ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Layer คืออะไร มารู้จักกัน เรียนรู้ Layer ในงาน Graphic ตอน Layer ในโปรแกรม Affinity Photo


 

Layer คืออะไร มารู้จักกัน เรียนรู้ Layer ในงาน Graphic ตอน Layer ในโปรแกรม Affinity Photo

จากบทความที่แล้ว Layer คืออะไร มารู้จักกัน เรียนรู้ Layer ในงาน Graphic เบื้องต้นที่ต้องรู้ ที่ได้กล่าวในเรื่อง Layer มาข้างต้นแล้ว ในบทความนี้จะเริ่มด้วยเรื่องของ Layer ในโปรแกรม Affinity Photo ก่อน (เนื่องจากพรุ่งนี้เป็นวันหยุด แล้วเครื่องที่บ้านไม่มีโปรแกรมนี้ด้วยครับ เพราะเครื่องเก่า ไม่รองรับโปรแกรม Affinity Photo

Affinity Photo เป็นแอพที่ใช้ในการตกแต่งภาพ และใช้แทน Photoshop ได้เป็นอย่างดี (อย่างดีเลยครับ) ในความรู้สึกของแอดคิดว่า Affinity Photos จะใช้งานง่ายกว่า Photoshop เพราะเครืองมือไม่ค่อยซับซ้อนครับ

แนะนำ Affinity Photo 

เหตุผลที่แอดมาใช้ Affinity Photo หลักๆเลยครับ คือ "โปรแกรมซื้อขาด" หมายถึง ซื้อแล้วเสร็จในทีเดียวทั้งเวอร์ชัน เช่น แอดใช้ตอนนี้ เวอร์ชัน 2 ก็จะได้รับการอัพเดตเรื่อยๆจนจบเวอร์ชัน โดยที่ไม่ต้องจ่ายเงินเพิ่ม หากเวอร์ชัน 3 ออกมาจึงจะต้องซื้อใหม่เป็นเวอร์ชันใหม่ ซึ่งจะเปรียบเทียบกับ Adobe Photoshop ที่ต้องจ่ายรายเดือน หากเฉพาะ Photoshop และ Lightroom ก็เดือนล่ะ 300 กว่าบาท ซึ่งการใช้งานโปรแกรมของแอดนั้นไม่ได้สร้างรายได้เพิ่ม หากแม้นจะซื้อรายเดือนก็ไม่คุ้ม จึงต้องหาโปรแกรมอื่นเพื่อทดแทนใช้งาน นั่นก็คือ Affinity นี่แหล่ะครับ 

Affinity เป็นโปรแกรมฝั่งทาง Mac จะรองรับเครื่อง Mac และ iPad แต่ก็มีเวอร์ชัน Windows ด้วย

Affinity เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการตกแต่งภาพ หรือ วาดภาพ และสร้างหนังสือหรือโบรชัวร์ โดยโปรแกรมจะมี 3 ตัวใหญ่ๆคือ

  • Affinity Photo ใช้หรับตัดต่อตกแต่งภาพถ่าย ใช้แทน Adobe Photoshop
  • Affinity Designer ใช้สำหรับวาดรูปภาพ หรือโปรแกรมเวกเตอร์ ใช้แทน Adobe Illastetor
  • Affinity Publish ใช้สำหรับสร้างหนังสือหรือโบรชัวร์ ใช้แทน Adobe Design

Affinity จะขายเป็นรายแอพแบบแยกกัน แอพละประมาณ 700-800 บาท  แต่หากซื้อแบบ Universal ราคาประมาณ 3500 บาท จะใช้ได้ทุกแอพ ทั้ง Windows , Mac และ iPad

เกริ่นนานพอสมควร เข้าเรื่องกันเลยครับ

 Layer ในโปรแกรม Affinity Photo

หากเราเปิดโปรแกรมขึ้นมาแล้ว ภาพด้านบนจะเป็นหน้าตาของโปรแกรมครับ แต่บทความนี้ผมจะกล่าวใน Layer ของ Affinity Photo โดยแอดได้ทำการสร้างภาพด้านล่างนี้ 

มีต้นไม้ 2 ต้น และ นก 1 ตัว


  • Layer ด้านล่างสุดคือ พื้นหลังสีส้ม
  • Layer ที่ 2 คือ ต้นไม้ด้านซ้าย
  • Layer ที่ 3 คือ ต้นไม้ด้านขวา
  • Layer ที่ 4 คือ นก ซึ่งอยู่ด้านบนสุด
จากรูปด้านบนจะเห็นว่านกอยู่บนต้นไม้ด้านขวา และต้นไม้ด้านขวาจะอยู่บนต้นไม้ได้ซ้าย และทุกอย่างอยู่บนพื้นหลังสีส้ม

หากเราทำการคลิ๊กเมาส์กดปุ่มที่ Layer นก ค้างไว้ แล้วย้ายลงมาแทนต้นไม้ (Layer 3) จะเห็นว่า หางนก จะโดนต้นไม้ด้านขวาบังไว้ เพราะต้นไม้ด้านขวาอยู่ Layer บนสุด


หากเราทำการคลิ๊กเมาส์กดปุ่มที่ Layer นก ค้างไว้ แล้วย้ายลงมาแทนต้นไม้อีกชั้น (Layer 2) จะเห็นว่า นก จะโดนต้นไม้ทั้งสองบังไว้ เพราะต้นไม้ Layer บน


และหากเราทำการย้ายพื้นหลังขึ้นไปด้านบน พื้นหลังก็จะบดบังทุกอย่างครับ


ขอจบบทความเรื่อง Layer ใน Affinity Photo ไว้เพียงเท่านี้ครับ หวังว่าทุกท่านคงจะเข้าใจในเรื่อง Layer ครับ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...