ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas ตอนที่ 2 แนะนำส่วนต่างๆของตัวโปรแกรมและเครื่องมือ

คราวที่แล้ว ผมได้เอ่ยถึงเรื่อง การตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas ตอนที่ 1 อุปกรณ์ที่ต้องใช้ มาหัวข้อนี้ ผมจะไม่เอ่ยถึงเรื่องของการติดตั้งโปรแกรมนะครับ คิดว่าท่านผู้อ่านไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องของการติดตั้งโปรแกรม หรือติดตั้งได้แล้วมาสืบหาแหล่งข้อมูลการใช้งานอันเล็กๆน้อยๆ ของ blog ผม หุหุ เอาล่ะครับ นอกเรื่องไปไกล มาเข้าเรื่องกันเลยดีกว่า ทำการเปิดโปรแกรม ได้เรยยยยยย

รูปที่ 1 หน้าตาของโปรแกรม Sony Vegas Pro 11

เอาล่ะ เมื่อเปิดโปรแกรม Sony Vegas Pro ขึ้นมาแล้วจะเป็นหน้าตาดังนี้ (ของผม Sony Vegas Pro 11 นะครับ) คิดว่าหน้าตาของโปรแกรม Sony Vegas Pro แต่ล่ะ version หน้าตาจะไม่ต่างกันมากนัก

รูปที่ 2 Menu Bar and Tool Bar

ส่วนแรกคือ ส่วนที่เรียกว่า เมนูบาร์ และทูลบาร์(รูปที่ 2 ) ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่จำเป็นในการตัดต่อวีดีโอ

รูปที่ 3 Window docking area

ส่วนที่สองคือ Window docking area เป็นส่วนที่ประกอบไปด้วยหน้าต่าง Preview และหน้าต่างย่อยที่ช่วยให้เราสามารถต้ดต่อวีดีโอได้สะดวกยิ่งขึ้น

รูปที่ 4 Timeline and Tracklist

ส่วนที่สามคือ Timeline และ Tracklist(รูปที่ 4) เป็นส่วนที่ใช้สำหรับตัดต่อคลิปวีดีโอ คลิปเสียง และใส่เอฟเฟคต่างๆ เราจะทำงานที่ส่วนนี้เป็นส่วนใหญ่กันนะครับ

เอาละครับ เมื่อรู้จักส่วนต่างๆ ของโปรแกรมกันไปแล้ว เรามาดูว่า เครื่องไม้เครื่องมือแต่ละอย่างคืออะไร
อย่างแรกเอารูปที่ 2 มาดูกันดีกว่า



ส่วนของเมนูบาร์ (File, Edit, View, Inset, Option, Help) จะเป็นส่วนสำหรับใช้คำสั่งต่างๆนะครับ (ซึ่งผมเองก็ไม่ค่อยได้ใช้ ถ้าหาปุ่มในทูลบาร์ไม่เจอจริงๆ จึงจะหาในเมนูบาร์)
ส่วนของทูลบาร์(ด้านล่างของเมนูบาร์) จะประกอบไปด้วยปุ่มต่างๆดังนี้ (ไล่จากซ้ายไปขวานะครับ)

ปุ่มที่ 1 (ที่เป็นรูปกระดาษพับตรงมุม) จะเป็นปุ่ม New ใช้สำหรับสร้างโปรเจ็กงานใหม่
ปุ่มที่ 2 (เป็นรูปโฟลเดอร์) จะเป็นปุ่ม Open ใช้หรับเปิดโปรเจ็กที่มีอยู่แล้วมาทำงาน
ปุ่มที่ 3 (เป็นรูปแผ่นดิสก์เกต) จะเป็นปุ่ม Save ใช้สำหรับบันทึกชิ้นงานที่เรากำลังสร้าง (หรือจะกดปุ่มลัดคือ Ctrl+s ก็ได้ครับ) บันทึกเรื่อยๆ หากไฟดับมาจะได้ไม่ต้องร้อง "โอ้ยยยยยยย"
ปุ่มที่ 4 (เป็นรูปแผ่นดิสก์เกตอะไรเอ่ย) จะเป็นปุ่ม Save as name ใช้สำหรับบันทึกชิ้นงานให้เป็นชื่ออื่น (มีไว้ทำไมรู้ไหมครับ มีไว้เพื่อที่เราจะได้ลองผิด ลองถูก เช่น ชิ้นงานของเราได้เสร็จสิ้นไปแล้ว เราทำการเซฟไว้เรียบร้อยแล้ว แต่อยากจะตกแต่งคลิปของเราสักหน่อย แต่กลัวตกแต่งแล้วพลาดเกินที่จะแก้ไขใหม่ได้ เราก็ยังจะสามารถเปิดไฟล์เดิม(ชิ้นงานที่เราเสร็จแล้ว) มาแก้ไขใหม่ได้เรื่อยๆ แต่หากเราไปเซฟทับชิ้นงานที่เสร็จแล้ว เราไปตกแต่งเกินที่จะแก้ไขได้ สุดท้ายก็ต้องมานั่งทำชิ้นงานใหม่ทั้งหมดครับ)
ปุ่มที่ 5 (เป็นรูปฟิล์มตั้งมีรูปคลื่นด้านล่างสีเขียวๆน่ะ เห็นไหม) เป็นปุ่ม Render นะครับ มันคืออะไร เอาไว้ทำไมน่ะเหรอ คือ เมื่อเราทำการติดต่อชิ้นงานเสร็จเรียบร้อยแล้วกระบวนการสุดท้ายคือการนำชิ้นงานออกมาเผยแพร่เป็นไฟล์วีดีโอ ปุ่มนี้แหล่ะ เอาไว้ประมวลผลชิ้นงานหลังตัดต่อวีดีโอเสร็จครับ
ปุ่มที่ 6 (เป็นปุ่มที่มีรูปเมาส์วางอยู่บนพื้นที่สีขาวๆน่ะเห็นไหม เห็นไหม) เป็นปุ่มที่ใช้เปิดคุณสมบัติของโปรเจ็ค (Properties Project) เช่น video ก็จะบอกว่า ใช้ templet อะไร ขนาดเท่าไหร่ audio ก็จะเป็น stereo หรือ mono ประมาณนั้น
ปุ่มที่ 7 (รูปกรรไกร) เป็นปุ่ม Cut ที่ใช้ลบคลิปที่ไม่ต้องการออกจาก Timeline
ปุ่มที่ 8 (รูปกระดาษสองแผ่น) เป็นปุ่ม Copy ใช้คัดลอกคลิปที่อยู่บน Timeline
ปุ่มที่ 9 (รูปคลิปบอร์ด) เป็น Paste ใช้วางคลิปที่คัดลอกมาแล้วบน Timeline
ปุ่มที่ 10 และ 11 (ลูกศรโค้งๆชี้ด้านซ้ายและขวา) เป็น Undo และ Redo
ปุ่มที่ 12 (รูปลูกศร มีแม่เหล็ก) เป็นปุ่ม Enable snapping เมื่อกดปุ่มนี้แล้ว  นำคลิปสองคลิปมาใกล้กัน คลิปสองชิ้นจะดุดติดกันเป็นลักษณะ Crossfades
ปุ่มที่ 13 (รูปแหลมๆ สองแหลม อะไรก็ไม่รู้) เป็นปุ่ม Enable automatic crossfades เมื่อกดปุ่มนี้แล้ว เมื่อนำคลิปสองคลิปมาวางเกยทับ จะเกิดภาพจางซ้อนกันเป็น crossfades
ปุ่มที่ 14 ปุ่ม Enable automatic ripple editing เมื่อกดปุ่มนี้ เมื่อลบคลิปตรงกลาง ส่วนคลิปที่เหลือจะดูดติดสนิทกัน
ปุ่มที่ 15 (รูปแม่กุญแจล็อกจุดสามจุด) ปุ่ม Lock envelopes to events เมื่อกดปุ่มนี้ จะทำให้ค่าต่างๆที่ตั้งไว้กับคลิป จะเคลื่อนตามคลิปไปด้วยเมื่อมีการย้ายคลิป
ปุ่มที่ 16 (รูปแม่กุญแจปลดล็อก) ปุ่ม Ignore event grouping เมื่อกดปุ่มนี้ เมื่อมีการเคลื่อนย้าย ภาพและเสียงจะแยกอิสระกัน
ปุ่มที่ 17 (รูปตัวไอมีคลื่น) ปุ่ม Normal Edit Tool เป็นเครื่องมือพื้นฐานสำหรับเลือกทำงานกับคลิปทั่วๆไป
ปุ่มที่ 18 (รูปจุดสามจุด) Envelope edit tool กดปุ่มนี้ เพื่อตั้งค่าคลิปต่างกันในแต่ละช่วงเวลา
ปุ่มที่ 19 (ปุ่มลูกศร) Select edit tool ใช้สำหรับเลือกคลิปหลายๆคลิปพร้อมกัน
ปุ่มที่ 20 (แว่นขยาย) เอาไว้ซูมครับ
ปุ่มที่ 21 (มือชี้) เป็นเครื่องมือช่วยอธิบายโปรแกรม โดยมีการตอบโต้กับผู้ใช้งานด้วย
ปุ่มที่ 22 เป็นปุ่ม Help ครับ

ครับ ก็ได้รู้จักเครื่องมือที่ต้องใช้ในงานตัดต่อวีดีโอสำหรับ Sony Vegas Pro ไปแล้ว บทความหน้า ผมจะมาเอ่ยกันในเรื่องถัดไปนะครับ วันนี้เมื่อยมือ ขอพักก่อนครับ ^^

สำหรับบทความถัดไปคือเรื่อง การตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas ตอนที่ 2 แนะนำส่วนต่างๆของตัวโปรแกรมและเครื่องมือ (2)

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...