ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

มารู้จัก โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ กันเถอะ



วันนี้คิดเรื่องโพสไม่ออก ครั้นจะเขียนเรื่อง โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ ด้วย Sony Vegas Pro ต่อ ก็ไม่มีโปรแกรมตัดต่อวีดีโอ Sony Vegas Pro เพราะไม่ได้อยู่ที่ทำงาน เพราะในเครื่องที่บ้านผมไม่มี โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ ดังนั้นแล้วช่วงนี้ เรามารู้จัก โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ กันเหอะ สำหรับใครที่มีนอกเหนือจากที่ผมเสนอ ก็สามารถแสดงความเห็นเสนอได้ก่อนครับ ก่อนอื่นต้องว่ากล่าวกันก่อนว่าที่ผมนำเรื่อง โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ มาเล่านี้ ก็เป็นเพียงทางเลือกของท่านผู้ที่จะใช้ โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ เท่านั้นซึ่งผมเองก็ไม่ได้เชี่ยวชาญในการใช้โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ หลายๆอย่าง ทั้งนี้ผมนำมาจากที่ผมรู้จักเท่านั้นนะครับ หากผิดพลาดประการใด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย หากใครจะเสริม สามารถแสดงความคิดเห็นได้ครับ
เอาล่ะ เมื่อพร้อมแล้ว เรามารู้จักกับ โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ กันเหอะ

โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ


1. Window Movie Maker เป็นโปรแกรมสามัญที่มีติดมากับระบบปฏิบัติการ Windows สามารถ Download มาใช้ได้ฟรี ที่นี่ Download  สำหรับการใช้งาน ผมเองก็เคยสัมผัสอยู่เพียงแค่ไม่กี่ครั้ง แต่การใช้งานโดยรวมนั้นถือว่าง่ายมากๆ สามารถทำงานได้ไว กินทรัพยากรเครื่องน้อย เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นใช้งาน ในส่วนข้อเสียของโปรแกรมนั้นก็คือ โปรแกรมสามารถ Export File Video ออกมาได้ไม่กี่ประเภทเท่านั้น คือ AVI และ WMV (ถ้าจำไม่ผิด) เพราะชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่า Window Movie Marker ซึ่งเป็นของ Window เท่านั้น





2. ULEAD VIDEO STUDIO เป็น โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ ฝั่ง Window อีกตัวนึง และหลายเวอร์ชัน ผมเองไม่เคยได้หัดใช้โปรแกรมนี้เลยสักครั้ง แต่เท่าที่เห็นคนอื่นใช้งาน ก็จัดได้ว่าเป็น โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ ที่ดีโปรแกรมนึง มี Preset สำเร็จรูปให้ใช้หลากหลาย และสามารถ Export ชิ้นงานได้หลายนามสกุล ทั้งยังทำงานได้รวดเร็วเช่นกัน กินทรัพยากรปานกลาง โปรแกรมนี้เหมาะสำหรับมือสมัครเล่น หรือผู้เริ่มศึกษาครับ




3. Sony Vegas Pro เป็น โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ ที่ได้รับความนิยมมากโปรแกรมนึง มีการใช้งานที่ยืดหยุ่นมากๆ มีชุด Effect ไว้ให้ใช้งานที่หลากหลาย และรองรับไฟล์วีดีโอได้หลายนามสกุล สามารถ Export ชิ้นงานได้หลายประเภท เช่น mpeg1, mpeg2, mp4 หรือ export ออกมาเฉพาะเสียง mp3 ก็ยังได้เป็นโปรแกรมที่เหมาะสำหรับผู้ที่ทำงานตัดต่อมาได้สักพักนึง (จริงๆแล้วการใช้งานก็ค่อนข้างที่จะซับซ้อนอยู่ แต่หากได้ศึกษาแล้วก็ว่าง่ายนะ ผมเองก็กว่าจะใช้เป็นเช่นกัน ฮ่า) สเปคเครื่องที่โปรแกรมต้องการก็ไม่มาก (ถ้าจะน้อยก็อย่าน้อยมาก แนะนำ CPU ตระกูล Daul Core)




4. Adobe Premiere Pro โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในมืออาชีพ การใช้งานอยู่ในระดับสูง ปรับแต่งชิ้นงานได้อย่างละเอียด เก็บรายละเอียดเล็กๆน้อยๆได้ดีที่สุด รองรับไฟล์วีดีโอได้หลายนามสกุล แต่ข้อเสียของมันคือ สเปคเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการค่อนข้างที่จะสูง เนื้อที่ในการจัดเก็บสูง ถ้านำสเปคเครื่องต่ำมาติดตั้งโปรแกรมนี้ล่ะก็ เวลาเรนเดอร์ ทากยังเรียกพี่เลย ฮ่าฮ่า โปรแกรมนี้มีทั้งทาง Window และ Mac ครับ

ที่กล่าวมานี้ ผมเรียงตามระดับความยากง่ายของ โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ นะครับ
มาดูอีกฝั่งกันบ้าง

5. iMovie เป็นโปรแกรมที่ติดมากับ OS X  ของ Mac ครับ เป็นโปรแกรมที่ใช้งานง่ายมากๆ ถ้าเทียบกับ Window Movie Marker แล้วต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพราะ iMovie นั้น เพียงนำไฟล์รูปมาใส่ในคลิป วีดีโอนั้นก็มีชีวิตชีวาขึ้นมาทันที ตัดต่อวีดีโอได้อย่างรวดเร็ว และมีชุดตัวอย่างภาพยนต์ให้ทำเล่นอีกด้วย iMovie นั้นไม่ได้มีอยู่ใน OS X เพียงอย่างเดียว ใน iOS ที่เป็น iPad นั้นก็มีเช่นกัน แต่ใน iPad นั้นต้องซื้อจาก App Store ครับ ราคาไม่น่าจะเกิน 300 บาท ใช้งานง่ายเช่นกัน

6. Final Cut Studio เป็นโปรแกรมที่นิยมสำหรับมืออาชีพ ใน OS X การใช้งานก็อยู่ไม่ยากเท่าไหร่ มีชุด Effect ให้เลือกใช้เยอะแยะ ตัดต่อวีดีโอได้อย่างรวดเร็วเช่นกัน ปรับแต่งรายละเอียดของวีดีโอได้ไม่แพ้ Adobe Premiere Pro เลยทีเดียว


ข้อดีของ โปรแกรมตัดต่อวีดีโอ ฝั่ง Mac นั้นคือ เมื่อเวลาที่เราทำการตัดต่อ โปรแกรมจะทำการประมวลผลไปโดยอัตโนมัติ เมื่อเวลาเรา Export File ก็จะสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งผิดกับโปรแกรมอื่นๆ เมื่อตัดต่อเสร็จต้องทำการประมวลผล หรือ Render วีดีโอก่อนจึงจะสามารถนำไฟล์นั้นมาใช้งานได้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด คอมพิวเตอร์ PC เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรหลักที่สำคัญที่สุดของคอมพิวเตอร์ ดังนั้น จึงควรรู้จักตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างบนเมนบอร์ดเสียก่อน จึงจะสามารถประกอบเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ อุปกรณ์หลักที่สำคัญก็มีช็อกเกตสำหรับติดตั้งซีพียู, ช็อกเกตแรม และซิปเซตที่ทำหน้าที่ควบคุมอุปกรณ์ทั้งหมด หัวต่อและสล็อตสำหรับติดตั้งอุปกรณ์และการ์ดต่างๆ รวมไปถึงหัวต่อกับอุปกรณ์ภายนอกที่ต่อออกทางด้านหลังเครื่อง อุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเมนบอร์ดได้แก่  1. ช็อกเกตซีพียู (CPU Socket) ช็อกเกตซีพียู เป็นตำแหน่งติดตั้งซีพียู โดยรูปแบบของช็อกเกตจะแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและรุ่นของซีพียู การซื้อเมนบอร์ดจะต้องตรวจสอบว่าต้องการใช้กับซีพียูยี่ห้อใดและรุ่นไหน หากซื้อซีพียูที่มีช็อกเกตไม่ตรงกับเมนบอร์ดจะไม่สามารถใช้งานได้ ปัจจุบันจะมีช็อกเกตที่ใช้งานบนเมนบอร์ดคือ Intel LGA 775,  Intel LGA 1150, Intel LGA 1151, Intel LGA1155 และ Intel LGA 2066 ใช้สำหรับซีพียู Intel ทั้งหมด แต่ต้องดูด้วยว่า ซีพียู อินเทลใดใช้ช็อกเกตเท่าไหร่ ส่วน AMD AM4, AMD sTRX4 และ AMD TR4 จะใช้สำหรับ CPU AMD เท่านั้นซึ่งก็เหมือนกับ...

รวม Code Debug Card Mainboard

รวม Code Debug Card Mainboard สำหรับช่างซ่อมคอมมือใหม่ที่มีเครื่องมือ Debug Card เป็นตัวช่วยแล้ว บางครั้งอาจจะไม่รู้ว่าค่า Error Code นั้นคืออะไร ผมได้สืบหาข้อมูลและเขียนเพื่อเตือนความจำของตนเองไว้ เพราะไม่ค่อยได้ใช้ตัว Debug Card นี้เช่นกัน นานๆครั้งมาใช้นั้น ค่อนข้างที่จะค้นหาข้อมูลอย่างลำบากเช่นกัน ผมจึงได้รวบรวมข้อมูลมาจากเว็บที่หาข้อมูลได้ ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลด้วยครับ CODE : ความหมาย 00 : ไม่มีสัญญาณให้เช็ค CPU หรือลองหา CPU ตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ 01 : CPU TEST รอบที่ 1 02 : CPU TEST รอบที่ 2 04 : TEST Memory รีเฟรช ของอุปกรณ์ ต่าง ๆ  05 : Key board controller อาจมีปัญหา 07 : BIOS battery อาจจะหมด 0B : TEST cmos checksum 0D : เช็ค VGA CARD Interface C0 : ทดสอบหน่วยความจำและ slot(ลองฉีด สเปรย์สารพัดพิษดูครับ) 0E : เช็คหน่วยความจำ VGA(ลองหาตัวใหม่มาเปลี่ยนดูครับ)  11 :อาจมีปัญหาที่ DMA controller 41 : ให้ตรวจสอบ FLOPPY Drive 42 : .ให้ตรวจสอบ HARD DISK 43 : ค้นหาและตรวจสอบ serial และ parallel port 45 : ให้เช็ค Mainboard ว่าเข้า...

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด พอร์ตเชื่อมต่อแบบต่างๆ คือ หัวต่อที่ใช้เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น คีย์บอร์ด เมาส์ และเครื่องพิมพ์ สายแลน เป็นต้น ลักษณะของหัวต่อแต่ละแบบจะมีมาตรฐานและแตกต่างกันออกไปอยู่แล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าจะเสียบผิดรูปแบบ เพราะแต่ละหัวต่อจะมีรูปแบบไม่เหมือนกัน พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆบนเมนบอร์ด มีดังนี้ 1. หัวต่อคีย์บอร์ดหรือเมาส์แบบ PS2 จะใช้คีย์บอร์ดก็ได้ หรือเมาส์ก็ได้ ปัจจุบันหัวต่อ PS2 ได้เลิกใช้งานไปแล้ว 2. หัวต่อ USB 2.0 ใช้สำหรับเชื่อมต่อ อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้สาย USB ต่าง ความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูล USB 2.0 นี้มีมากถึง 480 Mbps  3. หัวต่อจอภาพ แบบ Display port ใช้สำหรับเชื่อมต่อจอภาพที่เป็นประเภท Display port ส่งข้อมูลภาพได้สูง เหมาะสำหรับทำ Multi Display หรือการเชื่อมต่อหลายๆจอภาพ 4. หัวต่อจอภาพแบบ HDMI ปัจจุบัน (ปี 2020) เริ่มมีการใช้มากขึ้น เนื่องจากส่งข้อมูลความละเอียดภาพได้มากถึง 4K และอนาคตจะมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอีก 5. หัวต่อจอภาพแบบ DVI เป็นการพัฒนาการส่งออกจอภาพต่อจาก VGA เป็นช่วงเวลานึง ปัจจุบันจะไม่ค่อยมีใช้แล้ว 6. หัวต่อจอภาพแบบ VG...