ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Upgrade SSD And RAM for Notebook ASUS K455L series

Upgrade SSD And RAM for Notebook ASUS K455L series

ได้เครื่อง Notebook มาซ่อม แจ้งว่าอาการเครื่องช้า เวลาใช้งานมักจะติด Repair Windows ตลอด อาการเสียที่พบ ผมได้เขียนไว้ก่อนแล้ว คือ คอมพิวเตอร์ช้า เข้าวินโดว์ยาก มีโอกาสที่ฮาร์ดดิสก์เสีย มาคราวนี้ ไม่ติดคิดเยอะ แจ้งผู้ใช้งานไปได้เลยว่าควร Upgrade SSD และเพิ่ม RAM เข้าไปรับรอง เร็วแน่นอน สำหรับบทความนี้ จะเป็นการเพิ่ม SSD ยี่ห้อ SEAGATE BARRACUDA SSD 250GB ซึ่งเป็น SSD ราคาประหยัดไม่เกิน 1500 บาท และเพิ่ม RAM PC3 (DDR3) เข้าไป อีก 4 GB เป็น 8 GB ครับ

เริ่มทำการอัพเกรด

จะไม่กล่าวในรายละเอียดของสเปคมากนะครับ
Notebook Asus K455L
CPU Intel i5-5200u
Harddisk 1TB --> SSD SEAGATE BARRACUDA SSD 250GB
RAM DDR 3 4GB up to 8 GB
Display NVDIA 630M


1. ปลดสกรูด้านหลังเครื่องคอมพิวเตอร์ออก จะมีสกรู 3 ขนาด คือ ยาว กลาง และสั้น ให้ดูตำแหน่งไว้ด้วยครับ

ผมได้เรียงสกรูไว้กันลืม โดยจะมีแถวบน แถวกลาง และแถวล่าง (สกรูหายไปตัวนึงครับ)

2. ทำการเปิดฝาออกโดยใช้พลาสติกค่อยๆแงะออกครับ อาจจะใช้บริการบัตรเครดิตเก่าๆที่ไม่ใช้แล้วมาแงะก็ได้ โดยเริ่มจากมุมจอทางด้านขวา ไล่ไปทางซ้ายครับ

3. เปิดฝา Notebook ขึ้นเบาๆ อย่ากระชากนะครับ แล้วปลดสลักสายแพรคีย์บอร์ดและทัชแพดแล้วยกฝาออกไปได้เลยครับ

4. ปลดสกรูตามภาพ โดย ถอดแบตเตอรี่ ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอม และเมนบอร์ดขึ้นตามลำดับ

ในช่วงที่ยกเมนบอร์ดขึ้นระวังช็อกเกตที่เชื่อมต่อกับจอนิดนึงนะครับ ให้ยกขึ้นเบาๆ ไม่ควรยกแบบกระชากเพราะจะทำให้สายเชื่อมต่อกับจอขาดได้ หรือถ้ามีเหล็กคีบให้คีบสายเชื่อมต่อจอออกก่อนก็ได้ครับ จะอยู่ด้านล่างของเมนบอร์ด ดังรูปด้านล่าง


5. เมื่อยกเมนบอร์ดขึ้นมาแล้ว จะเห็นว่า RAM 4GB ที่มีในเครื่องนั้น เป็น RAM แบบติดเมนบอร์ด และมีสล็อตเพิ่ม RAM มาให้อีก 1 สล็อต ให้ใส่ RAM ตัวใหม่เพิ่มเข้าไปครับ

6. ทำการประกอบเครื่องคืน โดยเริ่มประกอบเมนบอร์ดและซีดีรอม และทำการเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์เป็น SSD แล้วประกอบเข้าไปให้เหมือนเดิมครับ



จากนั้นเปิดเครื่องแล้วติดตั้งวินโดว์ 10 ได้เลยครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช