ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

สร้าง Boot UEFI เพื่อติดตั้ง Windows 10 หรือ Windows 11

หากต้องการติดตั้ง Windows 10 หรือ Windows 11 ใหม่สามารถทำเองได้ หากมีไฟล์ติดตั้งสำหรับ Windows ที่เป็น .iso บทความนี้จะพามาสร้างตัวบูต UEFI เพื่อติดตั้ง Windows ในเมนบอร์ดที่รองรับแรม DDR3 เป็นต้นมา เพราะระบบ UEFI จะไม่มีในเมนบอร์ดรุ่นที่รองรับ DDR2 (จะมีก็เล็กน้อย) ที่ใช้ได้เฉพาะระบบบูตแบบ MBR เท่านั้น แต่เมนบอร์ดที่รองรับ DDR3 ส่วนใหญ่รองรับระบบบูต UEFI กันหมดแล้ว

การสร้าง Boot UEFI เพื่อติดตั้ง Windows  10 หรือ Windows 11 ทำได้ดังนี้

อุปกรณ์ที่ต้องใช้
  1. USB แฟลซไดร์ฟว่าง ที่สามารถลบข้อมูลได้ ขนาด 16 GB ขึ้นไป (หากมีแค่ 8 GB ก็ใช้ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดไฟล์ Windows ในแต่ละรุ่น)
  2. โปรแกรม Rufus สามารถดาวน์โหลดได้ที่ Rufus - Create bootable โดยเลือกโหลดในเวอร์ชันที่เป็น exe ซึ่งจะมีทั้งแบบติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์และแบบไม่ต้องติดตั้งในเครื่อง ( Portable ) ที่เป็นแบบเปิดขึ้นมาแล้วใช้งานได้เลย ถ้าหาก Rufus ที่ต้องใช้งานบนเครื่องที่ใช้ ARM ก็ต้องโหลดในเวอร์ชัน ARM (ส่วนใหญ่เครื่อง PC หรือ Notebook ในปัจจุบันไม่ค่อยมี CPU ARM ที่รัน Windows สักเท่าไหร่ มีก็เพียงแต่แท็ปเลต หรือ Microsoft surface เท่านั้น)

     
    Rufus แต่ล่ะเวอร์ชัน
  3. ไฟล์ Windows ที่มีนามสกุล .iso สามารถดาวน์โหลดได้จาก Microsoft ได้โดยตรง หรือหากใครมีไฟล์ Windows10.iso เก็บไว้อยู่แล้วก็ใช้ได้ครับ
  4. เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้และเป็นระบบที่รัน Windows หรือเข้า Windows ได้เพื่อที่จะสร้างตัวบูต UEFI ( หากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะติดตั้ง Windows 10 ใหม่ ในปัจจุบันยังเข้าใช้งานได้ ก็สามารถใช้เครื่องนั้นได้ครับ )

เริ่มสร้าง USB Boot UEFI

  1. ก็อปปี้ Windows10.iso ไว้ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ หากดาวน์โหลด Windows 10 จาก Microsoft ไฟล์ดาวน์โหลดนั้นจะอยู่ที่โฟลเดอร์ C:\Users\ชื่อuser\Downloads
  2. เชื่อมต่อ USB หรือเสียบแฟรซไดร์ฟที่จะใช้ทำ Boot Windows ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่รัน Rufus
  3. เปิดโปรแกรม Rufus ที่ดาวน์โหลดเรียบร้อยแล้ว ในหน้าจอ Rufus จะเลือกแฟลซไดร์ฟที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ หากมีแฟรซไดร์ฟที่เชื่อมต่อหลายตัวให้คุณกดเลือกตัวที่คุณต้องการจะทำบูต UEFI
  4. กดปุ่ม SELECT เพื่อเลือกไฟล์ ISO 
    - Immage option : standard Windows installation
    - Partition scheme : GPT
    - Targer system : UEFI (non CSM)
    ในส่วนของ Format Options
    - Volume label : ตั้งชื่อ (จะเปลี่ยนหรือไม่ก็ได้ ให้เป็นภาษาอังกฤษ)
    - File system : NTFS
    -Cluster size : (ไม่ต้องเปลี่ยน)
  5. กดปุ่ม START

install windows 10uefi


ทำการติดตั้ง Windows 

การติดตั้ง Windows จากแฟรซไดร์ฟที่สร้างบูต UEFI จำเป็นต้องดำเนินการตั้งค่า BIOS ก่อนการติดตั้ง ซึ่งบางครั้งการดำเนินการนี้อาจจะจำเป็นหรือไม่จำเป็นก็ได้ เนื่องจากเมนบอร์ดแต่ละรุ่นไม่เหมือนกัน 

  1. เชื่อมต่อ USB Boot UEFI ที่สร้างเสร็จในขั้นตอนแรกกับคอมพิวเตอร์ที่ต้องการจะติดตั้ง Windows ใหม่
  2. เปิดเครื่องและเข้า BIOS เพื่อตั้งค่า Boot UEFI การเข้า BIOS ของคอมพิวเตอร์แต่ละรุ่นหรือยี่ห้อจะแตกต่างกันไป สามารถดูวิธีการกดปุ่มของแต่ละรุ่นที่ผมรวบรวมมาได้ครับ วิธีการเข้า Bios และ Boot Menu ของคอมพิวเตอร์แต่ละยี่ห้อ
    ที่เมนู Disk Storage ให้เปลี่ยนประเภทของ SATA ให้เป็น AHCI
  3. ให้ค้นหาตัวเลือกที่เกี่ยวข้องกับการตั้งค่าการบูตของระบบ (Boot options) หรือการตั้งค่าการบูต หากคอมพิวเตอร์ของคุณรองรับ UEFI ให้แน่ใจว่าคุณเลือก UEFI เป็นวิธีการบูต ซึ่งบางครั้งการบูตของคอมพิวเตอร์ที่คุณตั้งค่าอาจจะเป็นแบบ Lacacy ซึ่งเป็นระบบเดิมที่ใช้กับระบบบูตแบบ MBR ให้เปลี่ยนจาก Lacacy เป็น UEFI เลือกการ Boot ลำดับแรกให้เป็น USB
  4. ติดตั้ง Windows ตามขั้นตอนที่ปรากฏบนหน้าจอ




install windows boot uefi

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช