ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การย้ายข้อมูลจาก Google Drive ไป One Drive ง่ายนิดเดียว ไม่ต้องเปิดเครื่องทิ้งไว้



สำหรับอาจารย์และนักศึกษา ที่ใช้งาน Google drive อาจจะทราบข่าวกันแล้วว่า Google ได้ลดโควต้าพื้นที่จัดเก็บข้อมูลของหน่วยงานสถานศึกษาลง และตอนนี้ก็ได้ลดลงเรื่อยๆ จากเดิมที่เคยเก็บข้อมูลได้ชนิดแบบไม่จำกัด โดนแบ่งโควต้าให้บุคลากรจำนวน 1TB ต่อคน ตอนนี้ทาง Google ได้ลดโควต้าจัดเก็บพื้นที่ลง ซึ่งแล้วแต่การจัดสรรของแต่ละมหาวิทยาลัย การลดโควต้านี้ส่งผลกระทบให้กับผู้ที่ทำการเก็บข้อมูลไว้ใน Google drive เป็นจำนวนมาก แต่ยังโชคดีอยู่บ้างที่ Microsoft Onedrive ขององค์กรยังคงให้พื้นที่ 1TB อยู่

หากใครที่โดนแบ่งโควต้าแล้ว ต้องทำการก็อปปี้ข้อมูล แล้วทำการลบข้อมูลออกจาก Google Drive เพื่อให้เหลือขนาดเท่าที่กำหนด แต่การก็อปปี้ข้อมูลขนาดใหญ่ค่อนข้างทำยาก และตอนนี้ทางออกคือย้ายข้อมูลไปที่ One Drive จะง่ายที่สุด (ทั้งนี้ทั้งนั้นควรทำการก็อปปี้ข้อมูลสำรองไว้ใน ฮาร์ดดิสก์ External ในเครื่องด้วยก็ดีครับ เพราะไม่รู้ว่า One Drive จะเปลี่ยนนโยบายเมื่อไหร่)

การการย้ายข้อมูลจาก Google Drive ไป One Drive 

ขอแนะนำ App Mover.io

Mover.io เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการย้ายหรือก็อปปี้ข้อมูลจาก Google drive สู่ One Drive ผ่าน Web Browser โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติม ซึ่งเวลาในการย้ายข้อมูลจะขึ้นอยู่กับขนาดของข้อมูลที่จะต้องทำการย้าย 




เริ่มกันเลย !
1. เข้าไปที่เว็บไซต์ www.mover.io แล้วเลือกที่ Go to our solutions for individuals and students


2. กดที่ปุ่ม Go to Transfer Wizard



3. กดปุ่ม Signin เพื่อลงชื่อเข้าใช้ Email ขององค์กร

4. จากภาพด้านล่าง ช่องด้านซ้ายมือคือ Step : Select source นั้นคือ ให้เราเลือกไดร์ฟต้นทางในที่นี้คือ Google drive ตามหมายเลข ดังนี้
  1. กดปุ่ม Authorize New Connector จะปรากฎภาพด้านล่างขึ้นมา
  2. เลือก Google Drive (Single User)  กด Authorize
  3. ตั้งชื่อตามที่ต้องการ
  4. เลือกบัญชีองค์กรที่ต้องการเข้าใช้ (Google)
 

5. จากภาพด้านล่าง ช่องด้านขวามือคือ Step : Select Destination นั้นคือ ให้เราเลือกไดร์ฟต้นทางในที่นี้คือ Google drive ตามหมายเลข ดังนี้
  1. กดปุ่ม Authorize New Connector 
  2. เลือก OneDrive Businness (Single User) กดปุ่ม Authorize
  3. ตั้งชื่อตามต้องการ
  4. ลงชื่อเข้าใช้ One Drive ขององค์กร
  5. ลงชื่อเข้าใช้ตามแพลตฟอร์มขององค์กร บางองค์กรอาจจะใช้รหัสผ่าน
  6. ลงชื่อค้างไว้
6. จากนั้นจะปรากฎข้อมูลต่างๆ โดยในด้านซ้ายจะเป็นข้อมูลของ Google Drive ส่วนด้านขวาจะเป็นข้อมูลของ One Drive เราสามารถสร้างโฟลเดอร์ใหม่ เพื่อทำการเก็บข้อมูลของ Google drive จะได้ไม่งง ผมสร้างชื่อโฟลเดอร์เป็น Google Drive และกด Start Copy ด้านขวามือ


7. เมื่อขึ้นหน้าจอภาพด้านล่างนี้ แสดงว่า App เริ่มทำการ Copy แล้ว เราสามารถปิด Browser ได้ขณะทำการ Copy ครับ รอให้เสร็จอย่างเดียว


    8. ถ้าหากเราปิด Web Browser แล้วจะกลับมาดูอีกครั้งให้เข้าที่เมนู  Migration


    9. ถ้าหากปรากฎเขียวๆ เขียนคำว่า Complete แสดงว่าทำการ Copy File เสร็จแล้วครับ เราสามารถตรวจสอบไฟล์ของเราใน One Drive ได้เลย


    ไม่ยากเลยครับ เพียงเท่านี้ เราก็สามารถย้ายข้อมูลจาก Google Drive ไป One Drive ง่ายนิดเดียว ไม่ต้องเปิดเครื่องทิ้งไว้เลยครับ

    ความคิดเห็น

    โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

    ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

    ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

    รวม Code Debug Card Mainboard

    รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

    พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

    พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช