ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การสร้าง VLAN และการเข้าเป็นสมาชิกของ VLAN


การสร้าง VLAN และการเข้าเป็นสมาชิกของ VLAN
     มีอยู่ 2 วิธีในการเซตให้พอร์ตของสวิตซ์ (ส่งผลถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ต่ออยู่กับพอร์ตของสวิตซ์) เข้าเป็นสมาชิกของ VLAN ได้แก่ static VLAN และ dynamic VLAN

Static VLANs 

     Static VLAN หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “port-based membership” (การเป็นสมาชิกของ VLAN โดยพิจารณาจากพอร์ต) ในลักษณะนี้เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ปลายทางจะเป็นสมาชิกของ VLAN โดยขึ้นกับพอร์ตสวิตซ์ที่มันคอนเน็กอยู่ด้วย
     พอร์ตของสวิตซ์จะถูกเซตให้เป็นสมาชิกของ VLAN โดยการเซตอัพของผู้ดูแลระบบ ถึงแม้เครื่องคอมพิวเตอร์สองเครื่องจะเชื่อมต่ออยู่บนสวิตซ์ตัวเดียวกัน แต่หากพอร์ตที่มันเชื่อมอยู่เป็นสมาชิกของต่าง VLAN กัน เครื่องสองเครื่องดังกล่าวจะไม่มีทางสื่อสารกันได้ ในการทำให้เครื่องที่อยู่ต่าง VLAN กันพูดคุยกันได้ เราจำเป็นต้องมีอุปกรณ์เลเยอร์ 3 อย่างสวิตซ์เลเยอร์ 3 และเร้าเตอร์เข้ามาช่วย

การคอนฟิก static VLAN

ขั้นแรก ต้องสร้างหมายเลข VLAN ขึ้นมาเก็บไว้ในฐานข้อมูลของ VLAN (VLAN Database ต่อไปบางทีผู้เขียนจะเรียกทับศัพท์ว่า “ดาต้าเบสของ VLAN”) ก่อน ในขั้นที่สอง จึงค่อยแมปหมายเลข VLAN นั้นเข้ากับพอร์ตของสวิตซ์อีกครั้ง 
      ในการคอนฟิก Static VLAN บนสวิตซ์แบบ IOS BASED ขั้นตอนและคำสั่งมีดังนี้
Switch#   vlan database     <-- เป็นคำสั่งที่ใช้เข้าสู่ฐานข้อมูลหรือดาต้าเบสของ VLAN 
Switch (vlan)# vlan <หมายเลข VLAN> name <ชื่อของ VLAN –มีหรือไม่ก็ได้>
Switch (vlan)# exit
Switch#configure  terminal
Switch (config) #interface interface-type module/number      <-- เช่น interface fa0/1
Switch (config-if) #switchport mode access      <-- ให้พอร์ตทำงานอยู่ในโหมด access (อ่านเพิ่ม                                                            เติมในหัวข้อต่อไป)                 
Switch (config-if) #switchport access vlan <หมายเลข VLAN> แมปพอร์ตให้เป็นสมาชิกของ VLAN
Switch (config-if) #end

หมายเหตุ ################################################
                      เพิ่มเติมเกี่ยวกับการสร้าง VLAN บนสวิตซ์แบบ IOS BASED

1. ถ้าหากเราเข้าสู่อินเตอร์เฟซคอนฟิกกูเรชันโหมดก่อน แล้วพิมพ์คำสั่ง swicthport access vlan <หมายเลข VLAN> ก่อนที่จะสร้างหมายเลข VLAN ภายใน VLAN Database สวิตซ์จะจัดการสร้างหมายเลข VLAN นั้นขึ้นมาใน VLAN Database ให้โดยอัตโนมัติ

2. สำหรับสวิตซ์บางรุ่นเช่น รุ่น 3550 เราสามารถสร้างหมายเลข VLAN จากโกลบอลคอนฟิกกูเรชันโหมดได้ เช่น Switch(config)#vlan <หมายเลข VLAN>  จากนั้นมันจะให้ใส่ชื่อของ VLAN แล้ว exit ออกมา

3. ก่อนการสร้างหมายเลข VLAN ควรมีการพิจารณาใช้งานโปรโตคอล VTP ก่อนทุกครั้ง (อ่าน VTP ในหัวข้อถัดไป) ว่าจะให้สวิตซ์ปัจจุบันทำงานในโหมดใดและจะสร้างหมายเลข VLAN จากศูนย์กลางหรือไม่ หรือจะสร้างบนแต่ละสวิตซ์แยกกัน
###########################################################

      ในการคอนฟิก static VLAN บนสวิตซ์แบบ SET BASE ขั้นตอนและคำสั่งมีดังนี้

ตัวอย่างเช่น คำสั่งข้างล่างนี้จะสร้าง VLAN หมายเลข 80 ขึ้นมาและแมปเข้ากับพอร์ต 3/4 – 3/7

