6 อาการเสียที่เกี่ยวกับไฟเลี้ยง Power Supply Computer หรือปัญหาระบบจ่ายไฟ ที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของเราทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ มีอาการดังนี้ 1. เปิดเครื่องแล้วขึ้นบ้าง ไม่ขึ้นบ้าง หรือติดบ้างไม่ติดบ้าง 2. เปิดเครื่องแล้วไม่ขึ้นภาพ หรือภาษาบ้านเราเรียกว่า ไม่ขึ้นจอ อาการไม่ขึ้นจอนี้ใช่ว่าจะเป็นที่แรมอย่างเดียวครับ พาวเวอร์ซัพพลายก็มีส่วนด้วย 3. ทำการเปิดเครื่องและหลังจากที่ตรวจสอบ ROM เบื้องต้นเสร็จเรียบร้อยแล้วจอมืดสนิท เข้าวินโดว์ไม่ได้ พาวเวอร์ซัพพลายก็เป็นส่วนหนึ่งครับ 4. แฮงค์ขณะโหลด window ขณะโหลด window อยู่ดีๆ มันหยุดวิ่งไปเฉยๆซะอย่างนั้น ถ้าตรวจสอบทุกอาการแล้วยังไม่หาย ไม่ว่าจะเป็นฮาร์ดดิสก์ หรือเมนบอร์ด ก็ยังไม่หาย อย่าลืมตรวจสอบพาวเวอร์ซัพพลายด้วยครับ 5. เครื่องรีสตาร์ทบ๋อยบ่อย 6. Run Program จำพวก Graphic แล้วแฮงค์ซะอย่างนั้น ถ้าเกิด 6 อาการอย่างว่าด้านบนนี้ เวลาซ่อมอย่าลืมตรวจสอบ Power Supply ด้วยนะครับ
ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่ 1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775, Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...