ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การแปลงไฟล์ HEIC บน Apple Photos

 การแปลงไฟล์ HEIC บน Apple Photos 

HEIC เป็นไฟล์ภาพนิ่งที่มีความละเอียดสูงของ Apple ที่ออกแบบมาเพื่อบีบอัดภาพนิ่งที่รองรับไฟล์ภาพขนาดใหญ่ของ IPHONE เราจะเห็นได้ว่า ปัจจุบันการเติบโตของธุรกิจสมาร์ทโฟนมีมากขึ้น การแข่งขันก็เพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้บรรดาบริษัทผลิตสมาร์ทโฟนพัฒนาผลิตภัณฑ์ของตนเองให้มากขึ้นและหนึ่งในนั้นก็คือการ “พัฒนากล้องถ่ายภาพบนมือถือ” 
ในการพัฒนากล้องถ่ายภาพให้ถ่ายภาพได้คมชัดขึ้น ความละเอียดของการถ่ายภาพก็มากขึ้นตาม เมื่อความละเอียดที่มากขึ้นก็จะกระทบกับพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลบนสมาร์ทโฟน จึงทำให้แต่ละค่ายปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้รองรับการจัดเก็บข้อมูลภาพถ่ายที่มากขึ้น แต่การจัดเก็บข้อมูลบนพื้นที่ในสมาร์ทโฟนที่เยอะขึ้น ราคาก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย ทางค่าย Apple จึงได้พัฒนา Format ภาพถ่ายใหม่ออกมา (จริงๆก็ออกมานานแล้วล่ะ แต่ไม่ได้เขียน) คือ HEIC 
ไฟล์ HEIC เป็น Format file ภาพถ่ายที่พัฒนาโดย Apple เพื่อบีบอัดขนาดไฟล์รูปภาพที่มีขนาดใหญ่ให้เล็กลง เพื่อประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บไฟล์ (คล้ายๆกับ ZIP ไฟล์ครับ) หากเราถ่ายภาพความละเอียดสูงในขนาด 4K หรือมากกว่านั้น

 การแปลงไฟล์ HEIC บน Apple Photos 

ใครใช้ iCloud เพียงเปิด iCloud Library ให้ Sync กัน ก็สามารถใช้ Photos บน iMac หรือ Macbook ได้เลยเพียงแค่
  1. เปิด Photos บนเครื่อง Mac
  2. เลือกภาพที่ต้องการแปลง ถ้าหากเลือกหลายภาพให้กดปุ่ม Command แช่ไว้แล้วก็เอาเมาส์คลิ๊กเลือกไปเรื่อยๆ จนเพียงพอความต้องการ
  3. เลือกที่ File -> Export
  4. ทำการตั้งค่าตามภาพด้านล่าง
  5. ตั้งค่าที่จัดเก็บไฟล์




การใช้ App Preview ใน Mac ทำการ การแปลงไฟล์ HEIC

หากใครมีไฟล์ที่วางไว้ใน Google drive หรือมีใครส่งไฟล์ HEIC มาให้ เราสามารถ import ใน App Photo บนเครื่อง Mac แล้วทำการ Export ได้เลย แต่ถ้าหากเราต้องการความเป็นส่วนตัวไม่อยากให้ใครมายุ่งกับ Photo ของฉันภายใน App Photo เพราะไฟล์ที่ได้รับมาอาจจะเป็นไฟล์ที่ทำงาน ไม่ใช่ไฟล์ส่วนตัวก็ได้ ดังนั้น การใช้ App Preview ก็เป็นอีกทางเลือกนึงครับ

  1. ทำการ Download รูปภาพที่เป็น HEIC จาก Google drive
  2. เปิดภาพที่เป็น HEIC ไฟล์ขึ้นมา 1 ภาพ แล้วกดเปิด Panel
  3. ทำการเปิด Panel ขึ้นมา

เมื่อเปิด Panel ขึ้นมาแล้ว
  1. ทำการลากรูปภาพที่ต้องการมาวางที่ Panel
  2. กดเลือกทั้งหมด ( cmd+A )
  3. คลิ๊กที่ File --> Export Selected Images...
  4. เลือกตำแหน่งที่เก็บไฟล์

จากนั้นทำการ Export ครับ


 



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...