครับ

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...