ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

จอฟ้า Stop code: KERNEL SECURITY CHECK FAILURE เป็นเพราะ Windows Update KB5013624 เจ้าปัญหา

 

เจอมาเมื่อไม่นานนี้กับอาการ จอฟ้า Stop code: KERNEL SECURITY CHECK FAILURE ทำการตรวจสอบ RAM ก็แล้ว ตรวจสอบ HDD ก็แล้ว ตรวจสอบ SSD ก็แล้ว 


อาการ จอฟ้า Stop code: KERNEL SECURITY CHECK FAILURE เกิดได้หลายสาเหตุ คือ

  1.  การอัพเกรดเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ ไม่ว่าจะเป็น RAM หรือ SSD
  2. การติดตั้งโปรแกรม Antivirus ของค่ายอื่น
  3. ความเข้ากันได้ของไดรเวอร์ อุปกรณ์บางตัวไม่รองรับกับ Windows 10 เช่นหากเรานำเครื่องคอมพิวเตอร์เก่ามาทำการติดตั้ง Windows 10 อาจจะมีปัญหาสำหรับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์บางตัว เช่น การ์ดแลน หรือ Sound card หรือ การ์ดจอ VGA Card หากติดตั้ง Windows เสร็จแล้วระบบจะทำการอัพเดต Driver ให้เองโดยอัตโนมัติ แต่ถ้าหากอุปกรณ์ที่เก่าหรือไม่รองรับ เมื่อระบบอัพเดต Windows driver เสร็จ เจอจอฟ้าทันทีหลังรีสตาร์ท
  4. ระบบ Harddisk หรือ SSD ไม่รองรับการ Boot MBR (Master Boot Record) ข้อนี้จะเป็นตั้งแต่เริ่มบู๊ตเข้าวินโดว์ไม่ได้ เนื่องจากปัจจุบันเทคโนโลยีได้เปลี่ยน MBR ไปเป็น UEFI แล้ว
  5. Windows Update เป็นเสียเอง


การแก้ไขตามลำดับขั้นตอน

1. ถ้าหากเข้า Windows ได้ อาการจอฟ้านานๆมาครั้ง ให้ทำการเช็ค Windows หรือทำการแก้ไขความเสียหายไฟล์ของ Windows ด้วยการ Run Command promt โดยที่

  • กดปุ่ม Windows แล้วพิมพ์คำว่า CMD คลิ๊กขวา เลือก Run as Administrator
  •  DISM.exe /Online /Cleanup-image /Restorehealth   กด Enter (ตรง / ให้เคาะเว้นวรรคทุกจุด เช่น DISM.exe เว้นวรรค /Online เว้นวรรค /Cleanup-image เว้นวรรค /Restorehealth)
  • พิมพ์คำว่า sfc /scannow แล้วกด Enter รอจนถึง 100%
จากนั้นใช้งานปกติ ถ้าหากอาการยังเป็นอีกให้ไปข้อที่ 2


2. ทำการถอดโปรแกรม Antivirus ออก ลองใช้งานปกติ ถ้ายังเป็นอีก ไปข้อ 3

3. ทำการไล่ถอดแรมออกทีละตัวแล้วใช้งานทีละตัว ถ้ายังเป็นอีกให้ไปข้อต่อไป

4. ถ้าหากทำตามขั้นตอนทั้ง 3 ขั้นตอนแล้ว ควรจะต้องติดตั้ง Windows ใหม่ โดยให้เปลี่ยนการตั้งค่าใน Bios ให้ Boot แบบ UEFI จากนั้นให้นำ Windows 10 ที่ทำการติดตั้ง Boot UEFI มาติดตั้งในเครื่อง ทั้งนี้ควรเซ็ท Bios ส่วนของ Storage Mode ให้เป็น AHCI 

5. หลังจากที่ทำการติดตั้ง Windows เสร็จ ถ้าในช่วงแรกแล้วเกิดจอฟ้าเลย (ติดตั้งเสร็จยังไม่ได้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต) นั้นคืออุปกรณ์ที่เป็นฮาร์ดแวร์เสียแน่นอน ให้ตรวจสอบ SSD และ RAM โดยละเอียดอีกครั้ง

6. เมื่อดำเนินการข้อที่ 5 เรียบร้อย พบว่าเป็นปกติ ให้ทำการ Update  Windows ภายหลังจากที่ Update Windows เสร็จแล้วมีอาการจอฟ้า  Stop code: KERNEL SECURITY CHECK FAILURE อีกก็ไปข้อที่ 7

7. หลังจากที่แก้ไขตั้งแต่ข้อ 1 มาจนถึงข้อ 7 แล้วอาการจอฟ้า Stop code: KERNEL SECURITY CHECK FAILURE ที่พบคือ Kernal security นั่นคือ โปรแกรม Windows Update บางตัวที่ทำงานผิดพลาดนั่นก็คือ Windows Update : 


KB5013624 โดยมีคำอธิบายดังนี้: ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ของ Microsoft สามารถระบุปัญหาทางด้านความปลอดภัยที่มีผลต่อระบบของคุณ



ให้เราทำการถอดการติดตั้ง Windows Update ที่ชื่อ KB5013624 นี้ออกจากเครื่อง ดังนี้

  • กดที่ปุ่ม Windows แล้วพิมพ์คำว่า Windows update เลือกที่ View Update History


  • จากนั้นให้ทำการ Uninstall Windows Update KB5013624 ออกจากเครื่อง ซึ่งใช้เวลาพอสมควรครับ


  • จากนั้นระบบจะฟ้องให้รีสตาร์ทเครื่อง 1 ครั้ง เป็นอันเสร็จครับ
ที่มา : จอฟ้า Stop code: KERNEL SECURITY CHECK FAILURE

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับอินเทล ซี

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้ากับ CPU ไ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VGA ใช