ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

ความแตกต่างระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ PC และ Notebook

ความแตกต่างระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ PC และ Notebook



ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์
1. Super Computer
2. Mainframe Computer
3. Personal Computer
4. Laptop

1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด จึงมีราคาแพงมาก  ความสามารถในการประมวลผลที่ทำได้ถึงพันล้านคำสั่งต่อวินาที  ตัวอย่างการใช้งานคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น  การพยากรณ์อากาศ การทดสอบทางอวกาศ  และงานอื่นๆ  ที่มีการคำนวณที่ซับซอน

2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer) หรือ คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพรองจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์  สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกัน  ประมวลผลด้วยความเร็วสูง  มีหน่วยความจำหลักขนาดใหญ่  ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก คอมพิวเตอร์เมนเฟรมนิยมใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ที่มีการเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้จำนวนมากในเวลาเดียวกัน (Multiple  Users)

3. มินิคอมพิวเตอร์  (Minicomputer) หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง   เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานด้านความเร็วและความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลน้อยกว่าเมนเฟรม  แต่สูงกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop  computer) และสามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายคนในการทำงานที่แตกต่างกัน จากจุดเริ่มต้นในการพัฒนาที่ต้องการให้คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำงานเฉพาะอย่าง เช่น  บริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่  ตลาดหลักทรัพย์ สถานศึกษา  รวมทั้งการให้บริการข้อมูลแก้ลูกค้า  เช่น การจองห้องพักของโรงแรม  เป็นต้น

4.คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer)  หรือเดสก์ท็อปเป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล  (Personal Computer หรือ PC)  ที่มีขนาดเล็กเหมาะกับโต๊ะทำงานในสำนักงาน  สถานศึกษา  และที่บ้าน รูปทรง ของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีทั้งแบบวางนอน  และแบบแนวตั้งที่เรียกว่าทาวเวอร์ (Tower) เพื่อประหยัดเนื้อที่เป็นการวางทั้งบนโต๊ะและที่พื้น

5. แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (Laptop Computer) หรือบางครั้งเรียกว่า  โน๊ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (Notebook Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าเครื่องพีซีแบบตั้งโต๊ะน้ำหนักเบา  จึงสามารถนำติดตัวไปยังสถานที่ต่างๆ  ได้ เครื่องโน้ตบุ๊คมีสมรรถนะในการทำงานเทียบเท่าเครื่องพีซีแบบตั้งโต๊ะ  และมีแผงแป้นพิมพ์และจอภาพติดกับตัวเครื่องรวมทั้งมีแบตเตอรี่ภายในเครื่อง  จึงสามารถทำงานได้ในช่วงเวลาหนึ่งโดยไม่ต้องใช้ไฟบ้าน  เหมาะกับงานส่วนบุคคลและงานสำนักงานที่จำเป็นต้องออกนอกสถานที่

*อ้างอิงข้อมูลจาก ประเภทคอมพิวเตอร์

ความแตกต่างระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ PC และ Notebook 

ดังนั้นการใช้งานปัจจุบันสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป จะเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ( Desktop Computer) หรือภาษาบ้านๆ เรียกว่า PC และแล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (Laptop Computer) หรือเรียกว่า Notebook และอุปกรณ์ทั้งสองอย่างนี้มีส่วนประกอบที่คล้ายกัน แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ PC และ Notebook จะมีความแตกต่างกันคือ

คอมพิวเตอร์ PC Notebook
1 ไม่สะดวกในการพกพา มีความสะดวกในการพกพา
2 การอัพเกรดเครื่องค่อนข้างง่าย การอัพเกรดเครื่องค่อนข้างจำกัด
3 ไม่ค่อยมีปัญหาในเรื่องของการระบายความร้อน มีปัญหาในเรื่องของการระบายความร้อน
4 เวลาเสียซ่อมง่ายกว่า เวลาเสียซ่อมยาก
4 ราคาถูกกว่า (ไม่รวมจอ) ราคาสูงกว่า หากเทียบในระดับสเปคเดียวกัน

1. คอมพิวเตอร์ PC ไม่สะดวกในการพกพา แต่ Notebook พกพาได้สะดวกกว่า เนื่องจาก Notebook มีครบทุกอย่างในเครื่อง เช่น จอ คีย์บอร์ด ทัชแพด(ใช้แทนเมาส์) และยังมีแบตเตอรี่เพื่อใช้งานโดยไม่ต้องใช้ไฟฟ้า ในปัจจุบัน แม้ว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ PC จะมีชนิด All in one (คอมพิวเตอร์ PC ที่มีจอในตัว) ให้ใช้งานแล้ว แต่ด้วยขนาดจอที่ใหญ่ และไม่มีคีย์บอร์ดในตัว ก็ยังไม่สะดวกเท่า Notebook อยู่ดี

2. การอัพเกรดเครื่องคอมพิวเตอร์ PC จะง่ายกว่า Notebook เพราะมี Slot ให้เสียบเพียงพอต่อการใช้งานและมีอะไหล่ในการอัพเกรด ตรงข้ามกับ Notebook ซื้ออย่างไรได้อย่างนั้น บางครั้งอาจจะเพิ่มแรมได้อย่างเดียว

3. ปัญหาของการระบายความร้อนในเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้งานประจำย่อมมีความร้อน หากมีความร้อนสูงก็จะกระทบต่ออุปกรณ์ภายในเครื่องไปด้วย ส่งผลให้เครื่องช้าและแฮงค์ตามลำดับ ดังนั้น คอมพิวเตอร์ PC จะระบายความร้อนได้ดีกว่า Notebook เพราะเป็นเคสขนาดใหญ่ แต่ภายใน Notebook ค่อนข้างทึบ ช่องระบายอากาศมีขนาดเล็ก ยิ่งอุปนิสัยของคนใช้ Notebook ส่วนใหญ่มักเอา Notebook วางไว้บนที่นอนในเวลาใช้งาน ซึ่งพัดลมซีพียูจะดูดอากาศทางด้านล่างเครื่อง เมื่อเจอผ้าที่อยู่ด้านล่างมักจะดูดอากาศไม่ได้ ทำให้ไม่สามารถระบายความร้อนได้

 4. เวลาเครื่องคอมพิวเตอร์ PC ชำรุด มักจะซ่อมได้ง่ายกว่า Notebook เพราะอุปกรณ์บางอย่างบนเครื่องคอมพิวเตอร์ PC สามารถเปลี่ยนได้ แต่ใน Notebook มักจะรวมไว้ในเมนบอร์ดที่เดียว เวลา Notebook เสียแทบจะได้เปลี่ยนเครื่องใหม่ เพราะมักจะเสียที่เมนบอร์ด

5. ถ้าเปรียบเทียบสเปคแบบไม่รวมจอ ในสเปคเดียวกัน ราคาของคอมพิวเตอร์ PC มักจะถูกกว่า Notebook เพราะ PC หากมีจออยู่แล้วก็ไม่มีความจำเป็นต้องซื้อจอเพิ่ม ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายลงไปได้ แต่หากไม่มีจอ คอมพิวเตอร์ All in one น่าจะเป็นอีกทางเลือกที่ราคาจะเท่ากับ Notebook

เราควรจะเลือกซื้ออะไรดีระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ PC และ Notebook


1. เลือกตาม Lifestyle ของตนเอง ทั้งนี้การเลือกซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ระหว่าง PC และ Notebook ควรดูที่การทำงานของตนเองเป็นหลักเพื่อการใช้งานที่ถูกต้องและแม่นยำ เช่น การทำงานเอกสารและใช้งานโปรแกรมจำพวก ไมโครซอฟต์เวิร์ด เอ็กเซล หรือนำเสนองานด้วยโปรแกรมพาวเวอร์พอยต์ การใช้งานอินเตอร์เน็ต การใช้งานเว็บแอพลิเคชันจำพวกการลงทะเบียน กูเกิลฟอร์ม เป็นต้น ควรเลือกใช้ Notebook เป็นหลัก การทำงานด้านกราฟิก เช่น งานตัดต่อวีดีโอ การตัดต่อภาพถ่าย การออกแบบด้วยโปรแกรมออโต้แคด หรือออกแบบงานด้านสามมิติ ด้วยโปรแกรมมายา หรือทรีดีสตูดิโอแม็กซ์ เป็นต้น การนำมาเล่นเกมส์ต่างๆ ควรเลือกใช้คอมพิวเตอร์ PC เพราะสามารถอัพเกรดความแรงได้ง่าย
*ทั้งนี้ก็ไม่ใช้เหตุผลตายตัวสักเท่าไหร่นัก เพราะ Notebook ก็ใช่ว่าจะทำงานด้านกราฟิกไม่ได้ ซึ่งแล้วแต่ผู้ใช้จะเลือกใช้งาน

2. คำนึงถึงการใช้งานในอนาคต คอมพิวเตอร์ที่ซื้อมาแล้วควรใช้ได้อย่างน้อย 5 ปีขึ้นไป ดังนั้นในการเลือกซื้อควรดูว่าสามารถอัพเกรดเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ง่ายหรือไม่

3. คำนึงถึงการระบายความร้อนภายในเครื่อง ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ PC หรือ Notebook ควรคำนึงถึงการระบายความร้อนเป็นหลัก เครื่องคอมพิวเตอร์ PC เป็นเคสที่มีรูระบายความร้อนเยอะหรือไม่ มีพัดลมเพียงพอต่อการระบายความร้อนหรือไม่ (มากไปก็ไม่ดี เพราะกำลังพาวเวอร์ซัพพลายจ่ายไฟฟ้าไม่เพียงพอ) เครื่อง Notebook ถ้าตัวเครื่องเป็นพลาสติกให้ตรวจสอบรูระบายความร้อนว่าเพียงพอหรือไม่ ถ้าหากจะเลือกใช้จริงควรเลือกใช้แบบตัวเครื่องอลูมิเนียม เพราะจะกระจายความร้อนได้ดียิ่งกว่า

4. ไม่ว่าจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ PC หรือ Notebook การเลือกซื้อหากงบประมาณเพียงพอควรเลือกซื้อของระดับเกรดพรีเมี่ยมจะดีกว่าของที่เป็นราคาถูก เพราะวัสดุอุปกรณ์ค่อนข้างจะทนกว่า

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...