ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การลบหมายเลข VLAN และการเคลียร์หมายเลข VLAN ทั้งหมด ออกจากดาต้าเบสของ VLAN



การลบหมายเลข VLAN และการเคลียร์หมายเลข VLAN ทั้งหมด ออกจากดาต้าเบสของ VLAN

     เมื่อสร้างหมายเลข VLAN ไปแล้ว หากต้องการลบจะทำอย่างไร ? วิธีสำหรับการยกเลิกหมายเลข VLAN ออกไปจาก VLAN Database ทีละหมายเลขก็คือการเข้าสู่ดาต้าเบสของ VLAN แล้วพิมพ์  no vlan <หมายเลข VLAN ที่ต้องการลบ> อย่างเช่น


Switch# vlan database     <-- เป็นคำสั่งที่ใช้เข้าสู่ฐานข้อมูลหรือดาต้าเบสของ VLAN 
Switch(vlan)# no vlan  <หมายเลข VLAN ที่ต้องการลบ>


     หรืออีกวิธีหนึ่งคือใช้คำสั่ง no vlan <หมายเลข VLAN ที่ต้องการลบ> จากโกลบอลคอนฟิกูเรชันโหมดของสวิตซ์


Switch(config) #no vlan <หมายเลข VLAN> 

     ถ้าต้องการลบ 5 VLAN ออกจาก 20 VLAN ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เราคงต้องใช้วิธีข้างต้นนี้คือไล่ no vlan ออกไปเรื่อยๆ แต่ถ้าต้องการลบหมายเลข VLAN ทั้งหมดที่มีอยู่เป็นจำนวนพอสมควรออกไปจากดาต้าเบส VLAN ทีเดียวโดยไม่ต้องการไล่ลบทีละ VLAN วิธีการมีดังนี้

1.  ใช้คำสั่ง show flash : เพื่อสำรวจดูว่ามีไฟล์ vlan.dat อยู่หรือไม่เป็นไฟล์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับดาต้าเบสของ VLAN ดังแสดงในตัวอย่างข้างล่าง

Switch#sh flash:
Directory of flash:/
2   - rwx   109   Mar   01   1993   00:01:45   +00:00   info 
3   - rwx   270    Jan   01   1970   00:01:36   +00:00   env_vars
4   - rwx   556   Mar   01   1993   00:19:45   +00:00   vlan.dat
7   - rwx   3081999  Mar  01  1993  00:03:22  +00:00  c2950 – i6q412 –mz.121 –22.EAI.bin
(ตัดเอาต์พุตด้านล่างบางส่วน)

2. ใช้คำสั่ง delete flash:vlan.dat เพื่อลบไฟล์ vlan.dat ออกไป

Delete  filename   [vlan.dat]?
Delete  flash:vlan.dat? [confirm]
Switch#reload
Proceed with reload? [confirm]
00:47:28:  %SYS – 5 – RELOAD: Reload requested


3. ปิด / เปิดสวิตซ์ใหม่หรือใช้คำสั่ง reload เพื่อรีเซตสวิตซ์
4. ลอง show vlan ดูอีกครั้ง จะพบว่าหมายเลข VLAN ที่เคยมีอยู่แต่เดิมได้ถูกลบออกไปเรียบร้อยแล้วเหลือแต่ VLAN ที่เป็นค่าดีฟอลต์

      สำหรับสวิตซ์รุ่นที่เป็นแบบ Chassis – based ใหญ่ๆ คือมีช่องให้เสียบโมดูลได้นั้น ไฟล์ vlan.dat อาจไม่ได้ถูกเก็บไว้ใน  flash: โดยตรง ให้ศึกษาจากคู่มือสวิตซ์รุ่นนั้นๆ อีกทีว่าไฟล์ vlan.dat นั้นถูกเก็บไว้ที่ตำแหน่งใดในระบบไฟล์

หลังจากลบไฟล์ vlan.dat ทิ้งไปและได้รีโหลดสวิตซ์ใหม่แล้ว ลองใช้คำสั่ง show vtp status ดู คุณควรพบหน้าตาผลลัพธ์คล้ายๆ รูปด้านล่างนี้

90F5_19#sh  vtp  status
VTP  Version     :   2
Configuration     :   0   <--สังเกตว่าค่าของ “configuration reversion” จะถูกรีเซตให้กลายเป็นศูนย์
Maximum VLANs supported lacally  :  250
Number of  existing  VLANs  :  5
VTP  Operrating  Mode  :  Server  <--โดยดีฟอลต์โหมดของ VTP จะเป็นโหมด VTP Server
VTP  Domain  Name   :              <-- ชื่อของ VTP Domain เป็น “NULL” คือว่างเปล่าไม่มีค่าใดๆ
(ตัดเอาต์พุตด้านล่างออก)


     และเมื่อใช้คำสั่ง show vlan ดู คุณควรเห็นว่ามีเฉพาะ VLAN หมายเลข 1 และหมายเลขที่เป็นค่าดีฟอลต์เดิมคือหมายเลข  1002 – 1005 เท่านั้น ดังแสดงด้านล่าง


90F5_19#sh  vlan 
VLAN        Name                                Status                           Port
----------      ----------------------------    ------------------------     ------------------------
1                  default                              active                           Gi0/1,  Gi0/2
1002             fddi – default                   act / unsup
1003             token – ring – default      act / unsup
1004             fddinet – default              act / unsup
1005             trnet – default                  act / unsup
(ตัดเอาต์พุตส่วนล่างออก)










ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...