Console (enable) set vlan 80 3/4  - 7
VLAN  80 modified.
VLAN  Mod/Port
--------  ---------------
80 3/4 -7
Console (enable)

     ในการตรวจเช็คดูว่า บนสวิตซ์ปัจจุบันมีอยู่กี่ VLAN และมีเลขหมายใดบ้าง ให้ใช้คำสั่ง show vlan และถ้าต้องการดูหมายเลข VLAN แบบสรุปย่อ ให้ใช้คำสั่ง show vlan brief เอาต์พุทข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างของคำสั่ง show vlan

2950Swicth11#sh vlan

VLAN    Name                    Status               Port
--------   -------------        -----------    ------------------------------------------------------------
1            default                   active                Fa 0/24,  Gi 0/2

10          VLAN                   active                Fa 0/16,  Fa 0/17,  Fa 0/18,  Fa0/19,  Fa0/20,                             
                                                                    Fa0/21, Fa0/22, Fa0/23

12           VLAN                  active                Fa0/1,  Fa0/2,  Fa0/3,  Fa0/4,  Fa0/5,  Fa0/6,                                            

                                                                    Fa0/8,  Fa0/9,  Fa0/10,  Fa0/11,  Fa0/12,                                                                                                                          

                                                                    Fa0/13,  Fa0/14,  Fa0/15

(ตัดเอาต์พุตด้านล่างบางส่วนออกไปเพื่อความกระชับ)

      เอาต์ทุตข้างต้นแสดงว่าพอร์ตตั้งแต่ fa0/1 – fa0/15 ได้รับการแมปให้เป็นสมาชิกของ VLAN หมายเลข 12 และพอร์ตตั้งแต่ fa0/16 – fa0/23 ได้รับการแมปให้เป็นสมาชิกของ VLAN หมายเลข 10

หมายเหตุ #####################################################
จำนวนหมายเลข VLAN ที่สามารถสร้างและจัดเก็บในดาต้าเบส VLAN ได้สูงสุดจะขึ้นอยู่กับสวิตซ์รุ่นนั้นๆให้ศึกษาดูจากคู่มือของแต่ละรุ่นอีกครั้งหนึ่งหรือไม่ก็ลองใช้คำสั่ง show vtp status และสังเกตฟิลด์ที่เขียนว่า “Maximum VLAN supported locally”

2950Swicth11#sh vtp status 
VTP Version   :   2
Configuration Revision   :   11
Maximum  VLANs supported locally   :   250       <--
3750Swicth22#sh vtp status
VTP Version   :   2
Configuration Revision   :   0
Maximum VLANs supported locally   :   1005       <--
##############################################################

Dynamic VLAN

      Dynamic VLAN เป็นการกำหนด VLAN ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้โดยพิจารณาจากหมายเลข MAC Address เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับพอร์ตของสวิตซ์ สวิตซ์ จะตรวจเช็กหมายเลข  MAC Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ และส่งหมายเลขดังกล่าวไปเช็กที่ฐานข้อมูลกลางเซิร์ฟเวอร์เพื่อดูว่าหมายเลข MAC Address ดังกล่าวเป็นสมาชิกของ VLAN ใด ผู้ดูแลระบบสามารถแมปความสัมพันธ์ระหว่าง MAC Address กับหมายเลข VLAN ได้โดยการเซตฐานข้อมูลที่อยู่บนเซิร์ฟเวอร์ที่ทำหน้าที่เป็น VLAN Membership Policy Server (VMPS)
      สำหรับสวิตซ์ของซิสโก้ dynamic VLAN สามารถถูกสร้างและเซตอัพได้ผ่านทางการใช้เครื่องมือบริหารจัดการอย่างเช่น CiscoWorks 2000 หรือ CiscoWorks for Switched Internetwork (CWSI) ถึงแม้ว่า dynamic VLAN ดูเหมือนจะให้ความยืดหยุ่นในการจัดสรร VLAN แต่มันก็เพิ่มภาระที่ค่อนข้างมากทีเดียวให้กับผู้ดูแลเน็ทเวิร์กและไม่ได้รับความนิยม


หมายเหตุ ###########################################################
     เรื่องของ dynamic VLAN เป็นหัวข้อที่ไม่ค่อยพบเห็นในการใช้งานจริงในปัจจุบัน อีกทั้งยังไม่ได้ถูกจัดให้เป็นหัวข้อสำหรับการออกสอบใน CCNA, CCNP ดังนั้น ผู้เขียนจะขอละไว้เพียงแค่นี้ ให้รู้จักความหมายของ dynamic VLAN เท่านั้นเป็นพอ
####################################################################

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...