ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Notebook ต้องกด F1 เพื่อตั้งเวลาก่อนใช้งานทุกครั้ง

 Notebook หรือ Laptop รุ่นเก่าๆ หรืออาจจะใหม่ ประสบปัญหาต้องตั้งเวลาก่อนเข้าใช้งานทุกครั้ง เกิดจากสาเหตุอะไร คำตอบ ง่ายนิดเดียวคือ "ถ่าน BIOS" หมดครับ

Notebook หรือ Laptop ก็ต้องมีถ่าน BIOS เช่นเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ PC ทั่วไปครับ เมื่อใช้งานไปเนิ่นนาน ถ่าน BIOS ก็หมด เพราะมันชาร์จไม่ได้ 



ถ่านไบออสเมื่อเสื่อมสภาพหรือหมดไฟแล้วใช้งานได้หรือไม่ ?

 ก็ยังคงใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง แต่จะต้องมาเสียเวลาตั้งค่าสักเล็กน้อย ทั้งนี้เมื่อถ่านไบออสหมด หากตั้งเวลาแล้ว Boot เข้า Windows ได้ ก็สามารถใช้งานได้ต่อเนื่องครับ

ทำไมจึงต้องตั้งเวลาทุกครั้ง ?

ถ้าหากเราไม่ตั้งเวลาก่อนใช้งาน สิ่งที่จะประสบปัญหาคือ ใช้งานอินเตอร์เน็ตไม่ได้ เนื่องจากเวลาในเครื่อง Notebook หรือ Laptop ไม่ตรง เพราะการใช้งานอินเตอร์เน็ตระบบ Web Browser ของเครื่อง Notebook หรือ Laptop จะมีการเก็บคุ๊กกี้ของเวลาเพื่อเชื่อมต่อเวลาให้ใช้งานในปัจจุบัน หากเวลาในเครื่องไม่ตรงแล้วจะไม่สามารถใช้งานอินเตอร์เน็ตได้ และโปรแกรมต่างๆ อาจจะมีปัญหาในด้านของเวลาเช่นกัน เช่น การสร้างไฟล์เวิร์ดหรือเอ็กเซล ไฟล์จะทำการประทับเวลาในเครื่องลงไป หากเราไปดูใน Windows Explorer จะปรากฎเวลาสร้างไฟล์เท่ากับในเครื่อง หากมีการแก้ไขไฟล์จะทำให้งงเองว่าไฟล์ถูกสร้างขึ้นมาตอนไหน และเมื่อไหร่ครับ

ดังนั้นการทำให้เวลาในเครื่องจึงมีความจำเป็นอย่างมาก

เปลี่ยนถ่าน BIOS ของ Notebook ยากหรือไม่ ?

การเปลี่ยนถ่าน BIOS ของ Notebook หรือ Laptop จะมีขั้นตอนในการเปลี่ยนยากกว่าเครื่อง PC นำไปให้ช่างคอมพิวเตอร์ทำการเปลี่ยนให้ดีกว่าครับ เพราะ Notebook หรือ Laptop แต่ละยี่ห้อ แต่ละรุ่น การแกะเปิดฝาไม่เหมือนกันครับ

ถ้าไม่เปลี่ยนถ่าน BIOS ทำอย่างไรไม่ต้องเข้าไปตั้งเวลา ?

ถ้าหากแค่เข้าไปตั้งเวลาใน BIOS แล้ว หรือ กด F1 เพื่อเข้า Windows ได้ เราสามารถซิงค์เวลาให้ตรงกับปัจจุบันได้ โดยไม่ต้องเข้าไปตั้งเวลาใน BIOS ทุกครั้ง ซึ่งหากเราทำการซิงค์เวลาโดยให้เวลาในเครื่อง Notebook หรือ Laptop เชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ภายนอกโดยอัตโนมัตินั้น เราก็สามารถใช้งานได้เลย โดยที่ไม่ต้องมายุ่งกับการเข้าไปตั้งเวลาใน BIOS อีก เพียงแต่จะเสียเวลากดปุ่ม F1 ทุกครั้งที่เปิดเครื่อง

การตั้งค่าให้เวลาซิงค์กับเซิร์ฟเวอร์ภายนอก สามารถทำได้ดังนี้
  1. กดที่ปุ่ม Windows แล้วพิมพ์คำว่า Region setting
  2. เลือกที่ Addtional date, time & regional settings
  3. เลือกที่ Internet Time
  4. ติ๊กเครื่องหมายถูกในช่อง Synchonize with and Internet time server
  5. พิมพ์ Timeserver ลงในช่อง Server (ในตัวอย่างจะเป็น time.windows.com) ในข้อนี้หากใช้ time.windows.com แล้วเวลาไม่ตรง ก็ให้เปลี่ยนเป็น server อื่นครับ แล้วกดปุ่ม Update รอสักครู่เวลาอัพเดตให้ครับ หากยังไม่ได้ก็เปลี่ยน server ไปเรื่อยๆตามรายชื่อด้านล่าง
ผมได้รวบรวม Time server ต่างๆมาให้ลองครับ
Name: ntp.ku.ac.th Address: 158.108.212.149
Name: fw.eng.ku.ac.th Address: 158.108.32.17
Name: ilm.live.rmutt.ac.th Address: 203.158.118.3
Name: time.uni.net.th Address: 202.28.18.72
Name: itoml.live.rmutt.ac.th Address: 203.158.111.32 Address: 158.108.7.157 Address: 158.108.2.100

อันนี้เป็นรายชื่อ Server ที่รู้จัก แต่ไม่ได้อยู่ใน Pool
Name: delta.cpe.ku.ac.th Address: 158.108.32.3
Name: time.navy.mi.th Address: 118.175.67.83
Name: clock.nectec.or.th Address: 202.44.204.114
Name: time1.nimt.or.th Address: 203.185.69.60
Name: time2.nimt.or.th Address: 203.185.69.59
Name: time3.nimt.or.th Address: 203.185.69.56

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...