ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การติดตั้ง Foxit เพื่อใช้งาน Digital Signature ของมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (เฉพาะบุคลากร)

 Digital Signature คือ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์รูปแบบหนึ่ง (e-signature) ที่ได้จากกระบวนการเข้ารหัสลับของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งช่วยให้สามารถยืนยันตัวเจ้าของลายมือและสามารถตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของข้อความและลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้ โปรแกรมที่จะช่วยลงลายมืออิเล็กทรอนิกส์ได้ คือโปรแกรมที่ใช้งานกับไฟล์ PDF เช่น Acrobat pro, Foxit pro และฝั่ง Mac ก็โปรแกรมติดเครื่องของ Mac      ธรรมดาๆ อย่าง Preview เอง 

แต่บทความนี้จะกล่าวเพียงแค่การติดตั้งโปรแกรม Foxit สำหรับ Windows เท่านั้น การ Download Foxit จะต้องทำการ Download ที่เว็บไซค์ https://www.foxit.com/  เลือกที่ Free Trail แล้วก็เลือก  PDF EDITOR SUITE PROFOR TEAMS 2023 จากนั้นจะมีหน้าให้กรอกข้อมูลเพื่อ Download File หากท่านใดไม่สะดวก ผมโหลดไว้ให้แล้วครับ ที่ลิงค์ด้านล่างนี้

 DownloadFoxit 

ถ้าหากต้องการจะทำการ Download Foxit เอง ทำตามได้เลยครับ อย่างแรกคือเข้าที่เว็บ www.foxit.com  เลือกที่ Free Trail



แล้วก็เลือก  PDF EDITOR SUITE PROFOR TEAMS 2023 



กรอกข้อมูลต่างๆให้ครบ




โดย 
ช่องที่ 1 Company Email ก็คือ Email องค์กร ที่ลงท้ายด้วย @live.ubu.ac.th
ช่องที่ 2 เป็นแพลตฟอร์ม ซึ่งจะเป็น Windows กับ Mac โดยระบบจะเลือกค่า Default OS ให้เอง
ช่องที่ 3 English ปล่อยผ่าน ไม่ต้องเปลี่ยนครับ
ช่องที่ 4 First Name กรอกชื่อ
ช่องที่ 5 Last Name กรอกนามสกุล
ช่องที่ 6 Company กรอกบริษัท หรือ UBU
ช่องที่ 7 Phone Number กรอกเบอร์โทรตนเองเลยครับ
ช่องที่ 8 exe ปล่อยผ่าน ไม่ต้องเปลี่ยนครับ
จากนั้นกดปุ่มด้านล่าง Free Trial ได้เลย

จากนั้นทำการติดตั้งให้เรียบร้อย ใครที่ดาวน์โหลดผ่านลิงค์ด้านบนแล้วก็ติดตั้งได้เลยครับ ไม่ต้องทำการกรอกข้อมูลซ้ำ


เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วจะปรากฏหน้าจอให้ Active หากในเครื่องมีปุ่มให้ Active ก็กดได้เลยครับ หากไม่มีปุ่มก็กดเข้า Free Trial ได้ แล้วค่อยเข้าไป Active ด้านในเอา กดได้ทั้งสองครับ 



จากนั้นจะมีหน้าจอขึ้นมาให้ Signin ให้เราเลือก Microsoft Account ครับ

ทำการ Singin ด้วย User Microsoft Account ที่ต่อท้ายด้วย @.live.ubu.ac.th 


จากนั้นจะเข้าสู่หน้าจอ Portal ให้ทำการ siging โดย user และ password ที่ใช้งานอินเตอรเน็ตมหาวิทยาลัย


หากใครที่ยืนยันตัวตอน 2 ขั้นตอนใน App Office 365 ของมหาวิทยาลัยแล้วจะเข้าใช้งานโปรแกรม Foxit ได้เลย แต่หากใครที่ใช้ครั้งแรก จะต้องทำการลงทะเบียนก่อน (ทำครั้งแรกครั้งเดียวครับ)

โดยหน้าจอจะฟ้องว่าคุณมีเวลาใช้งาน 14 วัน


ขั้นตอนนี้ให้กดปุ่ม ถัดไป จะเป็นหน้าจอให้ยืนยันตัวตนดังภาพด้านล่าง


ถึงขั้นตอนนี้ให้หยุดที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ค้างไว้

จากนั้น เอาโทรศัพท์มือถือของคุณ มาติดตั้ง App "Microsoft Authenticator"

ซึ่งโหลดได้ทั้ง Google playstore ของ Android และ App Store ของ iOS


ติดตั้งลงในสมาร์ทโฟนส่วนตัว หรือโทรศัพท์มือถือส่วนตัวครับ

เมื่อติดตั้ง App เสร็จเรียบร้อยแล้ว เปิด App Microsoft Authenticator ในมือถือขึ้นมา กำหนดสิทธิ์อนุญาติให้ App เข้าถึงอุปกรณ์ในเครื่อง แล้วกดที่ Scan QR Code จากนั้นทำการแสกน QR Code ที่ปรากฏอยู่ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ของเราที่ปล่อยค้างไว้เมื่อกี้ครับ


จากนั้น กดที่ปุ่มถัดไป ในเครื่องคอมพิวเตอร์ จะปรากฎตัวเลขดังรูปด้านล่าง


แล้วให้เราเอาตัวเลขที่ได้นั้นไปใส่ลงในโทรศัพท์มือถือ เท่านี้อุปกรณ์ทั้งสองตัวก็จับคู่กันได้แล้ว


จากนั้นหน้าจอคอมพิวเตอร์ ระบบจะให้เราใส่เบอร์โทรศัพท์มือถือ เพื่อส่งรหัส OTP ให้เราใส่หมายเลขโทรศัพท์มือถือของเราครับ


เมื่อได้รหัส OTP เรียบร้อย ให้เรานำไปกรอกในหน้าจอที่รอรับรหัส OTP ของเราบนเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อกรอกรหัสถูกต้อง ก็หมายความว่าลงทะเบียนสำเร็จครับ

การลงทะเบียน Microsoft Authenticator ทำครั้งแรกและครั้งเดียว จากนั้นก็สามารถใช้งานผลิตภัณฑ์ได้ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น Office 365 หรือ Foxit pro editor ครับ


ที่มาของเนื้อหาและภาพบางส่วน : สำนักคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช