ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

Layer คืออะไร มารู้จักกัน เรียนรู้ Layer ในงาน Graphic เบื้องต้นที่ต้องรู้


 

Layer คืออะไร มารู้จักกัน เรียนรู้ Layer ในงาน Graphic เบื้องต้นที่ต้องรู้

Layer ถ้าแปลจากภาษาอังกฤษที่มาจาก Google หรือ App แปลภาษา ก็จะแปลว่า "ชั้น หรือลำดับชั้น"  (แอดก็มั่วไปเหมือนกันแหล่ะครับ) เอาเป็นว่าแปลว่า ลำดับชั้นล่ะกันครับ

มันเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวเมื่อผู้ที่จะทำการศึกษา ผู้ศึกษา หรือผู้เริ่มต้นทั่วไปอยากจะเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรมที่เกี่ยวกับ Graphic หรือตกแต่งภาพอะไรก็ตามแต่ เมื่อเปิดโปรแกรมขึ้นมา เห็นหน้าโปรแกรมในครั้งแรก บอกเลยว่า "งง"  (ก็มันไม่รู้อะไรคืออะไรนี่น่า) และในโปรแกรมจำพวกนั้นจะมีเครื่องมือหรือพาเนลตัวนึง ที่เรียกว่า Layer เมื่อกล่าวถึง Layer แล้วก็หลีกหนีไม่พ้นโปรแกรม Graphic ส่วนใหญ่ที่ต้องมี ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมตัดต่อวีดีโอหลายๆค่า โปรแกรมแต่งรูปหลายๆค่าย รวมไปถึงโปรแกรมเมอร์ที่เขียนเว็บไซต์ด้วยเช่นกัน เราจะไม่กล่าวไปถึงในเรื่องของโปรแกรมเมอร์ ผมจะยกตัวอย่างโปรแกรม Photoshop ล่ะกันครับ (ปกติใช้ Affinity Photo แต่เครื่องที่เขียนบทความนี้เป็นเครื่องเก่าติดตั้ง Affinity Photo ไม่ได้ เลยต้องอ้าง Photoshop แทน)

Layer คือ ชั้น หรือ ลำดับชั้น เปรียบเสมือน แผ่นใส หลายๆแผ่น นำมาวางซ้อนกันเป็นชั้นๆ ดังภาพด้านล่าง

ถ้ามองภาพปะติด ก็จะมีลักษณะคล้ายกันกับชั้น Layer (ให้สังเกตใบไม้ แต่ล่ะใบ บางใบอยู่บน บางใบอยู่ล่าง ใบไม้ 1 ใบ นับเป็น 1 Layer) 


การทำงานของ Layer ดังภาพด้านล่าง ลองหั่นภาพออกมาดู สังเกตที่พาเนลด้านขวามือ จะเห็นเป็นชั้นๆ มีรูปต้นไม้ ลำตัวต้นไม้ และใบไม้ โดย

1. เป็น Layer ชั้นล่างสุด รูปต้นไม้

2. เป็น Layer ชั้นที่ 2 คือ ลำต้น

3. เป็น Layer ชั้นที่ 3 คือ ใบไม้

4. เป็น Layer ชั้นที่ 4 คือ ใบไม้


 


และจากรูปด้านบน 2 - 4 หากนำมาวางซ้อนกัน จะเห็นว่า Layer หมายเลข 2 จะอยู่ด้านล่างสุด และ 3 จะวางทับชั้นที่ 2 และ 4 จะวางทับชั้นที่ 2 และ 3 (ใส่เส้นขอบเพื่อให้มองเห็นได้ชัดขึ้น)


พอจะคิดภาพลำดับชั้นของ Layer ออกแล้วใช่ไหมล่ะครับ การทำงานจะเป็นการวางซ้อนทับของชั้น ที่เปรียบเสมือนแผ่นกระจกใสซ้อนกันขึ้นมาเรื่อยๆ การสร้าง Layer ในแต่ล่ะโปรแกรมจะสามารถสร้างได้ไม่จำกัด ขึ้นอยู่กับสภาพเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน หากสเปคเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่แรง ยิ่งสร้าง Layer เยอะก็จะทำให้กิน RAM เยอะไปด้วย

Layer นั้นจะปรากฏให้เห็นหลายโปรแกรมในงาน Graphic ขึ้นอยู่กับค่ายไหน สร้างหน้าตายังไง เช่น โปรแกรม Adobe Photoshop, Adobe Illastrator, Affinity Photo, Affinity Designer, Final Cut Pro, Adobe Premiere หรือรวมทั้ง App ตกแต่งรูปภาพในสมาร์ทโฟนครับ และใน Canva ก็มี Layer เช่นกันครับ


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช