ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การคำนวณเงินหุ้นปันผล สหกรณ์ออมทรัพย์ ด้วย Excel

การคำนวณเงินหุ้นปันผล สหกรณ์ออมทรัพย์ ด้วย Excel

บทความนี้เข้าเรื่องเงินๆทองๆ สักนิด ตามสถานะทางเศรษฐกิจที่ไม่ค่อยจะดีสักเท่าไหร่ เชื่อว่าหลายคนที่ทำงานหน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ ไม่มีใครไม่รู้จักไม่รู้จักสหกรณ์ออมทรัพย์ และคนที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์หลายคนไม่ค่อยจะคิดในเรื่องของการคำนวนเงินปันผลจากหุ้นที่จ่ายไปในแต่ะละเดือน ดังนั้น หากอยากรู้ยอดเงินปันผลที่ได้รับในแต่ละปี สามารถคำนวณได้อย่างง่ายๆด้วยโปรแกรม Excel ครับ

การคำนวณเงินหุ้นปันผล สหกรณ์ออมทรัพย์

ก่อนอื่น เราต้องทราบวิธีคิดเงินปันผลจากค่าหุ้นของสหกรณ์ที่เราเป็นสมาชิกก่อน คือ

1. ยอดหุ้นทั้งหมด ยกมาจากปีก่อน นั้นก็คือ เดือน ธันวาคมของทุกปี
2. ยอดหุ้นหักส่งรายเดือน
3. อัตราเงินปันผล

การคำนวณจะคำนวณในข้อที่ 1 ก่อน และจึงมาคำนวณในยอดหุ้นหักในแต่ละเดือน 

ตัวอย่างเช่น

มียอดเงินหุ้นรวมทั้งหมดในเดือนธันวาคม 100,000 บาท
ยอดหุ้นหักส่งรายเดือน เดือนละ 1,000 บาท
อัตราเงินปันผล เท่ากับ     6.75%

การคำนวณ

ยอดหุ้นรวมทั้งหมดในเดือนธันวาคม x อัตราเงินปันผล = 100,000 x 6.75%  = 6750 บาท
คำนวนยอดหุ้นรายเดือน
หุ้นหักส่งรายเดือน x (จำนวนเดือนที่ชำระ/จำนวนเดือนทั้งหมด) x 6.75% เช่น
มกราคม          1000 x (11/12) x 6.75%
กุมภาพันธ์       1000 x (10/12) x 6.75%
มีนาคม            1000 x (09/12) x 6.75%
เมษายน           1000 x (08/12) x 6.75%
พฤษภาคม       1000 x (07/12) x 6.75%
มิถุนายน          1000 x (06/12) x 6.75%
กรกฏาคม        1000 x (05/12) x 6.75%
สิงหาคม           1000 x (04/12) x 6.75%
กันยายน          1000 x (03/12) x 6.75%
ตุลาคม             1000 x (02/12) x 6.75%
พฤศจิกายน      1000 x (01/12) x 6.75%
ธันวาคม            1000 x (00/12) x 6.75%

แล้วนำผลที่ได้ทั้งหมดมารวมกันกับ 6750 บาท นั้นคือ ยอดเงินปันผลที่ได้รับในปีนั้นๆ

การใช้โปรแกรม MS Excel คำนวนยอดเงินอย่างง่าย

1. เปิดโปรแกรม Excel ขึ้นมา สร้างหน้าเอกสารเปล่า แล้วใส่ยอดต่างๆเข้าไปดังรูป
ใส่ยอดจำนวนเงิน และจำนวนหุ้น
ใส่หัวข้อเข้าไป

2. ใส่ค่ายอดยกมาจากปีที่แล้ว และทำการสร้างเดือนให้ครบ โดยพิมพ์เดือน มกราคม และกุมภาพันธ์ จากนั้นเอาเมาส์ลากให้คลุมทั้งสองเดือนไว้ แล้วลากตรงมุมเล็กๆด้านขวาลงมา โปรแกรมจะสร้างเดือนให้อัตโนมัติ



2. ใส่ยอดยกมาจากปีที่แล้ว 100,000 บาท และใส่ยอดเงินหุ้นรายเดือน ใส่ค่าเดือนมกราคม 1,000 บาท จากนั้น ลากที่มุมขวาเล็กๆอีกครั้ง ยาวมาถึงเดือนธันวาคม

3. ในช่องยอดเงินที่ได้รับ ให้คำนวนยอดยกมาจากปีที่แล้วก่อน (หรือจะทำทีหลังก็ได้ครับ) โดยการใช้สูตรของ Excel คือ คลิ๊กใน Cell  ที่ต้องการแล้วพิมพ์ =เซลยอดเงินค่าหุ้น*เซลเงินปันผล จากตัวอย่างคือ ในช่อง E8 พิมพ์สูตร =B8*D8 ก็จะได้ยอดเงินปันผลยอดแรก คือ 6750 บาท

4. ในช่องคำนวนเงินปันผลต่อปี ให้ใส่ค่าลงไปตามเดือน แต่ให้ใช้คำสั่ง Round เพื่อปัดทศนิยมใน Excelให้เหลือ 2 จุด เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด 
สาเหตุที่ต้องใช้ Round คือ Excel คำนวนยอดเงินผิดพลาด หากใครที่ลองคำนวนด้วยเครื่องคิดเลขแล้วตรงกันสักสองคอลัมป์ก้ไม่ต้องใช้คำสั่ง round ก็ได้ครับ ใส่ค่าคำนวณลงไปเลย ตั้งแต่ 11/12, 10/12, 9/12 ไปจนถึงสุดท้าย

สูตรที่ใช้ในแต่ละช่องคือ 
=round(11/12,2)
=round(10/12,2)
=round(09/12,2)
=round(08/12,2)
ไปจนถึงช่องสุดท้าย

แล้วใส่ 6.75 % ที่เป็นยอดเงินปันผลเข้าไปด้วยครับ

5. ทำการคำนวณยอดเงินปันผลในเดือน มกราคม ในช่อง E9 โดยใช้สูตร =B9*C9*D9 (เอาตามตัวอย่างนะครับ บางท่านอาจจะไปที่เซลอื่น)
จากนั้นคลิ๊กที่มุมเล็กๆด้านล่างขวามือในช่องที่คำนวณเสร็จ แล้วก็ลากลงมา


6. หาค่ายอดรวมได้เลย โดยใช้สูตร =SUM แล้วก็เลือกที่ 6750 ลากลงมาจนถึงสุดท้าย

เท่านี้เราก็ทราบยอดเงินปันผลสหกรณ์ออมทรัพย์ของเราในปีนั้นๆแล้วล่ะครับ
7,121.25 บาท นะครับ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช