ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Layer คืออะไร มารู้จักกัน เรียนรู้ Layer ในงาน Graphic ตอน Layer ในโปรแกรมตัดต่อวีดีโอ Adobe Premiere Pro

Layer ในโปรแกรม Adobe Premiere pro

 จากบทความที่แล้ว Layer คืออะไร มารู้จักกัน เรียนรู้ Layer ในงาน Graphic ตอน Layer ในโปรแกรม Adobe Photoshop และ Layer ในโปรแกรมตกแต่งภาพอีกค่ายคือ Affinity Photo ที่ผ่านมา เพื่อนๆอาจจะพอเข้าใจในเรื่องของ Layer ในงาน Graphic ได้ มันไม่มีขั้นตอนอะไรที่ซับซ้อน เพียงแค่การทำงานของ Layer จะเป็นลำดับชั้น เหมือนแผ่นใสเรียงกัน ทำให้มองไปเห็นด้านล่างสุดได้

เมื่อกล่าวถึง Layer ในโปรแกรมตกแต่งภาพแล้ว คราวนี้มากล่าวใน Layer ในโปรแกรมตัดต่อวีดีโอกันบ้าง 

การทำงานของ Layer ในโปรแกรมตัดต่อวีดีโอ ไม่มีความแตกต่างจาก Layer ในโปรแกรมตกแต่งภาพสักเท่าใดนัก จะแตกต่างคือ โปรแกรมตกแต่งภาพเช่น Adobe Photoshop หรือ Affinity Photo นั้นใช้ตัดและต่อภาพถ่าย หรือการสร้างสรรค์ภาพถ่าย โดยที่ Layer เป็นชั้นที่มีความตายตัว ไม่มีความเคลื่อนไหว แต่ในโปรแกรมตัดต่อวีดีโอ Layer จะถูกสร้างมาใน Timeline และโปรแกรมตัดต่อวีดีโอทุกค่ายจะต้องมี Timeline ทุกค่าย เพราะ Timeline เป็นหัวใจหลักในโปรแกรมตัดต่อวีดีโอ มีไว้เพื่อแสดงความยาวของคลิป ซึ่งเป็นเวลา หรือเป็นเฟรม แล้วแต่จะถนัดกันล่ะครับ ในบทความนี้จะไม่กล่าวถึงการใช้งานโปรแกรมตัดต่อวีดีโอ หากในใจที่จะศึกษา ผมได้เขียนบทความไว้แล้ว (หลายปีแล้วล่ะครับ) ที่ลิงค์นี้ได้เลย การตัดต่อวีดีโอด้วยโปรแกรม Adobe Premiere pro ซึ่งบทความอาจจะเป็นเวอร์ชันเก่า แต่ก็ใช้งานได้เหมือนเดิม การทำงานของโปรแกรมก็เหมือนเดิม แต่เวอร์ชันใหม่ๆ อาจจะมีลูกเล่นเพิ่มเติมขึ้นมา แต่พื้นฐานก็มีเพียงเท่านี้แหล่ะครับ

กล่าวกันไปนานพอสมควร มาเข้าเรื่องกันต่อ คือ  Layer ในโปรแกรมตัดต่อวีดีโอ Adobe Premiere Pro เป็นยังไง ลองดูภาพด้านล่างครับ


จากภาพดังกล่าว ในกรอบสี่เหลี่ยมสีแดงที่ผมทำไว้ ด้านซ้ายบน จะเป็นที่เก็บไฟล์ Project Explorer ผมก็เตรียมต้นไม้ และนก และพื้นหลังเช่นเดิมครับ ส่วนในกรอบด้านล่างจะเป็น Timeline เอาไว้วางคลิปวีดีโอ จะเห็นว่ามี 2 ส่วนก็คือ V1, V2, V3 เป็นส่วนของภาพเคลื่อนไหวหรือวีดีโอ ส่วน A1, A2, A3 เป็นส่วนของเสียงที่มากับคลิปวีดีโอหรือภาพเคลื่อนไหว ซึ่งปกติเวลาถ่ายคลิปวีดีโอ ภาพและเสียงจะมาพร้อมกัน หากคลิปวีดีโอไม่มีเสียง ก็จะไม่มีคลิปเสียงในด้านล่าง

การทำงานของ V1, V2, V3 ที่เป็น Layer ก็เหมือนกับ Layer ใน Adobe Photoshop โดย V1 จะอยู่ด้านล่างสุด และ V2 อยูชั้นกลาง ส่วน V3 อยู่ด้านบนสุดครับ แต่กลับกันในส่วนของ Audio จะเรียงกันลงไปด้านล่าง ตัวล่างสุดคือตัวที่ทับกันอยู่บนสุด เช่น A1 อยู่ด้านล่าง A2 อยู่ตรงกลาง และ A3 อยู่บนสุดครับ


ผมได้เอาภาพลงมาวางใน Timeline แล้ว โดย
  • นกอยู่ V4
  • ต้นไม้ด้านขวาอยู่ V3
  • ต้นไม้ด้านซ้ายอยู่ V2
  • ภาพพื้นหลัง อยู่ V1
ทั้งหมดนี้คือรูปภาพครับ ไม่มีเสียงเข้ามาจึงไม่มีคลิปเสียง

จากภาพด้านขนจะเห็นว่า นกทับอยู่บนต้นไม้ทั้งสองต้น เนื่องจากนกอยู่ Layer บนสุด แล้ว Layer ต้นไม้ด้านขวาจะอยู่บน Layer ต้นไม้ด้านซ้าย แต่ผมไม่ได้เอาไปทับกัน

และหากทำการสลับตำแหน่ง Layer ดังภาพด้านบน โดยนำ Layer นก มาไว้ที่ด้านล่าง Layer ต้นไม้ด้านขวา จะเห็นว่าหางนกจะซ้อนลงไปอยู่ใต้ต้นไม้ด้านขวา

จากภาพด้านบนจะเห็นว่าผมได้สลับตำแหน่ง Layer ของนกลงมาอยู่ด้านล่างของ Layer ต้นไม้ทั้ง 2 จะเห็นว่า นกจะถูกต้นไม้ทั้ง 2 บังไว้ เนื่องจาก Layer นก อยู่เกือบล่างสุดครับ

เดี๋ยวบทความหน้าจะนำเรื่อง Layer ของโปรแกรม Final cut pro มาเขียนลงบล็อกให้ได้อ่านกันอีกครับ หลักการทำงานคล้ายกัน แต่หน้าตาคนละแบบ หากเราเข้าใจในเรื่องของ Layer แล้ว ก็สามารถใช้งานโปรแกรมทางด้าน Graphice ได้อย่างง่ายๆเลยครับ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช