ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ติดตั้งวินโดว์ 10 ใหม่ จากเครื่องที่ใช้วินโดว์ 7 ทำไมเครื่องช้า

ติดตั้งวินโดว์ 10 ใหม่ จากเครื่องที่ใช้วินโดว์ 7 ทำไมเครื่องช้า

หลังจากที่ไมโครซอฟต์ได้ประกาศยกเลิกสนับสนุนระบบปฏิบัติการวินโดว์ 7 ไปแล้ว เมื่อเดือนมกราคม ปี 2020 ที่ผ่านมา หลายหน่วยงานหลายองค์กรมีความต้องการที่จะอัพเกรดระบบปฏิบัติการจากวินโดว์ 7 ไปเป็นวินโดว์ 10 แต่อัพเกรดไปแล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์มีอาการช้าอย่างเห็นได้ชัด

 วินโดว์ 10 มีความต้องการฮาร์ดแวร์หรืออุปกรณ์ขั้นต่ำดังนี้



หน่วยประมวลผล หรือ CPU ความเร็วไม่น้อยกว่า 1 GHz
หน่วยความจำ หรือ RAM ความเร็วไม่น้อยกว่า 1 GB สำหรับ 32 บิท หรือ 2 GB สำหรับ 64 บิท
พื้นที่เก็บข้อมูล หรือพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ ไม่น้อยกว่า 32 GB
การ์ดจอ ที่รองรับ Direct X 9
ความละเอียดหน้าจออย่างน้อย 800x600
อินเตอร์เน็ต ใช้สำหรับเชื่อมต่ออัพเดตไดรเวอร์ต่างๆ

จากสเปคดังกล่าวจะเห็นว่าวินโดว์ 10 ไม่ได้ต้องการสเปคเครื่องที่แรงอะไรมากมายเลย แต่การใช้เครื่องสเปคตามที่วินโดว์ 10 รองรับนั้น จะบอกเลยว่าช้าพอสมควร

สิ่งที่เราต้องดูก่อนหรือได้ทำการอัพเกรดสเปคไปแล้ว ทำการโหลดโปแรกรม CPU Z มาติดตั้งในเครื่อง เพื่อดูว่าสเปคเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราว่ารองรับการติดตั้งวินโดว์ 10 หรือไม่

1. ตรวจดู CPU ว่าจะใช้งานกับวินโดว์ 10 ได้ดีหรือไม่

วินโดว์ 10 สามารถติดตั้งได้กับ CPU ทุกรุ่นควรมีความเร็วไม่น้อยกว่า 1 GHz แต่การใช้ CPU ที่มีความเร็วเท่ากับสเปคนั้นไม่ใช่ว่าใช้งานไม่ได้ แต่มันจะขัดใจในเวลาใช้งาน

ดูจำนวนคอร์และเธรด ของ CPU ตัวอย่างรูปด้านล่างนี้ เป็น CPU intel Celeron ที่มีความเร็ว 2.80 GHz จะเห็นว่ามีความเร็วมากกว่า 1 GHz แต่มี 1 คอร์ และ 1 เธรด ซึ่งหมายถึงว่าซีพียูตัวนี้ทำงานตัวเดียว หน่วยทำงานเดียว ไม่มีซีพียูอื่นช่วยทำงาน แม้มันจะติดตั้งวินโดว์ 10 ได้ แต่บอกเลยว่า ไม่เหมาะอย่างยิ่ง


ในรูปด้านล่างต่อไปนี้ ก็เป็น CPU Intel Celeron เช่นกัน มีความเร็วเพียงแค่ 1.70 GHz ซึ่งมองดูแล้วจะช้ากว่าตัวบนเพราะมีความเร็วน้อยกว่า แต่ในกรอบสีแดงด้านล่างจะมี 2 คอร์ 2 เธรด ซึ่งหมายถึงว่าซีพียูตัวนี้มีหน่วยประมวลผล 2 ตัว หน่วยการทำงานหรือหน่วยประมวลผล 2 หน่วย ช่วยกันทำงาน ซึ่งจะเร็วกว่า CPU ที่มีหน่วยประมวลผลที่มีความเร็ว 2.80 GHz ตัวเดียว แม้มันจะติดตั้งวินโดว์ 10 ได้ แต่บอกเลยว่า ยังไม่เหมาะอยู่ดี แต่ก็ใช้งานได้แบบที่ความเร็วขัดใจสักเล็กน้อยถึงมาก


ในรูปด้านล่างต่อไปนี้เป็น CPU Intel Core i7 คงไม่ต้องกล่าวถึงนะครับ มี 6 คอร์ 12 เธรด ติดตั้งวินโดว์ 10 ได้สบายหายห่วง CPU ที่เหมาะกับวินโดว์ 10 ก็เป็น Intel ตระกูล i ไม่ว่าจะเป็น i3, i5 หรือ i7 และ CPU ที่ผลิตในปี 2017 ขึ้นไป (แต่ถ้าเป็น Celeron ขอเถอะครับ ยอมเสียเพิ่มอีกสักนิดเพื่อ CPU ที่สูงกว่า ถ้าตามงบก็ไม่ว่ากัน)


2. ตรวจดู RAM ว่าเพียงพอหรือไม่

จากสเปคที่ต้องการด้านบนของวินโดว์ 10 จะเห็นว่าใช้ RAM 1 GB สำหรับ ระบบปฏิบัติการวินโดว์ 10 32 บิท และ 2 GB สำหรับ 64 บิท ทุกวันนี้ (ปี 2020) ระบบปฏิบัติการและโปรแกรมที่ใช้งานส่วนใหญ่จะไปทาง 64 บิทกันหมดแล้วครับ 

จากรูปด้านล่างจะเห็นว่า RAM DDR2 ขนาด 4 GB สำหรับ RAM 4GB เพียงพอต่อการติดตั้งวินโดว์ 10 64 บิทหรือไม่ ตอบได้เลยว่าเพียงพอครับ แต่ไม่ถึงกับเร็ว เพราะ DDR2 ยังเป็น RAM ที่ใช้ Bus ต่ำ เพราะเป็น RAM ที่ตกรุ่นไปแล้ว และไม่สามารถเพิ่มความเร็วของ Bus ในแรมได้อีก ดูความเร็วในเมนู SPD ใน CPU Z

รูปด้านล่าง เป็น DDR3 ขนาด 2GB สำหรับ DDR3 ก็เริ่มจะตกรุ่นกันไปแล้ว เพราะมี DDR4 เข้ามาใช้งาน แต่ก็น่าจะใช้งาน DDR3 ได้อีก 5 ปี และติดตั้งในวินโดว์ 10 ควรเป็น RAM 4GB ครับ หากใครมีอยู่ 2 GB ให้เพิ่มเป็น 4GB จะดีที่สุด


3. ตรวจดูฮาร์ดดิสก์ใช้งานมานานว่ามี Bad Sector หรือไม่

ธรรมดาการใช้งานฮาร์ดดิสก์มานานย่อมจะมีอาการเสีย หากไม่ใช้เครื่องสำรองไฟ หรือเครื่องสำรองไฟมีปัญหา ให้ทำการตรวจเช็คว่าปกติดีหรือไม่

สรุปติดตั้งวินโดว์ 10 ใหม่ จากเครื่องที่ใช้วินโดว์ 7 ทำไมเครื่องช้า

1. ความเร็วของ CPU ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน
2. พื้นที่ของ RAM มีน้อยไม่เพียงพอต่อการใช้งาน เมื่อพื้นที่ RAM ไม่เพียงพอก็จะไปดึงพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ให้เป็น RAM เสมือน (Virtaul RAM)
3. ฮาร์ดดิสก์มีปัญหา

สำหรับเครื่องเก่าที่เหมาะกับการติดตั้งวินโดว์ 10 ควรจะมีสเปคเครื่องดังนี้

1. CPU ไม่ควรต่ำกว่า 2 คอร์ ที่ความเร็วไม่ต่ำกว่า 1 GHz
2. RAM ไม่ควรต่ำกว่า 4GB หากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ไม่สามารถเพิ่มได้ 4GB ได้ให้ใส่การ์ดจอลงไปแทน เพื่อแบ่งเบาภาระการทำงานของ RAM
3. เปลี่ยนได้ ให้เปลี่ยน เปลี่ยนฮาร์ดดิสก์ เป็น SSD ใช้สำหรับติดตั้งวินโดว์ 10 และฮาร์ดดิสก์ในเครื่องไว้เก็บข้อมูล 

ความคิดเห็น

Unknown กล่าวว่า
Your Affiliate Money Making Machine is ready -

Plus, getting it running is as easy as 1..2..3!

Here is how it works...

STEP 1. Tell the system what affiliate products the system will push
STEP 2. Add PUSH BUTTON TRAFFIC (it LITERALLY takes JUST 2 minutes)
STEP 3. See how the affiliate system grow your list and sell your affiliate products all for you!

Do you want to start making profits?

Check it out here

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช