ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ประโยชน์ที่ได้รับจากการสร้างและแบ่ง VLAN


ประโยชน์ที่ได้รับจากการสร้างและแบ่ง VLAN 
      -  จำกัดขอบเขตการแพร่กระจายของบรอดคาสต์ทราฟฟิกไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพโดยรวมของเน็ตเวิร์ก โดยปกติ หลายๆแอปพลิเคชันบนเน็ตเวิร์ก รวมทั้งไดรเวอร์ของโปรโตคอลต่างๆ เช่น ไดรเวอร์ของ TCP/IP ,IPX/SPX มักจะมีการส่งบรอดคาสต์เฟรมออกมาเป็นระยะๆ เพื่อประโยชน์ต่างๆอันเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงานของมัน ถึงแม้บรอดคาสต์ทราฟฟิกจะมีประโยชน์ แต่ในเวลาเดียวกัน มันก็ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพโดยรวมได้ หากไม่มีการจำกัดขอบเขตของบรอดคาสต์ทราฟฟิก

ทำไมบรอดคาสต์ทราฟฟิกจึงมีผลต่อประสิทธิภาพของเน็ตเวิร์ก ? 


      1. เพราะบรอดคาสต์เฟรมเป็นเฟรมพิเศษที่ “บังคับ” ให้ทุกๆ เครื่องในบรอดคาสต์โดเมนนั้นๆ ต้องรับเอาบรอดคาสต์เฟรมไปใส่ไว้ในบัฟเฟอร์ของเน็ตเวิร์กการ์ดของตน และทำการประมวลผลบรอดคาสต์เฟรมด้วยการส่งสัญญาณไปอินเตอร์รัพป์ซีพียูของเครื่องเละให้ไดรเวอร์ของโปรโตคอลในเลเยอร์ 3 เป็นผู้ประมวลผลต่อไม่ว่าตนเองจะมีหรือไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับเนื้อหาภายในเฟรมนั้นๆ ก็ตาม ภายหลังหากพบว่าตนเองจำเป็นต้องมีส่วนร่วมกับเนื้อหาภายในบรอดคาสต์เฟรมนั้นๆ มันก็จะส่งแพ็กเก็ตออกมาเละส่งต่อให้ไดรเวอร์ของโปรโตคอลในเลเยอร์ที่สูงกว่าต่อไป (ตามหลักการ De-encapsulate ของ OSI Model) แต่หากพบว่าตนเองไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆเลยกับเฟรมดังกล่าว มันก็จะโยนทิ้ง(discard)บรอดคาสต์เฟรมนั้นๆทิ้งไป ปัญหาที่เราสนใจในที่นี้ก็คือ หากมันต้องคอยรับ บรอดคาสต์เฟรมอยู่เป็นระยะๆ ตลอดเวลา ซีพียูของเครื่องคอมพิวเตอร์ก็จะต้องถูกอินเตอร์รัพป์อยู่ตลอดเวลาให้ทำการประมวลผลบรอดคาสต์เฟรม และเม้จะเป็นเน็ตเวิร์กการ์ดสมัยใหม่ที่มีส่วนประมวลผลในตัวหรือมีซีพียูความเร็วสูงก็ตาม มันก็จะต้องเสียเวลาและเพิ่มโหลดโดยไม่จำเป็น 

      2. เพราะบรอดคาสต์เป็นเฟรมพิเศษที่เมื่อสวิตซ์ได้รับเฟรมดังกล่าวแล้ว มันจำเป็นต้องส่งผ่าน (forword)บรอดคาสต์เฟรมออกไปที่ทุกๆพอร์ต เพื่อให้ทุกๆ เครื่องที่ต่ออยู่กับสวิตซ์ได้รับบรอดคาสต์เฟรม นี่เท่ากับเป็นการส่งเฟรมออกไปแย่งใช้งานแบนวิธ (bandwidth) ของพอร์ตอื่นๆ การแบ่ง VLAN เท่ากับเป็นการจำกัดปริมาณพอร์ตที่บรอดคาสต์ทราฟฟิกต้องถูกส่งออกไปให้น้อยลง

      -  สามารถสร้างกลไกด้านความปลอดภัยได้ง่ายขึ้น เช่น การสร้าง ACL บนอุปกรณ์ในเลเยอร์ 3 และการลดความเสี่ยงเกี่ยวกับการดักจับทราฟฟิก


ทำไมการแบ่ง VLAN จึงช่วยเพิ่มความปลอดภัย ? 
     1. ดังที่ได้กล่าวไปแล้วตอนต้น (หัวข้อ “ความสัมพันธ์ระหว่าง VLAN กับโปรโตคอล TCP/IP”) แล้วว่า การแบ่งแยก VLAN เท่ากับเป็นการแบ่งแยกซับเน็ตแอดเดรสของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องคอมพิวเตอร์ใน VLAN หนึ่งๆ จำเป็นต้องส่งแพ็กเก็ตไปยังอุปกรณ์ในเลเยอร์ที่ 3 อย่างเช่น เร้าเตอร์หรือสวิตซ์เลเยอร์ 3 ก่อน เพื่อให้อุปกรณ์ดังกล่าวช่วยส่งผ่านแพ็กเก็ตไปให้ถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ใน VLAN ปลายทาง ในจังหวะที่แพ็กเก็ตกำลังถูกเร้าต์ (route) อยู่บนอุปกรณ์ดังกล่าว เราสามารถเซต Access Control List (ACL)บนเร้าเตอร์เพื่อตรวจเช็กเงื่อนไขต่างๆ ของแพ็กเก็ตและทราฟฟิกต่างๆ ได้ก่อนที่จะยินยอมให้ส่งผ่านออกไปยัง VLAN ปลายทาง 
     2. โดยปกติทราฟฟิกที่อยู่ใน VLAN เดียวกันมีโอกาสถูกดักจับได้ด้วยเทคนิคการ “Spoofing” ต่างๆ การแบ่งแยกเน็ตเวิร์กออกมาเป็น VLAN ใหม่จะช่วยลดความเสี่ยงการโจมตีด้วยเทคนิค “Spoofing” ตัวอย่างหนึ่งของการแบ่ง VLAN เพื่อเพิ่มความปลอดภัยได้แก่ การแบ่งแยกกลุ่มของเซิร์ฟเวอร์ออกไปอยู่ใน VLAN ต่างหากเฉพาะ เพื่อที่ว่าจะได้สามารถประยุกต์ใช้ ALC บนสวิตซ์เลเยอร์ 3 เพื่ออนุญาตหรือปฏิเสธการเข้าถึงเซิร์ฟเวอร์จากเครื่องคอมพิวเตอร์บางเครื่องหรือจากบาง VLAN ได้ หรือเพื่อควบคุมประเภทของทราฟฟิกที่สามารถรับส่งกับเซิร์ฟเวอร์ได้ ถ้าหากไม่แบ่ง VLAN ให้กับกลุ่มเซิร์ฟเวอร์ เราจะไม่มีทางใช้ ACL เพื่อทำงานดังกล่าวได้ เพราะเซิร์ฟเวอร์กับไคลแอนต์จะอยู่ในซับเน็ตเวิร์กเดียวกัน และสามารถสื่อสารกันได้โดยตรงโดยไม่ผ่านสวิตซ์เลเยอร์ 3

     - ผู้ใช้สามารถเคลื่อนย้ายไป VLAN (หรือ Subnet) อื่นๆ ได้โดยเพียงแค่เปลี่ยนคอนฟิกกูเรชันของสวิตซ์และบนโปรโตคอล TCP/IP บนเครื่องเพียงนิดเดียว โดยไม่ต้องมีการย้ายสายเคเบิ้ลใดๆเลย

     - ระบบสามารถรองรับการขยายตัวในอนาคตได้โดยง่าย บางท่าน เมื่อเริ่มต้นออกแบบและติดตั้งเน็ตเวิร์กก็เซตให้ทั้งหมดอยู่ภายใต้ VLAN เดียวกันไป ครั้นต่อๆ มาเครื่องคอมพิวเตอร์เพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ  ส่งผลให้ปริมาณบรอดคาสต์ทราฟฟิกมีมากขึ้น และถูก FLOOD แพร่กระจายไปทั่วถึงกันทุกๆชั้น ในลักษณะที่เรียกว่า “FLAT NETWORK” ครั้นพอจะแบ่งเป็น VLAN ย่อยๆ ก็อาจมาติดปัญหาหลายๆเรื่อง เช่น เรื่องของ IP Address ที่จัดสรรให้กับเครื่องต่างๆ โดยเฉพาะเซิร์ฟเวอร์ ระบบงานสำคัญที่ถูกเซตไว้แล้ว IP Address ที่อยู่บนเครื่องเซิร์ฟเวอร์เหล่านี้อาจมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงไปหลังจากอิมพลีเมนต์ VLAN ขึ้นมาซึ่งกลายเป็นภาระยุ่งยาก เพราะบางทีก็เปลี่ยนไม่ได้เนื่องจาก IP Address ได้ถูก “hard code” เข้าไปในแอปพลิเคชันโปรแกรมแล้ว เป็นต้น ถ้าหากมีการวางแผนแบ่ง VLAN ไว้ก่อน ในอนาคตหากมีการเพิ่มขยายระบบออกไปเช่น มีการเชื่อมต่อสวิตซ์ใหม่ให้กับสวิตซ์ตัวเดิมหรือมีปริมาณเครื่องคอมพิวเตอร์มากขึ้น ก็ไม่ต้องกังวลว่าปริมาณเครื่องที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพโดยรวมของเน็ตเวิร์ก

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...