ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การย้ายไฟล์ออกจากมือถือเพื่อเพิ่มความจุภายในเครื่อง

 


การย้ายไฟล์ออกจากมือถือเพื่อเพิ่มความจุภายในเครื่อง

ในปี 2566 โทรศัพท์มือถือได้เข้ามามีบทบาทกับชีวิตอย่างมาก ความเร็วของอินเตอร์เน็ตที่เพิ่มขึ้น และความเร็วของเทคโนโลยีที่ก้าวกระโดด ทำให้มือถือแต่ละรุ่นตกรุ่นอย่างรวดเร็วทั้งที่ยังใช้ได้ เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่าการซื้อโทรศัพท์มือถือสักเครื่องคงต้องใช้งานประมาณ 3-5 ปี ต่อเครื่องเท่านั้น ดังนั้น การซื้อโทรศัพท์มือถือในเมื่อก่อนจะดูในเรื่องของราคาเป็นหลัก
และแน่นอน โทรศัพท์มือถือ ราคาที่แพงก็ย่อมได้ Performance ที่เพิ่มขึ้น หรือประสิทธิภาพที่เพิ่มขึ้น และโทรศัพท์มือถือรุ่นที่ราคาต่ำลงมา Performance ของเครื่องโทรศัพท์มือถือที่ได้ ก็จะลดลงไปด้วยนั่นเอง และ หนึ่งในนั้นก็คือ ความจุภายในเครื่อง


การย้ายไฟล์ออกจากมือถือเพื่อเพิ่มความจุภายในเครื่องโทรศัพท์มือถือ

การย้ายไฟล์ออกจากมือถือ จะทำได้ 2 วิธีคือ
  • ย้ายไฟล์ออกจากโทรศัพท์มือถือ โดยผ่านสาย USB เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์
  • ย้ายไฟล์ออกจากโทรศัพท์มือถือ โดยใช้ Cloud Storage หรือ Google drive หรือ iCloud หรือ Onedrive หรืออื่นๆ (Dropbox)

ย้ายไฟล์ออกจากโทรศัพท์มือถือ โดยผ่านสาย USB เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์

วิธีนี้สามารถทำได้ง่าย เพียงเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วทำการคัดลอกข้อมูลออกจากโทรศัพท์มือถือ ซึ่งการเชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือเข้ากับคอมพิวเตอร์ จะมีวิธีการคัดลอกข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับยี่ห้อของโทรศัพท์มือถือนั้นๆ (แต่ส่วนใหญ่คล้ายกัน ยกเว้น Apple ที่แตกต่างออกไป)

ย้ายไฟล์ออกจากโทรศัพท์มือถือ โดยใช้ Cloud Storage หรือ Google drive หรือ iCloud หรือ Onedrive

วิธีนี้ไม่ต้องเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพียงแค่เปิดอินเตอร์เน็ตและเข้าไปที่ส่วนตั้งค่า แล้วทำการสำรองข้อมูลโดยอัตโนมัติ ระบบจะทำการสำรองข้อมูลไว้เรื่อยๆให้เราเอง

เปรียบเทียบการย้ายข้อมูลจากโทรศัพท์มือถือเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์และเชื่อมต่อกับ Cloud Storage

การย้ายข้อมูลในโทรศัพท์มือถือไปเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ จะมีข้อดีคือ เก็บไฟล์ได้ทุกไฟล์ ส่วนข้อเสียคือการนำไฟล์ออกมาใช้งาน โดยเฉพาะไฟล์รูปภาพ ซึ่งหากเราเก็บไฟล์รูปภาพไว้ใน Cloud Storage เราสามารถเรียกใช้งานได้ตลอดครับ

ดังนั้น การย้ายไฟล์ออกจากมือถือเพื่อเพิ่มความจุภายในเครื่องโทรศัพท์มือถือ โดยการสำรองข้อมูลไปยัง Google Drive จะง่ายที่สุด ทั้งได้พื้นที่เพิ่มและรูปภาพไม่หายไปไหน

Google drive เป็นผลิตภัณฑ์ของ Google ที่ให้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลฟรี 15 GB หากอยากได้พื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มก็ต้องจ่ายเงินเพิ่ม เพื่อให้เราได้ใช้ความจุที่เพิ่มขึ้นไปอีก และปลดล็อกสิทธิพิเศษที่หลากหลาย และข้อมูลภายในเครื่องโทรศัพท์มือถือมักจะเป็นข้อมูลไฟล์รูปภาพเสียเป็นส่วนใหญ่ จะทำงานร่วมกับ Google Photos เป็นหลัก หากใครที่ใช้ Android แล้วเพียงแค่เปิดสำรองข้อมูล เราก็จะสามารถทำการสำรองข้อมูลไปที่ Google Photos ทุกครั้งเมื่อยามเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต โดยวิธีการตั้งค่าไม่กี่ขั้นตอน

  1. เข้า App Google Photos แล้วเลือกที่ การสำรองข้อมูล
  2. กดที่ฟันเฟืองด้านบนขวา
  3. เปิดปุ่มสำรองข้อมูล
  4. เลือกคุณภาพของการสำรองข้อมูล ว่าต้องการเก็บแบบต้นฉบับ หรือบีบอัดข้อมูล (แนะนำให้บีบอัดดีกว่าครับ เพราะมันลดคุณภาพลงในสภาพที่รับได้ และไม่เปลืองพื้นที่)
  5. กดกลับมา ให้เรารอสักพัก หรือ หากขึ้นข้อความสำรองข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ก็หมายถึงระบบได้ทำการจัดเก็บไฟล์รูปภาพไว้เรียบร้อยแล้วครับ
  6. เมื่อสำรองข้อมูลเสร็จจะมีปุ่ม รายการที่จะลบออกจากอุปกรณ์ ให้กด
  7. ทำการลบได้เลยครับ แล้วรอสักพักขึ้นอยู่กับขนาดและจำนวนของข้อมูล 
เพียงเท่านี้ก็สามารถเพิ่มพื้นที่ความจุภายในเครื่องโทรศัพท์มือถือได้แล้วครับ ภาพจะไม่ได้เก็บที่เครื่องโทรศัพท์มือถือ แต่เก็บไว้ใน Google drive ภายใต้ App Google Photos







        8. หากใช้ iPhone ระบบจะแจ้งให้เราเข้าไปทำการลบไฟล์ใน App Photo โดยเปิด
  • App Photos
  • เปิด Albums เลือกที่ รายการอื่น -> ที่เพิ่งลบล่าสุด
  • เลือก ตรงคำว่า เลือก มุมขวาบน
  • แตะที่ Delete All 
หมายเหตุ : หลังจากที่ทำตามบทความนี้ภาพถ่ายทั้งหมดภายในเครื่องโทรศัพท์มือถือจะถูกลบออกทั้งหมด โดยที่เราจะเข้าดูภาพถ่ายภายในเครื่องที่สำรองไปแล้วนั้นใน App Google Photos เท่านั้นครับ จะไม่มีให้เห็นภายในเครื่อง (หากต้องการใช้งานต้องทำการ Download ใน  Google Photos แล้วเลือกบันทึกลงเครื่องครับ)


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช