ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ความสัมพันธ์ระหว่าง VLAN กับโปรโตคอล TCP/IP



ความสัมพันธ์ระหว่าง VLAN กับโปรโตคอล TCP/IP

     หากมองจากมุมของเลเยอร์ 2 การแบ่ง VLAN เป็นการแบ่งกลุ่มของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมอยู่กับพอร์ตของสวิตซ์ให้เสมือนว่าอยู่ใน LAN เดียวกันโดยไม่เกี่ยวข้องกับ VLAN อื่น ๆ และเฉพาะเครื่องใรกลุ่มดังกล่าวเท่านั้นที่สามารถสื่อสารกันได้ และบรอดคาสต์ทราฟฟิกจะถูกจำกัดให้อยู่เฉพาะใน VLAN นั้น ๆ เท่านั้นไม่กระจายไปยังพอร์ตของสวิตซ์ที่อยู่ใน VLAN อื่นๆ
      เมื่อมองจากแง่มุมของเลเยอร์ที่ 3 ซึ่งเป็นเลเยอร์ของโปรโตคอล IP นั้น สิ่งที่เราสนใจก็คือ การวางแผนหมายเลขซับเน็ตแอดเดรส และการเซ็ต หมายเลข IP Address ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ เนื่องจากซับเน็ตหนึ่งซับเน็ตในโลกของ IP เป็นการกำหนดขอบเขตของบรอดคาสต์ขึ้นมา ในขณะเดียวกัน VLAN หนึ่ง VLAN ก็เป็นการกำหนดขอบเขตของบรอดคาสต์โดเมนขึ้นมาเช่นเดียวกัน ดังนั้น จึงส่งผลให้ซับเน็ต 1 ซับเน็ตมีความสอดคล้อง VLAN 1VLAN นี่เป็นที่มาของหลักการในทางปฏิบัติที่ว่า “หมายเลขซับเน็ตแอดเดรสของโปรโตคอล IP บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ใน VLAN หนึ่งๆ จะต้องเป็นค่าเฉพาะตัว (unique) ที่ไม่ซ้ำกันกับหมายเลขแอดเดรสบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ใน VLAN อื่น” กล่าวสรุปได้อีกแบบหนึ่งว่า ในการออกแบบและวางแผนแอดเรสให้กับเน็ตเวิร์กที่ใช้ VLAN นั้น เราจะต้องออกแบบให้ 1 VLAN ได้รับการจัดสรร 1 ซับเน็ตแอดเดรสเฉพาะตัวไป ถ้ามีอยู่ 10 VLAN ซับเน็ตแอดเดรสที่ต้องจัดสรรให้ก็ควรเท่ากับ 10 ซับเน็ตแอดเดรส ( 1 VLAN ต่อ 1 ซับเน็ตแอดเดรส )
     ซิสโก้แนะนำหลักการปฏิบัติที่ดีว่า ภายใน 1 VLAN ควรประกอบด้วยเฉพาะ 1 ซับเน็ตแอดเดรสเท่านั้น แต่ในการใช้งานจริงบางครั้งก็เป็นไปได้เหมือนกันที่ภายใน 1 VLAN จะได้รับการจัดสรรให้มีซับเน็ตแอดเดรสมากว่า 1 ซับเน็ตแอดเดรส ตัวอย่างเช่น ในครั้งแรกของการอิมพลีเมนต์เน็ตเวิร์ก เราออกแบบให้ 1 VLAN ใช้งานซับเน็ตแอดเดรสในคลาส C ดังที่ได้ทราบไปแล้วว่าแอดเดรสในคลาส C นั้นสามารถรองรับการกำหนดหมายเลข IP Address ได้สูงสุดเท่ากับ 254 IP Address แต่บังเอิญในอนาคต มีความจำเป็นต้องเพิ่มขยายเครื่องคอมพิวเตอร์ใน VLAN นั้นๆเข้าไปอีกมากกว่า 254 เครื่อง กรณีนี้เราสามารถเพิ่มหมายเลขซับเน็ตแอดเดรสเข้าไปใหม่ใน VLAN เดิมได้ กลายเป็น 1 VLAN ประกอบด้วยซับเน็ตแอดเดรสมากกว่า 1 ซับเน็ตแอดเดรส
      สำหรับกรณีเช่นนี้ ถึงแม้เครื่องจำได้รับการกำหนดซับเน็ตแอดเดรสที่ต่างกัน แต่บรอดคาสต์เฟรมก็ยังมีโอกาสที่จะถูกส่งไปยังเครื่องที่อยู่ต่างซับเน็ตกันได้ ทั้งนี้เพราะเครื่องทั้งหมดเป็นสมาชิกของ VLAN เดียวกันกล่าวอีกอย่างก็คือ ถึงแม้จะแบ่งแยกเป็นซับเน็ตใหม่ได้ก็จริง แต่บรอดคาตส์ทราฟฟิกจากซับเน็ตหนึ่งก็สามารถถูกแพร่กระจายไปถึงอีกซับเน็ตหนึ่งได้ ทั้งนี้เพราะซับเน็ตทั้งสองอาศัยอยู่ภายใต้ VLAN เดียวกัน


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช