ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

คอมพ์แฮงค์บ่อย ลงวินโดว์ 10 ใหม่ก็ยังแฮงค์

คอมพ์แฮงค์บ่อย ลงวินโดว์ 10 ใหม่ก็ยังแฮงค์

เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่ประจำ วันดีคืนดีเครื่องคอมพิวเตอร์ก็แฮงค์ไปซะอย่างนั้น แม้จะรีสตาร์ทเครื่องก็ไม่หาย บางทีรีสตาร์ทไปรีสตาร์ทมาขึ้นซ่อมแซมวินโดว์ซะอย่างนั้น (Windows repair) เลยทำการติดตั้งวินโดว์ 10 ใหม่ ก็ยังไม่หาย อาการแบบนี้เป็นเพราะอะไร มาดูกัน

อาการของคอมพ์แฮงค์บ่อย

1. อาจจะมีอาการสะสมของแอลกอฮอร์ในร่างกายมากเกินไป เอ้ย ไม่ใช่ ข้อแรกนั้นดูที่สเปคเครื่องเลยครับ จากบทความที่แล้ว  ติดตั้งวินโดว์ 10 ใหม่ จากเครื่องที่ใช้วินโดว์ 7 ทำไมเครื่องช้า สเปคเครื่องคอมพิวเตอร์มีส่วนสำคัญ ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณอยู่ในระดับที่ว่าเก่ามาก หรือเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นยังใช้ระบบปฏิบัติการวินโดว์เอ็กซ์พีอยู่ (Windows XP) ก็ต้องทำใจไว้ก่อนว่า ติดตั้งวินโดว์ 10 แล้วเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่เร็ว เพราะคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการเก่าๆอย่างวินโดว์เอ็กซ์พี นั้น สเปคเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่สูงแน่นอน อย่างมากก็มีแรมแค่ 1GB หรืออาจจะมากกว่านั้นแต่ไม่เกิน 4 GB แน่นอน แนะนำประกอบคอมพิวเตอร์ใหม่ดีกว่าครับ 

2. เครื่องสเปคดี ยังไม่ตกรุ่น ใช้งานนานหลายปีในวินโดว์ 7 แต่พออัพเกรดมาใช้วินโดว์ 10 กลับช้าลงและแฮงค์ในที่สุด แบบนี้ก็ต้องลองดาวน์เกรดไปใช้วินโดว์ 7 อีกครั้งครับ ว่าจะใช้งานได้นานเหมือนเดิมหรือไม่ หากดาวน์เกรดลงไปแล้วใช้งานได้รวดเร็วปกติ อาการนี้จะเกิดจากไดรเวอร์ไม่เข้ากันกับวินโดว์ 10 ครับ เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์บางรุ่นบางยี่ห้อทำสูงสุดมาได้แค่วินโดว์ 7 แค่นั้น(สังเกตได้จากการดาวน์โหลดไดรเวอร์จากผู้ผลิตจะไม่มีไดรเวอร์วินโดว์ 10 ให้เลือก) อาการนี้ก็ให้ใช้วินโดว์ 7 ต่อไปเถอะครับ

3. เครื่องคอมพิวเตอร์สเปคดี ไม่ตกรุ่น เครื่องคอมพิวเตอร์สเปคค่อนข้างสูง เมื่อใช้ไปเรื่อยๆแล้วแฮงค์ สังเกตได้หลายอาการคือ
3.1 ตรวจดู Process ของเครื่องคอมพิวเตอร์โดยเรียกใช้ Task Manager ว่าอุปกรณ์ใดใช้งานเยอะที่สุด หรือโปรแกรมใดกินทรัพยากรของเครื่องคอมพิวเตอร์มากที่สุด ถ้ากิน RAM 100% ให้ทำตามข้อ 3.3 หรือให้เพิ่ม RAM ถ้ากิน Disk 100% ให้ทำข้อ 3.4
3.2 ตรวจสอบไดร์เวอร์ ว่ามีการติดตั้งไดรเวอร์ผิดรุ่นหรือไม่ ส่วนใหญ่ไดร์เวอร์ที่มีการติดตั้งเพิ่มเข้าไปจะเป็นไดร์เวอร์การ์ดจอ ให้ลองทำการ Uninstall driver การ์ดจอ ออกแล้วลองใช้งาน
3.3 การทำงานของ RAM ปกติหรือไม่ ให้ถอด RAM ออกมาทำความสะอาดแล้วใช้งานสังเกตอาการ หรือหากจะให้ชัวร์ว่ามี RAM เสียหรือไม่ ให้ใช้โปรแกรม Memtest+ ลองแสกนดูครับ ถ้ามีตัวแดงๆคือ RAM เสีย
3.4 ให้ทำการตรวจเช็คฮาร์ดดิสก์ว่ามี Bad sector หรือ error อะไรหรือไม่ หากมี bad sector หรือ error ให้ทำการเปลี่ยนฮาร์ดิสก์ใหม่
3.5 อาการสุดท้ายฆ่าช่าง ตรวจแล้วตรวจอีก ตรวจเท่าไหร่หาไม่เจอ เปลี่ยนนั่น เปลี่ยนนี่ ลงวินโดว์ใหม่หลายครั้งก็ยังแฮงค์ จนปัญญาแล้ว ให้ไป ซื้อพาวเวอร์ซัพพลายมาเปลี่ยนครับ มันคืออาการที่หลายคนมองข้ามเพราะพาวเวอร์ซัพพลายเมื่อใช้งานไปนานก็ย่อมเสื่อมสภาพเช่นกัน ยิ่งยี่ห้อถูกๆแล้วยี่เสื่อมเร็ว มันจะจ่ายไฟไม่นิ่ง หรือจ่ายไฟไม่เต็ม ทำให้อุปกรณ์ได้รับไฟเลี้ยงไม่เพียงพอ ก็แฮงค์ได้ครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช