ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ตัวอย่างหลักเกณฑ์การออกแบบ VLAN


ตัวอย่างหลักเกณฑ์การออกแบบ VLAN

      หลักการสำคัญในการแบ่ง VLAN นั้นไม่ได้มีข้อกำหนดตายตัวใดๆ ขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ออกแบบและความเหมาะสมเป็นสำคัญ อย่างไรก็ดี อย่าได้มองข้ามหลักพื้นฐานว่าระบบเน็ตเวิร์กนั้นมีขึ้นมาเพื่อรองรับแอฟพลิเคชันต่างๆในองค์กร ฉะนั้น หลักในการแบ่ง VLAN ที่ดีขอให้มองจากมุมมองของแอปพลิเคชันที่ทำงานอบู่บนสวิตซ์เน็ตเวิร์กประกอบด้วย เพราะถึงแม้บรอดคาสต์ทราฟฟิกโดยทั่วไปจะมีผลการทำงานโดยรวมของระบบเน็ตเวิร์ก แต่บางครั้งบางโอกาส องค์กรณ์นั้นอาจจำเป็นต้องใช้งานแอปพลิเคชันรุ่นเก่าๆ สำหรับธุรกิจซึ่งแอปพลิชันดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยการส่งผ่านข้อมูลแบบบรอดคาสต์ทราฟฟิกตลอดเวลา ลักษณะนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดที่ใช้งานแอปพลิเคชันดังกล่าวก็สมควรได้รับการเซตให้อยู่ใน VLAN เดียวกันทั้งหมดไม่ควรแบ่งแยกเป็น VLAN ย่อยๆ ทั้งนี้เพื่อให้เครื่องทั้งหมดมีโอกาสได้รับข้อมูลชองแอปเคชันที่ส่งมาแบบบรอดคาสต์ และขจัดปัญหาต่างๆ ในการสื่อสารที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้

# โดยดีฟอลต์ สวิตซ์ที่ไม่มีการแบ่ง VLAN ทุกพอร์ตของมันจะถือว่าอยู่ใน VLAN ดีฟอลต์เดียวกัน นั่นคือ VLAN หมายเลข 1 #


     ตัวอย่างต่อไปนี้แสดงหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่นำมาใช้ในการพิจารณาแบ่ง VLAN ได้แก่
     - แบ่งตามตำแหน่งทางกายภาพ เช่น แบ่งตามแต่ละชั้นในอาคาร หรือแบ่งตามสวิตซ์ หรือแบ่งตามตำแหน่งที่ตั้งของหน่วยงาน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อสวิตซ์ปลายทางที่อยู่ในชั้น 2 ให้อยู่ใน VLAN 2 ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับสวิตซ์ปลายทางในชั้น 3 ก็ให้อยู่ใน VLAN 3 ดังนี้ เป็นต้น


     - แบ่งตามหน่วยงาน ถึงแม้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์จะได้รับการเชื่อมต่ออยู่บนสวิตซ์คนละตัวกัน แต่ก็สามารถถูกนำมารวมเข้าเป็นสมาชิกของ VLAN เดียวกันได้ รูปข้างล่างนี้แสดงตัวอย่างการแบ่ง VLAN ตามหน่วยงาน เช่น ที่แต่ละชั้นมีพนักงานของฝ่ายขาย ฝ่ายบริหารโครงการ และฝ่ายช่างนั่งอยู่รวมกัน เราสามารถจัดสรรพอร์ตบนสวิตซ์ที่แต่ละชั้นให้อยู่ใน VLAN ของแต่ละแผนกแยกกันได้ (นี่คือตัวอย่างของการแบ่ง VLAN ที่ไม่มีข้อจำกัดทางกายภาพ)

     - แบ่งตามฟังก์ชันการทำงานหรือแบ่งตามกลุ่มคณะทำงาน เช่น เรามีกลุ่มของคณะทำงานเดียวกันนั่งอยู่กระจัดกระจายตามแต่ละชั้น เราสามารถจัดสรรพอร์ตสวิตซ์ที่เครื่องคอมพิวเตอร์เหล่านั้นเชื่อมต่ออยู่ให้เข้ามาในกลุ่ม VLAN เดียวกันได้ ไม่ว่าเครื่องของผู้ใช้เหล่านั้นจะเชื่อมต่ออยู่กับพอร์ตของสวิตซ์ชั้นไหนก็ตาม
     - แบ่งตามลักษณะของแอปพลิเคชันที่ใช้งาน มีโรงงานผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่งที่ผู้ใช้นั่งอยู่ตามโรงงานย่อยต่างๆ จำเป็นต้องรัน 2 แอปพลิเคชัน แอปพลิเคชันแรกสำหรับควบคุมการผลิตและอีกแอปพลิเคชันที่สองสำหรับใช้การทำงานทั่วไปผู้ออกแบบเน็ตเวิร์กได้ออกแบบให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานแอปพลิเคชันสำหรับควบคุมการผลิตเชื่อมต่ออยู่กับพอร์ตของสวิตซ์ที่อยู่ใน VLAN หนึ่ง (เช่น VLAN 10 ) และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในงานทั่วไปเชื่อมต่ออยู่กับพอร์ตของสวิตซ์ที่อยู่ในอีก VLAN หนึ่งแยกต่างหากไป ( เช่น VLAN 20 ) ทั้งนี้เพื่อป้องกันไม่ให้ทราฟฟิกของทั้ง 2 แอปพลิเคชันเข้ามาปะปนกัน เพราะแอปพลิเคชันสำหรับควบคุมการผลิตนั้นมีความสำคัญยื่งยวดต     -่อธุรกิจของโรงงานหากทราฟฟิกใน VLAN 20 (ของแอปพลิเคชันทั่วไป) เกิดไม่มีเสถียรภาพขึ้นจะด้วยเหตุผลใดๆ ก็แล้วแต่ มันจะได้ไม่มีผลกระทบต่อการทำงานของแอปพลิเคชันที่เป็นหัวใจสำคัญของโรงงาน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...