ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2023

วิธีการลบ Windows 10 ออกจาก Boot Camp

 การลบ Windows 10 ที่ติดตั้งผ่าน Boot Camp บน Mac เป็นขั้นตอนที่ง่าย หากคุณมีความจำเป็นที่จะต้องทวงคืนพื้นที่เก็บข้อมูล และ Windows 10 อาจจะไม่มีความสำคัญกับคุณในช่วงเวลานั้น คำเตือน : ก่อนที่คุณจะลบ Windows 10 ที่ติดตั้งผ่าน Boot Camp ควรทำการสำรองข้อมูลออกจาก Windows 10 เสียก่อน หากคุณลบ Windows 10 ออกจาก Bootcamp แล้ว คุณจะไม่สามารถกู้คืนข้อมูลได้อีกต่อไป เปิด Boot Camp Assistant ขึ้นมา  "Applications" > "Utilities" > "Boot Camp Assistant" คลิก "Continue" ใน Boot Camp Assistant เลือก  "Remove Windows 10 or later version" และคลิก "Continue" ระบบแจ้งกู้คืนพื้นที่ให้กับ Mac คลิ๊ก "Restore" ดำเนินการลบ Windows 10 และกู้คืนพื้นที่ Disk ดำเนินการลบ Windows 10 และกู้คืนพื้นที่ Disk สำเร็จ หลังจากที่ทำขั้นตอนเหล่านี้เสร็จ Windows 10 จะถูกลบออกจาก Mac โดยสมบูรณ์และคอมพิวเตอร์จะใช้งานได้เฉพาะระบบ Mac เท่านั้น คุณควรทราบว่าการลบ Windows 10 นี้จะทำให้ข้อมูลทุกอย่างที่อยู่บน Partition Windows 10 ของคุณนั้นหายไป และไม...

UEFI คืออะไร ในทางคอมพิวเตอร์ใช้ทำอะไร

 UEFI (Unified Extensible Firmware Interface) UEFI เป็นระบบ BIOS คอมพิวเตอร์ที่พัฒนามาจากระบบดั้งเดิมที่ใช้คีย์บอร์ด ในการปรับตั้งค่า เพียงอย่างเดียว แต่ระบบ UEFI ได้พัฒนาให้รองรับการใช้เมาส์และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งานที่มากขึ้น ความสามารถของ UEFI UEFI เป็นระบบที่ใช้ Graphic User Interface (GUI) ซึ่งเป็นกราฟฟิกสามารถใช้เมาส์ในการปรับแต่งค่าได้แทนที่ระบบเดิมที่ใช้แต่คีย์บอร์ดในการปรับตั้งค่า เพิ่มระบบความปลอดภัยที่มากขึ้น เช่น การรับรองความถูกต้องด้วยรหัสผ่านและการเข้ารหัสดิสก์ที่ทำงานร่วมกับ Windows อย่างเช่น BitLocker รองรับอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ 64 บิท Guid Partition Table (GPT) ช่วยให้มีความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ Boot ได้อย่างรวดเร็ว การทำงานของ UEFI UEFI จะทำงานหลังจากเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะเริ่มต้นทำงานของซีพียู หน่วยความจำ และชิปเซ็ต จากนั้นจะโหลดไฟล์ EFI (Extensible Firmware Interface) ซึ่งเป็นไฟล์เก็บข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการบูตระบบ ไฟล์ EFI นี้อาจเป็นไฟล์เดี่ยวหรือไฟล์หลายไฟล์ก็ได้  หลังจากโหลดไฟล์ EFI แล้ว UEFI จะเรียกใช้บูตโหลดเดอร์ (boot load...

สร้าง Boot UEFI เพื่อติดตั้ง Windows 10 หรือ Windows 11

หากต้องการติดตั้ง Windows 10 หรือ Windows 11 ใหม่สามารถทำเองได้ หากมีไฟล์ติดตั้งสำหรับ Windows ที่เป็น .iso บทความนี้จะพามาสร้างตัวบูต UEFI เพื่อติดตั้ง Windows ในเมนบอร์ดที่รองรับแรม DDR3 เป็นต้นมา เพราะระบบ UEFI จะไม่มีในเมนบอร์ดรุ่นที่รองรับ DDR2 (จะมีก็เล็กน้อย) ที่ใช้ได้เฉพาะระบบบูตแบบ MBR เท่านั้น แต่เมนบอร์ดที่รองรับ DDR3 ส่วนใหญ่รองรับระบบบูต UEFI กันหมดแล้ว การสร้าง Boot UEFI เพื่อติดตั้ง Windows  10 หรือ Windows 11 ทำได้ดังนี้ อุปกรณ์ที่ต้องใช้ USB แฟลซไดร์ฟว่าง ที่สามารถลบข้อมูลได้ ขนาด 16 GB ขึ้นไป (หากมีแค่ 8 GB ก็ใช้ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดไฟล์ Windows ในแต่ละรุ่น) โปรแกรม Rufus สามารถดาวน์โหลดได้ที่ Rufus - Create bootable โดยเลือกโหลดในเวอร์ชันที่เป็น exe ซึ่งจะมีทั้งแบบติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์และแบบไม่ต้องติดตั้งในเครื่อง ( Portable ) ที่เป็นแบบเปิดขึ้นมาแล้วใช้งานได้เลย ถ้าหาก Rufus ที่ต้องใช้งานบนเครื่องที่ใช้ ARM ก็ต้องโหลดในเวอร์ชัน ARM (ส่วนใหญ่เครื่อง PC หรือ Notebook ในปัจจุบันไม่ค่อยมี CPU ARM ที่รัน Windows สักเท่าไหร่ มีก็เพียงแต่แท็ปเลต หรือ Microsoft...

Windows 10 ประกาศยุติการสนับสนุนการอัปเดตแล้ว

 Microsoft ได้ประกาศสิ้นสุดการสนับสนุนสำหรับรุ่น Windows 10  Microsoft ได้ประกาศสิ้นสุดการสนับสนุนสำหรับรุ่น Windows 10 ในวันที่ 10 ตุลาคม 2563 เรียบร้อยแล้ว สำหรับผู้ที่ใช้งาน Windows 10 ควรทำการอัปเกรดไปเป็น Windows 11 (หากเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณรองรับการอัปเกรด) สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่สามารถอัปเกรดไปเป็น Windows 11 ได้ ระบบปฏิบัติการนี้ยังรองรับการทำงานไปได้อีก 3 ปี ซึ่งจะสิ้นสุดในปี 2568 โดยที่ระบบ Windows 10 จะไม่ได้รับการอัปเดตใหม่ๆในด้านความปลอดภัยและความทันสมัย เวอร์ชัน เปิดตัว Windows 10 เวอร์ชันแรกคือ 1507 เปิดตัวเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2558 และเวอร์ชันสุดท้ายคือเวอร์ชัน 22H2  ระยะเวลาของ Windows 10 เป็นเวลาประมาณ 8 ปี (ถึงปี 2566) โดยประมาณ และรองรับไปถึงปี 2568 รวมเป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 10 ปี   ประวัติของการอัปเดต Windows 10 เวอร์ชัน วันที่เริ่มต้น วันที่สิ้นสุด version 22H2 18 ตุลาคม 2565 14 ตุลาคม 2568 version 21H2 16 พฤศจิกายน 2564 13 มิถุนายน 2566 version 21H1 18 พฤษภาคม 2564...

6 ข้อ สำหรับการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือที่เหมาะสมสำหรับตนเอง

 การเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการและงบประมาณที่คุณมี หากคุณไม่จำกัดงบประมาณคุณจะสามารถเลือกซื้อโทรศัพท์ที่ดีที่สุดได้ (แน่นอน ไม่มีอะไรที่ดีที่สุด หากมีการพัฒนาไม่หยุด) ดังนั้นหากต้องการอยากจะได้มือถือสักเครื่องที่เหมาะสมกับตนเองและสอดคล้องกับงบประมาณที่มี 5 ข้อนี้คือสิ่งที่ควรพิจารณา  6 ข้อ สำหรับการเลือกซื้อโทรศัพท์มือถือ กำหนดงบประมาณ ก่อนที่จะเริ่มค้นหาโทรศัพท์ตามที่ต้องการอย่างแรก คุณต้องกำหนดงบประมาณในการซื้อโทรศัพท์มือถือเสียก่อน เพราะเป็นสิ่งที่สำคัญและช่วยคำนวณสิ่งที่คุณต้องการและยังช่วยค้นหาโทรศัพท์มือถือในราคาที่เหมาะสม กำหนดความต้องการของตนเอง เมื่อทราบงบประมาณแล้ว คุณต้องการอะไรจากโทรศัพท์มือถือเครื่องนั้นที่มีนอกเหนือจากการใช้งานแอปพลิเคชันพื้นฐาน อย่างโทรออก, รับสาย, Line, Facebook และอื่นๆ เช่น หากคุณต้องการกล้องที่ดีสำหรับการถ่ายภาพลงโซเซียลมีเดีย หรือหากคุณต้องการประสิทธิภาพของเครื่องอย่างเช่น เล่นเกมส์ หรือการใช้งานหลายแอปให้ไหลลื่นไม่สะดุด คุณจะสามารถค้นหาโทรศัพท์ที่มีความสามารถนี้เพื่อให้สอดคล้องกับงบประมาณของคุณ แม้งบประมาณอาจจะเพิ่มขึ...

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...